เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ และโครงสร้าง

มียุทธศาสตร์ 3 ด้านได้แก่


  1. พัฒนาความเป็นสถาบันวิชาการที่สร้างและขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้ชุมชนท้องถิ่นในด้านต่างๆ เช่น การวิจัยเพื่อชุมชนท้องถิ่นในมิติการพัฒนาที่ยั่งยืน การประเมินผลกระทบการพัฒนาโดยชุมชน นวัตกรรมทางสังคมและเทคโนโลยีสนับสนุนชุมชนท้องถิ่น
  2. เป็นกลไกเชื่อมประสานและหนุนเสริมชุมชนและภาคประชาสังคมทางด้านแนวคิด ความรู้ และนโยบายที่เกี่ยวกับการปกป้องสิทธิชุมชน การเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนและการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นธรรม
  3. เป็นพื้นที่และกลไกการสื่อสารของเครือข่ายชุมชนท้องถิ่น และเชื่อมเครือข่ายชุมชนกับสาธารณะในเนื้อหาชุมชนท้องถิ่น และการพัฒนาที่ยั่งยืนจากฐานรากแนวคิดหลักที่เป็นฐานขับเคลื่อน คือ
    1. สิทธิชุมชนทั้งด้านการวัฒนธรรม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เศรษฐกิจ และการพัฒนาตนเองอย่างยั่งยืน
    2. เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนจากฐานราก (SDGs from below) โดยมีฐานชุมชนท้องถิ่น และต่อเชื่อมกันเป็นแนวระนาบ เป็นเครือข่ายที่มีแรงผลักดันเชิงนโยบายไปสู่ทุกระดับ

ประเด็นหลักๆ ที่กำลังริเริ่ม ได้แก่ แผนงานจัดการภูมิทัศน์ทางนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพ และความมั่นคงอาหารของชุมชน แผนงานชุมชนและพลเมืองขับเคลื่อนสภาวะโลกร้อน แผนงานพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนของท้องถิ่น เป็นต้น

โดยมีพื้นที่ปฏิบัติงาน เช่น เครือข่ายป่าชุมชนรอยต่อห้าจังหวัดภาคตะวันออก พื้นที่เกษตรอินทรีย์และความหลากหลายชีวภาพในไร่นา สุพรรณบุรี (ร่วมกับมูลนิธิข้าวขวัญ) เป็นต้น

สทพ.ในยุคจะมีฐานคิดและยุทธศาสตร์หลักกลับไปเหมือน สทพ.ในยุคแรก ที่เน้นการสร้างองค์ความรู้วิชาการ การติดตามตรวจสอบนโยบาย และการสนับสนุนความเข้มแข็งชุมชนและขบวนการทางสังคมด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน แต่เพิ่มมิติด้านการนวัตกรรมทางสังคมและเทคโนโลยีดิจิตอล การสื่อสารทางโลกออนไลน์

โดย สทพ.จะวางตัวเองเป็นส่วนหนึ่งที่มีบทบาทแข็งขันในการนำทางความรู้ และหนุนเสริมขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในมิติฐานทรัพยากรธรรมชาติ ความมั่นคงอาหาร สภาวะโลกร้อนให้มีอำนาจในการต่อรองกำหนดนโยบาย สร้างรูปธรรมการจัดการที่เข้มแข็งยั่งยืน สร้างเครือข่ายการสนับสนุนให้มีความเป็นสถาบันยิ่งขึ้น

Scroll to Top