SDGs จากผืนดิน

SDGs จากผืนดิน

บทเรียนและทิศทางประชาสังคมในการกู้วิฤติโควิด (ตอน 1)

วันที่ 24 กันยายน 2021โดย กฤษฎา บุญชัยที่มา : Thai Publica เมื่อเผชิญคลื่น “สึนามิ” โควิด ภาวะวิกฤติโควิดเปรียบเสมือน “เป็นคลื่นสึนามิ” หมายความว่ามันไม่ได้มีแค่คลื่นเดียว แต่มีตั้งแต่ระลอก 1, 2, 3 และอาจจะ 4, 5 แต่ละระลอกก็เป็นระลอกที่ใหญ่และอาจก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรงมากขึ้น การแพร่ระบาดโควิด กระทบต่อสังคม ชุมชน อย่างรุนแรง และเป็นไปแบบทวีคูณ ซึ่งเกินภูมิคุ้มกันทางสังคมที่มีอยู่ตามธรรมชาติ และที่สร้างโดยการ “พัฒนา” สิ่งที่สังคมเคยรับมือได้ในระรอกที่ 1, 2, 3 อาจจะไม่พอ เพราะมันมีลั... อ่านต่อ
10 min read
SDGs จากผืนดิน

วิกฤติโควิดกับชีวิตเหลือทน ความหวังที่เลือนลาง และการแก้ปัญหาที่ไม่เคยตรงจุด

วิถีตลาดในชนบท ชุมชนริมฝั่งโขง ชายแดนและชายขอบของการปรับตัว ณ ริมฝั่งแม่น้ำโขง หนองคาย ชุมชนที่นี่และอีกหลายแห่งตลอดสายน้ำที่เคยทุกข์ระทมจากภาวะแม่น้ำโขงกำลังตายด้วยเขื่อนใหญ่น้อย เริ่มมีความหวังเพียงเล็กน้อยที่จะได้จับปลาเมื่อน้ำในแม่น้ำโขงเอ่อสูงขึ้นจากการที่จีนเริ่มปล่อยน้ำจากเขื่อน แต่ความหวังของพวกเขาถูกทำให้สลายไปเมื่อรัฐบาลประกาศปิดเมือง ประกาศเคอร์ฟิว และบังคับใช้มาตรการระยะห่างทางสังคมซึ่งจะเข้มข้นมากกับพื้นที่ชายแดนเช่นนี้ ยามปรกติชาวบ้านจะออกหาปลายามค่ำคืน แต่ในยามนี้ติดเคอร... อ่านต่อ
22 min read
SDGs จากผืนดิน

วิกฤติโควิดกับจุดเปลี่ยนของชุมชนท้องถิ่น

  เป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่า วิกฤติจากการระบาดของโควิดกำลังเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของโลกและประเทศไทยอย่างถึงรากถึงโคน โลกจะไม่เหมือนเดิม ดังที่เรียกว่า “ปรกติใหม่” (new normal) นักนโยบาย นักวิชาการ ต่างพากันคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงเชิงมหภาค หรือมองเป็นผลกระทบชั่วคราวในภาคเมือง แม้จะเริ่มสนใจคนจนในเมือง แต่ก็เป็นการเน้นการปัญหาเฉพาะหน้า หากแต่ผลกระทบดังกล่าวจะส่งผลสะเทือนไปถึงชนบท ซึ่งยังไม่มีการทำความเข้าใจถ่องแท้ว่า ชุมชนท้องถิ่นกำลังเผชิญอะไรในวิกฤติโควิด พวก... อ่านต่อ
24 min read
SDGs จากผืนดิน

บทเรียนเพื่อการปรับระบบการเมืองจากวิกฤติ COVID 19

  วิกฤติ COVID-19 สร้างหายนะและความท้าทายครั้งใหญ่ที่สุดของมนุษยชาติว่าเราจะอยู่รอดต่อไปในอนาคตได้หรือไม่ วิกฤติคราวนี้เป็นบทเรียนให้สังคมโลกและไทยต้องปรับตัวขนานใหญ่ เพราะแม้หากเราจะผ่านไวรัสนี้ไปได้ อนาคตก็อาจจะเจอโรคระบาดใหม่ๆ หรือภัยพิบัติใหม่ เช่น โลกร้อน ที่จะทำให้สังคมมนุษย์ล่มสลายในที่สุด สังคมโลกและไทยต้องปรับตัวอย่างไรบ้าง เริ่มต้นจากบทเรียนทางการเมือง ความล้มเหลวของแนวคิดเสรีนิยมใหม่ ระบบการเมืองการปกครอง และวัฒนธรรมร่วมสมัยของพลเมืองประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบสังคมนิยม ห... อ่านต่อ
12 min read
SDGs จากผืนดิน

รัฐล้มเหลว สังคมแตกสลาย ในภาวะสิ่งแวดล้อมปั่นป่วน

  ประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นได้อย่างไร หากไม่มีกระบวนการให้ประชาชนได้ร่วมปรึกษาหารือ ถกแถลงเพื่อแสวงหาทางเลือกที่ยอมรับร่วมกัน สร้างพื้นที่ปฏิบัติการทางสังคม ออกแบบแนวทางการพัฒนา ทดลองจัดการปัญหา โครงสร้างการพัฒนาที่ผูกขาดโดยรัฐราชการไทยไม่เพียงทำลายศักยภาพของรัฐเองในการจัดการปัญหา ยังปิดกั้นประชาชนที่จะสร้างทุนทางสังคมในการเรียนรู้จัดการปัญหาของตนเอง ฝุ่นควัน pm 25 ยังไม่จางหาย ปัญหาไวรัสโคโรน่าจากจีนก็ระบาดเข้าสู่ไทยจนวิกฤติ ยังไม่นับโจทย์ต่อไปเรื่องหมอกควันไฟป่าภาคเหนือที่จะตามมาอีกไม่น... อ่านต่อ
13 min read
SDGs จากผืนดิน

กู้วิกฤติโลกร้อน ด้วยพลเมืองที่ตื่นรู้ สู้เพื่อเปลี่ยนโครงสร้าง

  “พวกเราพยายามไม่พอเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เราต้องการความทะเยอทะยานจากทุกคนมากกว่านี้” (อันโตนิโอ กูเตอเรส เลขาธิการสหประชาชาติ, 3 ธันวาคม 2562) สิ่งบ่งชี้ว่าโลกพยายามไม่พอ ดูได้จากรายงานของกรมอุตุนิยมโลก (World Meteorological Organization — WMO) ว่าปีนี้เป็นปีที่ร้อนที่สุด และเป็นทศวรรษที่ร้อนที่สุดนับตั้งแต่โลกเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเมื่อร้อยกว่าปีก่อน ความพยายามที่ไม่พอสะท้อนเป็นรูปธรรมจากรายงานของ Global Carbon Project (GCP)โดยในปีนี้ (2019) การปล่อยก๊าซคาร์บอนได... อ่านต่อ
12 min read
SDGs จากผืนดิน

การแบน 3 สารเคมีกับย่างก้าวสำคัญของขบวนการพลเมืองอาหาร

มติคณะกรรมการวัตถุอันตรายที่แบนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชร้ายแรงได้แก่ พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส เมื่อวันที่ 22 ตุลาคมที่ผ่านมาได้สร้างผลสะเทือนเลื่อนลั่นต่อเครือข่ายผลประโยชน์ธุรกิจการเกษตรอย่างมหาศาล เพราะมันอาจจะเป็นการนับถอยหลังระบบเกษตรสารเคมีที่ครองอำนาจการเกษตรไทยมาตั้งแต่เริ่มแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1 พศ2504 ซึ่งแม้จะสร้างผลผลิตการเกษตรให้เติบโตมากขึ้น แต่กลับสร้างหายนะด้านนิเวศ สิ่งแวดล้อม สุขภาพ และความยากจนของเกษตรกรมากกว่า นอกเหนือจากเรื่องสุขภาพที่พิสูจน์จนสิ้นสงสัย... อ่านต่อ
15 min read
SDGs จากผืนดิน

เอางานวิจัย “ลงหิ้ง” แบบไหนจึงจะขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะได้

  ช่วง 10 กว่าปีมานี้ สถาบันการวิจัยนโยบายสาธารณะต่างๆ พากันครุ่นคิดที่จะออกแบบงานวิจัยอย่างไรไม่ให้ “ขึ้นหิ้ง” เพราะที่ผ่านมา งานวิจัยของนักวิชาการไทยส่วนมากไม่เพียงส่งผลต่อการขับเคลื่อนนโยบายน้อย แต่ยังเกิดภาวะหลุดลอยไปจากสังคม กลายเป็นอุตสาหกรรมทางปัญญามีการลงทุนสูง แต่สร้างคุณค่าได้น้อยมาก “ขึ้นหิ้ง” เป็นปัญหาก็จริง แต่วิธีการ “ลงหิ้ง” อาจจะเกิดปัญหาใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิม ขึ้นอยู่กับว่าจะลงไปที่ไหน ด้วยกระบวนการอะไร เพราะเป้าหมายการ “ลงหิ้ง” ขณะนี้พุ่งเป้าไปที่การส่งเสริมให้หน... อ่านต่อ
13 min read
SDGs จากผืนดิน

ภูมิอากาศวิทยา ปัญหาการเมืองของความรู้สภาวะโลกร้อน

  “อีก 11 ปี (พศ2573) หากโลกควบคุมอุณหภูมิไม่ให้เกิน 15 องศาได้ โลกจะประสบความวิบัติอย่างแก้ไขไม่ได้” นี่เป็นคำเตือนที่จริงจังที่สุดของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ว่าโลกไม่เหลือเวลาที่จะผัดผ่อนการแก้ปัญหาต่อไปแล้ว เพราะนับตั้งแต่กรอบอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศปี 2538 พิธีสารเกียวโต 2548 มาจนถึงข้อตกลงปารีส ปี 2558 เป็นเวลา 20 ปีแล้วที่โลกมีข้อตกลงลดก๊าซเรือนกระจก แต่ก็โลกไม่ได้ลดการปล่อยก๊าซลงเลย มีแต่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะจากภาคพลัง... อ่านต่อ
10 min read
SDGs จากผืนดิน

สภาวะหลังอาณานิคมที่ไม่หลุดพ้นของการป่าไม้ไทย

  เหตุที่ UNESCO ไม่อนุมัติให้ป่าแก่งกระจานขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก มาจากความไม่ชัดเจนเรื่องเขตแดนไทย-เมียนมา การปรับขอบเขตพื้นที่ที่ลดลง และที่สำคัญที่สุดคือ ข้อกังวลที่รัฐไทยละเมิดสิทธิชุมชนกะเหรี่ยงในพื้นที่ป่า (การใช้กำลังบุกเผาบ้าน การหายตัวไปของบิลลี่ และท่าทีอันก้าวร้าวของเจ้าหน้าที่รัฐต่อชุมชนในพื้นที่ป่า) เแม้หน่วยงานรัฐไทยจะพยายามชี้แจงว่า ได้ออก พรบ (พระราชบัญญัติ) ป่าชุมชน และปรับแก้ พรบอุทยานแห่งชาติและ พรบสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าให้รับรองสิทธิชุมชนในพื้นที่ป่าทั่วประเทศ แต... อ่านต่อ
14 min read