บทสังเคราะห์ : กรณีศึกษาป่าชุมชนแห่งความยั่งยืน “รางวัลสิปปนนท์ เกตุทัตรางวัลแห่งความยั่งยืน”

Share Post :

ภาพรวมจาก 3 กรณีศึกษา โดย ดร. เอนก นาคะบุตร

ในปี 2563 ที่ผ่นมาคณะทำงานจัดการองค์ความรู้ฯ เริ่มศึกษากรณีศึกษา 3 กรณี จาก 3 ประเด็น วิกฤตของประเทศ คือ
1. เรื่องการจัดการน้ำ โดยชุมชนตำบลเชื้อเพลิง จังหวัดสุรินทร์
2.เรื่องการจัดการไฟป่า โดยชุมชนบ้านขอใต้ ขอเหนือ จังหวัดลำปาง
3. การจัดการป่าชุมชนและความหลากหลายทางชีวภาพในเขตต้นน้ำ ชุมชนบ้านคลองเรือ จังหวัดชุมพร

บทสังเคราะห์ภาพรวม

  1. ความร่วมมือระหว่างประชาชนในเขตป่าชุมชนกับหน่วยงานของรัฐ เช่น กรมป่าไม้ ล้วนสร้างมิติใหม่ของ “คุณค่าร่วม” หรือ “จิตสำนึกร่วม” ระหว่างประชาชนรอบป่า และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งต่างเห็นพ้องกันที่จะมุ่งไปสู่ “ความยั่งยืน” ทั้งของระบบภูมินิเวศน์ย่อย (landscape) ตลอดจนความมั่นคงและความผาสุกของประชาชนรอบป่าที่เห็นพ้องกัน
  2. คุณค่ารวมและวิสัยทัศน์ร่วมของประชาชนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ต่างมองภาพรวมที่จะป้องกันฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทั้งที่ดินทำกิน ทั้งแหล่งน้ำ ทั้งป่าของรัฐ ป่าชุมชนของชาวบ้าน ตลอดจนความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์และพืชต่างๆ โดยไม่ได้แบ่งขอบเขตอย่างตายตัวตามอำนาจของกฎหมาย หรือของหน่วยงานเป็นหลัก แต่มุ่งเพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งของรัฐและของชุมชนร่วมกันโดยข้ามขอบเขตอำนาจกฎหมาย (transboundary)
  3. การจัดการร่วมกันในมิติใหม่ (C. – management) ได้พัฒนาเข้าไปสู่นามธรรมของการแบ่งปันและร่วมมือ (partnership) โดยต่างช่วยลดจุดอ่อน ตลอดจนสนับสนุนให้ทั้งรัฐและชุมชน สร้างความเข้มแข็งแต่ละฝ่าย เปิดเขตแดนของแต่ละคน ร่วมงบประมาณ และร่วมแรงร่วมใจ จนถึงการร่วมประโยชน์ของผลที่เกิดขึ้นทั้งในป่าของรัฐ และในเขตป่าของชุมชน ไปจนถึงการเป็นหุ้นส่วนในการ
    จัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ชุมชน ในทั้งสองเขตป่า
  4. มิติใหม่ของการอนุรักษ์และพัฒนา ชุมชนร่วมกันจึงมุ่งไปสู่ “ความมั่นคงของวิถีชีวิตชุมชน” ทั้งการมีความมั่นคงในที่ดินทำกินในป่ชุมชนและอาณาบริเวณป่าของรัฐ ทางด้านอาหาร อาณาบริเวณการพักผ่อนหย่อนใจ การท่องเที่ยวชุมชน ตลอดจนสร้างความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน เช่น การดูแลไฟป่า และจัดการแหล่งน้ำให้มีตลอดปี และสร้างรายได้ทั้งปี จากการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ร่วมกัน

ภาพรวมการจัดการร่วมกันระหว่างประชาชนและรัฐใน 4 มิติ ดังนี้ :-
มิติที่ 1 การผสมผสาน 2 อำนาจ : ระหว่างอำนาจกฎหมาย (hard power) กับอำนาจอ่อน (soft power) ในการจัดการร่วมกันของประชาชนกับรัฐในภูมินิเวศน์ (landscape)
1. อำนาจกฎหมายของรัฐ แยกส่วนแต่ละพื้นที่ และสายการบังคับบัญชา มีอำนาจแข็ง กว้างขวางตายตัว แต่มีข้อจำกัดในด้าน กลไกบังคับกฎหมาย และขีดความสามารถ (carying capacity)โดยเฉพาะการข้ามแดนและบูรณาการข้ามแดนในพื้นที่วิกฤตและความหลากหลายของภูมินิเวศน์และภูมิวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่น จุดอ่อนที่ตามมาคือ จิตสำนึก ความเป็นเจ้าของ ความรับผิดชอบ และกำลังคน ของหน่วยงานรัฐ การจัดการวิกฤตทั้ง ไฟป่า น้ำท่วม น้ำแล้ง และการป้องกัน ฟื้นฟูระบบภูมินิเวศน์ย่อย ที่ต้องข้ามแดนกรรมสิทธิ์ เขตป่า เขตการปกครอง กรณีการจัดการน้ำ จัดการไฟป่า จึงต้องอาศัยความร่วมมือ และจิตอาสา (อำนาจใจ : soft power) และ
ความร่วมชะตากรรมของชาวบ้านในชุมชนรอบป่า ตลอดจนภูมิปัญญาเฉพาะถิ่น เช่น การดับไฟสวนสมรม อันเป็นวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น เข้าผนึกกำลัง ปิดจุดอ่อนของป่ารัฐ และร่วมมือกันให้เกิดการป้องกัน พื้นฟู และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งภูมิทัศน์ (ป่าของรัฐ + ป่าชุมชน) ร่วมกัน

2) “อำนาจใจ” (soft power) ของชาวบ้าน ล้วนเกิดจาก “คุณธรรม” และความเป็นเจ้าของชีวิตชุมชน ป่าชุมชน ที่มีความรัก ความเชื่อ ความเกรงกลัวในการทำผิดต่อบรรพบุรุษ ความผูกพันต่อถิ่นเกิดและการสืบสานทรัพยากรธรรมชาติให้รุ่นลูก การกระตือรือร้น เอาแรงช่วยเหลือและแบ่งปันกันในชุมชน “อำนาจใจ”เหล่านี้ จึงช่วยปิดจุดอ่อน ไม่มีค่าใช้จ่ายมากมาย ให้กับรัฐ และเป็น “ทุนทางสังคม” ขับเคลื่อน และจัดการตนเองของชุมชน และป่าชุมชน ควบคู่การเรียนรู้จากการชงมือปฏิบัติ และสืบทอดต่อกันมาแต่ละรุ่นสู่รุ่นต่อเนื่อง

มิติที่ 2 : สามเหลี่ยมแห่งความยั่งยืน
“ความยั่งยืน” มิติใหม่ที่พบจากทั้งสามกรณีศึกษาได้ขยับออกจากประเด็นเชิงเดี่ยวที่เป็นวิกฤติหรือเป็นปัญหาแต่ละประเด็น จากน้ำหลาก จากไฟป่า หรือจากการจัดการป่ารัฐ หรือป่าชุมชนโดดๆ แต่ละประเด็นเป็นภาพรวมของระบบภูมินิเวศน์ที่ห่อหุ้มวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่นนั้นนั้น “ความยั่งยืน”จึงเป็นภาพรวมของ

  1. ระบบภูมินิเวศน์ย่อยที่เชื่อมโยงกันอย่างข้ามแดน และมีประเด็นน้ำเป็นศูนย์กลางของการขับเคลื่อนของรัฐและของชุมชนร่วมกัน
  2. ในขณะที่ความมั่นคงชีวิตของชุมชนและท้องถิ่นของรัฐและป่าชุมชนโดยเฉพาะความมั่นคงในที่ดินทำกินในเขตป่าต้นน้ำหรือที่ดินทำกินในเขตดอยสูงที่มักมีฟป่า น้ำท่วมประจำ รวมถึงความมั่นคงในแหล่งน้ำและตลอดทั้ง 12 เดือน ที่จะสร้างอาหารและรายได้ให้กับชุมชนท้องถิ่นตลอดปี
  3. เมื่อระบบภูมินิเวศน์ย่อย และวิถีชีวิตเป็นเรื่องของความซับซ้อน ความละเอียดอ่อน และความกว้างขวางของพื้นที่การจัดการร่วมกันระหว่างประชาชนกับรัฐ ตลอดจนภาคีอื่นๆ ทั้งด้านอนุรักษ์และพัฒนาชุมชน จึงต้องการการจัดตั้งองค์กรทั้งอิสระ และร่วมมือกันอย่างต่อเนื่องและเข้มแข็ง

มิติที่ 3 : การจัดการร่วมกันระหว่างชุมชนโดยองค์กรชุมชนกับความร่วมมือจาก “ภาคีพัฒนา” ในเชิง “พหุภาคี”
1) ทั้งภาครัฐโดยกระทรวงต่างๆ
2) องค์กรปกครองท้องถิ่น
3) องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) และสถาบันวิชาการในแต่ละภูมิภาค
4) ภาคธุรกิจเอกชนที่สนใจงานด้านพัฒนาสิ่งแวดล้อมและพัฒนาชุมชน ตลอดจนภาคสื่อมวลชนสาธารณะต่างๆ

มิติที่ 4 : การจัดการตนเองภายในชุมชนท้องถิ่น ของภาคประชาชน
ทั้งสามกรณีศึกษา จะพบ “การระเบิดจากภายในชุมชน” และการริเริ่มของแกนนำชุมชนในรูป “คณะทำงานจิตอาสา” แล้วจึงค่อยๆ จัดตั้งกันเองจากการหารือเวทีประชาคมด้วยกระบวนการหารือจากกลุ่มอาชีพ กลุ่มอนุรักษ์ไปสู่ กลุ่มพัฒนาต่างๆ ที่เป็นทั้งผู้หญิงและแกนนำผู้ชาย จากหนึ่งคุ้มไปเป็นหนึ่งหมู่บ้าน และเป็นทั้งตำบล จากยอดดอยจนถึงตีนดอย ล้วนต้องการการริเริ่มก่อการเพื่อสร้าง
ประสบการณ์จากแกนนำทางการและไม่เป็นทางการ สร้างการจัดตั้งจากภายในชุมชนเองก่อนอย่างน้อยใน 5 เรื่อง ดังนี้
1) เห็นพ้องและมีฉันทานุมัติ ในเวทีประชาคมหมู่บ้าน ต่อเป้าหมายร่วมกันของทั้งชุมชนหรือทั้งตำบล
2) จัดตั้งคณะทำงานจิตอาสา ออกเดินสำรวจและจัดทำแผนแม่บทพัฒนาชุมชนและทั้งนิเวศน์ชุมชนกำหนดแนวเขตป่าชุมชน แนวเขตกั้นไฟต่างๆ ร่วมกัน และบางครั้งร่วมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ
3) หารือแบบมีส่วนร่วมกับสมาชิกกลุ่มและชาวบ้านในเรื่องการจัดการและสร้างกติกาของชุมชนร่วมกัน รวมไปถึงการจัดตั้งกองทุนชุมชนเพื่อหล่อลื่นการทำงานของคณะทำงานต่างๆ
4) การระดมจิตอาสาเพื่อเอาแรงกันในการปลูกป่า ในการดับไฟป่า การลาดตระเวนตลอดจนการพัฒนาแหล่งน้ำทำฝ่ายชะลอน้ำในเขตป่า หรือจัดการสถานที่พักผ่อนหย่อนใจในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ร่วมกัน
5) จัดตั้งกลุ่มอาชีพ พัฒนาแหล่งน้ำ เก็บและกระจายน้ำให้ทุกแปลง และตลอดทั้งปี เพื่อสร้างรายได้อาหารให้พอเพียง ทั้งปี

มิติที่ 1 : คุณค่าร่วม วิสัยทัศน์ร่วม ที่มีต่อ “ภูมิทัศน์ที่รองรับวิถีชีวิตชุมชน” (Landscape และ Community Life) และมีพื้นที่/ เป้าหมายร่วมที่ “แหล่งน้ำ”
มิติที่ 2 : ภาวะผู้นำ ที่ใช้ทั้งอำนาจคุณธรรม ความรู้ และการเรียนรู้ท่ามกลางการร่วมแรงร่วมใจลงมือทำ ทั้งภาคชุมชน/ประชาชนที่ริเริ่มก่อนกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เปิดกว้าง ท่ามกลางการนำของชุมชนแบบรวมหมู่จากทุกหมู่บ้าน ทุกเพศและทุกจิตอาสา อย่างเข้มแข็งและต่อเนื่องเพื่อสมประโยชน์ร่วมกัน (win-win ทั้งความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ กับความมั่นคงของวิถีชีวิตชุมชน
มิติที่ 3 : การจัดตั้งและการจัดการองค์กร
1) กระบวนการจะเริ่มจากการจัดตั้งตนเอง และจัดการตนเองขององค์กรชุมชน ที่มีจิตสำนึก มีจิตอาสา และมีแกนนำที่เสียสละ มีคุณธรรม เป็นที่ยอมรับของชาวบ้าน ทั้งแกนนำทางการ และไม่เป็นทางการ ทั้งท้องที่และท้องถิ่น ทั้งเพศหญิงและชาย ที่สำคัญด้วยการริเริ่มลงมือทำทีละเล็กละน้อย ค่อยเป็นค่อยไป ผ่านการหารือ เห็นพ้องในเวทีประชาคม จึงเกิดการนำแบบ “รวมหมู่” เกิดการสื่อสารภายในและเกิด “แผนแม่บทชุมชน” ผังรวมของหมู่บ้าน/ตำบล พร้อมแนวเขต ที่เป็นเครื่องมือกลางในการจัดการกันเองของชุมชน และเรียนรู้ ติดตามในเวทีชาวบ้านทุกเดือน ควบคู่การสร้างกติกา และ กองทุนชุมชน ใช้ขับเคลื่อนตนเอง และประสานความร่วมมือกับภายนอกชุมชน
2) การจัดการร่วมกับรัฐ และ “พหุภาคีสนับสนุน” จากภายนอก ตามแผนแม่บท และผังแนวเขตและกติกาชุมชน เพื่อขยายเป็น
เป้าหมายร่วม แผนงาน และ งบร่วม ตลอดจนกติการ่วม และการเอาแรง และ แบ่งพื้นที่ บทบาท อำนาจ (อำนาจแนวดิ่ง / กฎหมาย กับอำนาจใจในชุมชนแต่ละฝ่ายในการจัดการทั้ง 2 พื้นที่ทั้งของชุมชนและรัฐ เพื่อประโยน์สุขของประชาชนทั้งพื้นที่ เป็นหลัก
3) ความต่อเนื่องและการเรียนรู้ท่ามกลางการลงมือทำและการปรับตัวและการสื่อสารกันเองของชุมชน และระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐ กับแกนนำและตัวแทน เป็นปัจจัยสำคัญของการจัดตั้ง และการจัดการร่วมกัน
มิติที่ 4 : กระบวนการเรียนรู้ และการปรับตนเองในการจัดการร่วมกัน
1) คุณธรรม จิตอาสา ริเริ่มนำทำและลงมือปฏิบัติของแกนนำอย่างค่อยเป็นค่อยไป และเห็นผลสำเร็จเป็นรูปธรรม คือกูญแจสำคัญ ในการกระตุ้นดการเรียนรู้ของชาวบ้าน ให้ร่วมมือ
2) การผสมผสาน ความรู้และเทคนิควิธี ทั้งของภูมิปัญญาชาวบ้าน (สวนสมรม / การชิงเผา + การเผาให้ไฟที่จุดชนไฟป่า / การเชื่อมแหล่งน้ำด้วยแรงดันน้ำผ่านท่อ) กับความรู้ เทคนิควิธีสมัยใหม่จากหน่วยงานของรัฐและพหุภาคีสนับสนุน จะทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างชุมชนกับรัฐ และประหยัดงบประมาณรัฐ ควบคู่ ความยั่งยืนของผลที่เกิดร่วมกัน
3) การมีเวทีเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และเป็นธรรมชาติของชาวบ้าน และองค์กรชุมชน กับแกนนำ และหน่วยงานภายนอก ด้วยเวทีชาวบ้าน สื่อชุมชนหลากหลายช่องทาง และด้วย สื่อ social media ผ่านโทรศัพท์มือถือ ของชาวบ้าน ล้วนทำให้กระบวนการเรียนรู้ และการรับรู้เทคโนโลยีจากภายนอก ง่าย ประหยัด และรวดเร็ว
มิติที่ 5 : การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับภูมินิเวศน์ และภูมิวัฒนธรรมของและชุมชนท้องถิ่น

กรณีศึกษาที่ 1 : บ้านขอเหนือ-ขอใต้ จ.ลำปาง
1) เทคโนโลยีการจัดการไฟป่าเชิงรุก ทั้ง 2 เขต 1 ป่ารัฐ 2 ) ป่าชุมชนร่วมกัน ภายใต้การจัดการป้องกัน –
การดับไฟ – การฟื้นฟูหลังไฟป่า
2) การทำแนวกันไฟร่วมกันทั้งดอย จากยอดดอย กลางดอย และชุมชนตีนดอย
3) เทคนิควิธีการเผาป่าแบบควบคมไฟ “ไฟที่จุดชนฟป่า” และ “การชิงเผา” เศษไม้ ใบไม้แห้ง ในที่ราบและเสี่ยงต่อไฟป่าลุกไหม้ช่วงไฟป่าลุกลาม
4 การใช้มีอถือในการสื่อสารของทีมลาดตระเวน


Model “การจัดการไฟป่าแบบ ประชน + รัฐ”
(5 P Model ) บทเรียน : “บ้านขอใต้- ขอเหนือ ” จ. ลำปาง
P 1: Paradigm : วิสัยทัศน์ร่วมและเป้าหมายร่วม
1) มุ่งการจัดระบบนิเวศน์ทั้งดอย ทั้งเรื่องการดูแลรักษาป่าอนุรักษ์และป่าชุมชนการจัดการน้ำทั้งต้นน้ำฝายชะลอน้ำ อ่างเก็บน้ำและการจัดการไฟป่าทั้งการทำแนวป้องกันไฟป่า การดับไฟป่า ควบคู่การฟื้นฟูร่วมกัน ตลอดทั้งดอยตั้งแต่ยอดดอยจนถึงที่ทำกินของชาวบ้าน โดยร่วมกันจัดการทั้งป่าในเขตของรัฐ และเขตของป่าชุมชนร่วมกัน ตลอดทั้งปี (ภูมิทัศน์ : landscape) โดยมุ่งการสร้างความชุ่มชื้น
ด้วยป่าดิบชื้น (ให้คืนสภาพ ฝ่ายซะลอน้ำ ป่าต้นน้ำ อ่างเก็บน้ำทั้งปี และร่องน้ำกันไฟ ร่วมกัน
2) เป้าหมายระยะยาว เพื่อตอบสนองวิถีชีวิตชุมชนท้องถิ่น บนความสมบูรณ์ของระบบภูมินิเวศน์ทั้ง 2เขต คือ ป้าอนุรักษ์ของรัฐบนยอดดอย และป่าชุมชนอ่างน้ำ และที่นาชาวบ้าน

P 2 : POWER : ผนึกกำลังอำนาจรัฐ กับอำนาจใจ ( soft power ) ของชุมชน เพื่อลดจุดอ่อนของ หน่วยงานรัฐที่มีพื้นที่ป่าและความรับผิดชอบกว้างขวางแต่มีข้อจำกัดด้านขีดความสามารถจัดการ (carrying capacity) ควบคู่การบูรณาการการจัดการของแต่ละหน่วยงาน แต่ละ กฎหมาย แต่ละเขตพื้นที่ ให้ตอบโจทย์วิถีชีวิตชุมชนท้องถิ่น ในการจัดการที่ดิน จัดการป่า จัดการแหล่งน้ำ จัดการไฟป่า และการดูแลไฟป่า ภายใต้แผนแม่บท กติการ่วมกับชาวบ้าน

P3 : Process : เน้นให้ชุมชนท้องถิ่นริเริ่มและจัดตั้งตนเอง ในการจัดการป่าชุมชนของชาวบ้านตนเองก่อน เมื่อเข้มแข็งแล้วจึงสร้างความร่วมมือหารือกับป่ไม้ในการหารือวางแผนแม่บทร่วมกันในการดูแลการจัดการไฟป่า การปลูกป่า การสร้างฝายชะลอน้ำ การพัฒนาอ่างน้ำร่วมกัน ทั้งในเขตป่าอนุรักษ์ป่าสงวนพันธุ์สัตว์ป่าบริเวณยอดดอย ลงไปถึงเขตป่าชุมชน และที่ตั้งหมู่ข้าน ร่วมกันจัดแนวกันไฟเพื่อเป็นการป้องกันไฟป่า แผนดับไฟป่าในช่วงเกิดไฟป่าร่วมกัน และการฟื้นฟูหลังไฟป่า

P 4 : Partnership การผนึกกำลังลงแรงแบบ “ประชาชน + รัฐ”
การทำแนวกันไฟบนยอดดอยในเขตป่าอนุรักษ์ ต้องอาศัยภูมิปัญญา การคุ้นเคยกับความลาดชันแต่ละหุบเขา ทิศทางช่องลมที่ชาวบ้านคุ้นเคย รวมไปถึงยุทธวิธีการเผาให้ “ไฟชนไฟ” ในพื้นที่ลาดชันเมื่อไหลลงมาจากยอดดอยสูง เพื่อป้องกันไฟลุกลามลงสู่ตีนดอย หรือยุทธวิธี “การชิงเผา” วัสดุเศษไม้ใบไม้ที่ล่วงกับดินก่อนหน้าไฟป่าจะมาถึง การใช้เครื่องดูดฝุ่นเป่าลมไล์ใบไม้แห้งให้มารวมกัน หรือการทำคูน้ำรอบป่าเป็นแนวกันไฟและซะลอน้ำจากเขตป่าต้นน้ำ รวมทั่งการทำฝายซะลอน้ำในเขตป่ของรัฐและป่าชุมชนของชาวบ้าน

P 5 : People : การจัดตั้งตนเองและจัดการตนเองขององค์กรชุมชน
ชุมชนบ้านขอใต้และขอเหนือ เป็นต้นแบบถึงการจัดการตนเองแบบครบวงจร เริ่มด้วย
1) การมีผู้นำชุมชนที่มีคุณธรรม มีความรู้ และมีความเสียสละ สามารถระดมจิตอาสาในหมู่บ้าน
2) ร่วมกันสำรวจจัดทำแนวเขตป่าชุมชน แนวเขตไฟป่า
3) จัดทำแผนแม่บททำการนุรักษ์และการพัฒนาชุมชนด้วยการปรึกษาหารือและมีเวทีประชาคมหมู่บ้านที่เห็นพ้องกันในเรื่องกติกาของชุมชน ที่จะจัดการร่วมกันทั้ง มีเวทีในการพบปะหารือและติดตามงานทุกเดือน
4) จัดทำแนวกันไฟถึงสามแนวคือ แนวยอดเขาป้องกันฟป่า แนวป่าชุมชน แนวหมู่บ้าน
5) จัดทีมลาดตระเวนของหมู่บ้านในจุดที่มีความเสี่ยง พร้อมกับระดมจิตอาสา เมื่อถึงฤดูต้องเข้าไปดับไฟร่วมกัน
6) จัดตั้งและจัดทำอุปกรณ์การดับไฟ ตลอดจนกองทุนชุมชนทั้งในด้านการอนุรักษ์และการพัฒนา
7) จัดอบรมชาวบ้านและประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อตลอดจนช้โซเชียลมีเดียสร้างความเข้าใจกับลูกบ้านทั้งหมู่บ้าน
8) ฟื้นฟูอ่างน้ำและร่องน้ำรอบป่าชุมชนเพื่อให้เกิดความชื้นรอบป่า อันจะทำให้สภาพป่าค่อยๆ เปลี่ยนแปลงจากป่าเต็งรังเป็นป่าดิบชื้นในที่สุดและมีแหล่งน้ำใช้ตลอดปี

กรณีศึกษาที่ 2 : บ้านคลองเรือ จ.ชุมพร
1) การผสมความรู้ สวนสมรม กับ ความหลากหลายทางชีวภาพของสังคมพืช เป็นระบบ “วนเกษตรอินทรีย์ป่า 4 ชั้น” บนที่ดินเอกชน 5 ไร่ และ ปลูกพืชแต่ละชั้น โดยมีตลาดรองรับที่ชัดเจน
2) การจัดการป่าผสมผสานทั้ง 2 เขต คือป่าต้นน้ำของรัฐ กับป่า 4 ชั้นของเอกชน+ ป่ายางเอกชนในที่ดินของรัฐที่จัดสรรให้ภายใต้ข้อตกลงร่วมกับชาวบ้าน จนเกิด “สิทธิการใช้ที่ดินในที่ของรัฐ” แทนกรรมสิทธิ์
3) จัดระบบและที่พักอาศัย (homestay) ในการจัด “การท่องเที่ยวเชิงนิเวศชุมชน” ร่วมกับรัฐ
4) การจัดตั้งศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน เรื่องการปลูกต้นไม้สี่ชั้นเป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนในการขยายผลออกไปในพื้นที่

ยุทธศาสตร์ฟื้นฟูภาคเกษตรหลัง COVID
“คลองเรือ” โมเดล วนเกษตรผสมผสาน 4 ชั้น บนที่ดินของรัฐ
สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทั่วโลกและในประเทศไทยในปัจจุบันก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจทั้งระดับชาติและระดับประชาชนอย่างน้อยในสามภาค คือ
1) ภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
2) ภาคอุตสาหกรรมการส่งออกและการพัฒนาที่อยู่อาศัย
3) การลงทุนจากต่างประเทศที่เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) เริ่มไหลออกจากไทย และหันเข้าสู่ประเทศเวียดนามมากกว่าประเทศไทย

ในขณะที่พื้นที่ทำการเกษตรตลอดจนที่ดินทั่วประเทศมากกว่า 50% ตกอยู่ในมือของนายทุนอีก เก็งกำไรที่ดินทั้งจากต่างประเทศและในประเทศเอง และแรงงานที่ถูกปลดจากภาคอุตสาหกรรม ภาคการท่องเที่ยว ตลอดจนแรงงานต่งประเทศจากประเทศเพื่อนบ้านล้วนตกงานและไม่มีงานทำเป็นภาระของรัฐบาลและกลายเป็นแหล่งแพร่ระบาดเชื้อ COVID อยู่ในปัจจุบัน

ข้อเสนอทางยุทธศาสตร์ :
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : นำที่ดินของรัฐภายใต้การดูแลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำมาจัดการร่วมกับภาคประชาชนและชุมชนท้องถิ่นรอบพื้นที่ดังกล่าว (Co-management) เพื่อรองรับแรงงานที่จะคืนถิ่นจากภาคอุตสาหกรรม และภาคการท่องเที่ยวจากในเมืองและเมืองใหญ่ตลอดจนกรุงเทพมหานคร
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : ให้ประชาชนท้องถิ่นและแรงงานคืนถิ่น กลับมาทำการเกษตร (Smart Farming) ที่ใช้ความรู้และเทคโนโลยีควบคู่การจัดการการตลาดสมัยใหม่ ร่วมกับบริษัทธุรกิจเอกชนภายใต้ “มติ ครม. 2541” และแนวทางการถือครองและทำประโยชน์ที่ดินของรัฐ (กปร.2) และเอกสารแผนที่ (ภ.บ.ท.5) เพื่อจัดตั้งชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่ของแต่ละท้องถิ่นให้เข้มแข็งทั้งสามด้าน คือ
1) ด้าน “ความมั่นคง” ในที่ดินทำกิน
2) ด้าน “ความมั่งคั่งทางเศษฐกิจชุมชน” ที่เกิดจากการทำการเกษตรแบบผสมผสานหรือหัวหน้าเกษตรแบบผสมผสานมีน้ำและมีรายได้ตลอดทั้งปี
3) ด้าน “ความยั่งยืน” ทั้งของประชาชนที่จะมีความสุขแบบพอเพียง และมีการจัดการระบบนิเวศน์ชุมชนทั้งด้าน ดิน น้ำ ป่า สัตว์ป่า และไฟป่า ตลอดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ชุมชนในพื้นที่ที่มีศักยภาพเพื่อรองรับระบบนิเวศน์บริการทั้งแหล่งอาหาร และที่อยู่อาศัย ที่พักผ่อนหย่อนใจและวิถีชีวิตทางวัฒนธรรม ตลอดจนเป็นแหล่งสมุนไพรและแหล่งอาหารของสัตว์ป่า รวมไปถึงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ของคนไทยด้วยกันเอง

คลองเรือ Model: 5 P.”
ชุมชนบ้านคลองเรือ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร เป็นชุมชนอยู่ใน “เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า (ควนแม่ยายหม่อน และอยู่ใน “เขตป่าสงวนแห่งชาติ (ป่าปากทรง-พะโต๊ะ)” โดยมีชาวบ้านอพยพมาจากจังหวัดต่าง ๆ มารวมกันที่บ้านคลองเรือถึง 17 จังหวัดนับตั้งแต่ปี 2528 เป็นต้นมา

P 1: Paradigm : วิสัยทัศน์ และ วิธีคิดใหม่
ภายใต้โครงการ “คนอยู่ป่ายัง ซึ่งเริ่มเมื่อปี 2536 โดยความรับผิดชอบของหน่วยอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำพะโต๊ะ ได้นำมติ ครม. 2541 และแนวทางการถือครองและทำประโยชน์จริงของรัฐ (กปร.2) มาจัดสรรที่ดินของรัฐภายใต้ “สิทธิทำกิน ด้วยการจัดทำเอกสารแผนที่ “ภาษี ภ.บ.ท.5” เพื่อให้ชาวบ้านที่อพยพมาจาก 17 จังหวัดในบ้านคลองเรือ มีที่ดินทำกินประมาณครัวเรือนละ 25 ไร่ ภายใต้ข้อตกลงและกติการ่วมกันระหว่างรัฐและชุมชน ที่จะจัดการทรัพยากรธรรมชาติทั้งระบบนิเวศน์ ชุมชนเพื่อรองรับระบบนิเวศบริการแก่
ชาวบ้าน ทางด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (C : Conservation) และด้านการพัฒนาความเป็นอยู่และเศรษฐกิจชุมชน (D: Development) เพื่อมุ่งไปสู่ความยั่งยืนทั้งของ “ระบบนิเวศน์” (Landscape ) ระบบนิเวศบริการ และวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่นทั้งหมู่บ้านในเขตป่าต้นน้ำดังกล่าว

P 2 : Power : การบูรณาการอย่างไร้ขอบเขต (trans boundary) ระหว่างอำนาจรัฐหรืออำนาจกฎหมาย (hard power) กับอำนาจอ่อน (soft power) คือ จิตสำนึก ความเป็นเจ้าของ การมีส่วนร่วม ทั้งการป้องกัน ดูแล และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศน์ชุมชนร่วมกัน (ที่ดิน – น้ำ – ป่า- สัตว์ป่า – ไฟป่า) ตลอดจนการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ชุมชน

P 3 : Process : การจัดการร่วมกัน ระหว่างรัฐและประชาชน (Co-management) ภายใต้ข้อตกลงการจัดการร่วมกัน ผ่านการหารือร่วมกับชาวบ้านและประชาคมหมู่บ้าน ตลอดจนมีเวทีชาวบ้านทุกเดือนใน การหารือวางแผนการจัดการทำกิจกรรมร่วมกัน ทั้งการป้องกันและการลงมือทำงานร่วมกัน ทางด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและด้านการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
( Conservation + Development ) เพื่อการผลิตอาหาร ที่อยู่อาศัย พักผ่อนหย่อนใจ ดำเนินชีวิตเศรษฐกิจชุมชน สังคม วัฒนธรรม ตลอดจน เพื่อ รองรับเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของคน และสัตว์

P 4 : Partnership : การจัดตั้ง การผนึกกำลังระหว่างภาครัฐกับภาคประชาชน ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติในแต่ละภูมินิเวศน์ (Landscape) ล้วนไม่มีเส้นแบ่งระหว่าง ดิน น้ำป่าไม้ น้ำใต้ดิน ไฟป่า และแม้แต่ชีวิตของสัตว์ป่า ตลอดจนความหลากหลายของชีวิต ล้วนไร้พรมแดนและต้องการการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยหน่วยงานและมนุษย์ แบบข้ามพรมแดน ผนึกกำลัง
(transboundary and synergy ) แต่ พรบ. กฎหมาย กรรมสิทธิ์ หน่วยงาน และงบประมาณ ล้วนแยกพื้นที่ขอบเขต เส้นแบ่ง และตัวตน ผลประโยชน์ออกจากกัน จนทำให้เกิดการ ผนึกกำลัง (partnership) ระหว่างรัฐ กับประชาชนและองค์กรประชาชน ในเรื่อง

1) เป้าหมายร่วม ที่จะให้เกิดความยั่งยืนของระบบภูมินิเวศน์ย่อย (landscape) รวมทั้งความสุขและความมั่งคั่งเศรษฐกิจครัวเรือนและชุมชนทั้งปี ตลอดจนความมั่นคงในที่ทำกินและตั้งถิ่นฐานของชาวบ้านในพื้นที่ต้นน้ำของรัฐ
2) ใช้ความรู้ผสมผสานทั้งภูมิปัญญาชาวบ้าน เรื่องสวนสมรมของภาคใต้ การปลูกพืชบำรุงดินตามธาตุ 4 (ปราชญ์ชาวบ้าน : ป๊ะหรน) ควบคู่ความรู้สมัยใหม่เรื่องสังคมพืช ความหลากหลายทางชีวภาพ ในการเลือกชนิดพืช และปลูกพืช แบบ “วนเกษตรผสมผสาน 4 ชั้น” ตามความสูงของลำต้น เพื่อประหยัดพื้นที่ปลูก และสูงลดหลั่น ไม่บังแสงแดดซึ่งกันและกัน ชั้นยอด ชั้นกลาง ชั้นล่าง และพืชคลุมดิน/ หัวใต้ผิวดิน
3) ใช้ระเบียบร่วมกันทั่วจากกฎหมายรัฐ + กติกาชุมชน ควบคู่การจัดตั้งองค์กรชุมชนหลากหลายทั้งโดยชาวบ้านเอง และโดยรัฐ
4) พืช 4 ชั้นชาวบ้านเลือกกันเอง จากพืชท้องถิ่นในสวนสมรม เช่น มังคุด ทุเรียน สะตอ และพืชเศรษฐกิจ เช่น หมาก กาแฟ มะม่วง พืชคลุมดินเพื่อบำรุงดิน เป็นต้น
5) จัดการร่วมกันในเรื่องน้ำเพื่อผลิตพลังงนไฟฟ้า ทำน้ำประปาหมู่บ้าน และเพื่อการเกษตร และจัดการให้ ป่าเอกชนแต่ละครัวเรือน ป่าสงวน ป่าชุมชน เป็นป่าผืนใหญ่เพื่อการอนุรักษ์ต้นน้ำและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิง “นิเวศน์ชุมชน” มีรายได้ตลอดปี จัดบ้านเป็นที่พัก homestay และปลูกกาแฟ ขายกาแฟสดกับนักท่องเที่ยวในหมู่บ้าน

P 5 : PEOPLE : การจัดการตนเองของภาคประชาชน โดยเฉพาะในเรื่องการจัดการอนุรักษ์ และพัฒนากันเองภายใต้ภาวะผู้นำ และองค์กรชุมชนอันหลากหลาย ทั้ง เพศ วัย ทักษะอาชีพ แต่ละสังคม วัฒนธรรมย่อยที่มาจาก 17 จังหวัด รวมไปถึงการจัดการเศรษฐกิจชุมชน บนป่า 4 ชั้น และการค้นหาตลาด 3 ตลาด คือ ตลาดส่งออก ตลาดกรุงเทพฯ และตลาดในท้องถิ่น ที่จะทำให้ชาวบ้าน มีน้ำและมีรายได้ทั้งปีนั่นเอง

กรณีศึกษาที่ 3 : ตำบลเชื้อเพลิง จ.สุรินทร์
1) การสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันและการชี้นำของผู้นำในการค่อยๆ ขับเคลื่อนระบบน้ำทั้งต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำทั้งตำบล
2) วิธีการสร้างคูน้ำเป็นแนวกันไฟรอบป่าชุมชนได้ทั้งแนวกันไฟและแหล่งน้ำเพื่อชะลอน้ำ
3) กระบวนการและเทคนิควิธีการเจรจาชาวบ้าน ในการใช้ที่ทำเลเปลี่ยนเป็นอ่างน้ำสาธารณะของชุมชน เก็บน้ำจากป่าต้นน้ำ เพื่อสร้างแรงดันน้ำ กระจายลงไปในแปลงนาทั้งปี ควบคู่การเจรจากับราชการทุกกรมกองในการใช้งบประมาณมาขุดอ่างน้ำจากหลายๆ กรม และกระทรวง
4) เทคนิควิธีในการเดินท่อยางขนาด 3 นิ้วและท่อ PVC ขนาด 6 นิ้ว ลงใต้ดินเพื่อกระจายน้ำจากอ่างน้ำ ลอดใต้ถนนและลอดใต้ดินของเอกชนไปสู่แปลงนาที่อยู่ท้ายน้ำทั่วทุกแปลงนาของแต่ละหมู่บ้าน ทุกหมู่บ้าน ทั้งตำบล
5) เทคนิควิธีการนำประสบการณ์ของตำบลเชื้อเพลิง จัดระบบเก็บน้ำ และกระจายน้ำทั้งยอดเขา ไปสู่ลุ่มน้ำห้วยเสนงในจังหวัดสุรินทร์ ผ่านเวทีคณะกรรมการจังหวัดสุรินทร์

ปัจจัยความสำเร็จ : บทสังเคราะห์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากป่าชุมชนตาเกาว์ 5 มิติ

  1. ภาวะผู้นำ (LEADERSHIP)
    กำนัน นายก อบต. และคณะกรรมการมีความสอดคล้องในวิสัยทัศน์ที่เน้นการจัดการน้ำร่วมกันเพื่อให้ประชาชนทั้งตำบลมีน้ำใช้ตลอดปี โดยใช้ความแตกต่างของระบบลาดชันของแรงดึงดูดของโลก และการใช้แรงกาลักน้ำส่งน้ำ และจ่ายน้ำเข้าสู่แต่ละพื้นที่ ด้วยความชัดเจนในระบบภูมินิเวศน์ของตำบลและของแต่ละหมู่บ้าน

    การร่วมกันของผู้นำควบคู่การใช้การเจรจาต่อรอง ใช้การกระจายอำนาจ ใช้การปรึกษาหารือ และขอฉันทานุมัติจากคู่กรณีทั้งผู้ความขัดแย้งและชาวบ้าน เพื่อเข้าใจในกระจายหรือใช้ประโยชน์จากน้ำที่ผ่านพื้นที่ ด้วยการใช้อำนาจอ่อน ควบคู่การเชื่อมโยงสถาบันชุมชนทั้งบ้าน วัด โรงเรียน และพลังของสตรีในการสร้างภาวะการนำแบบรวมหมู่
  2. การจัดตั้งองค์กรชุมชน
    มีระบบการจัดการ ทั้งด้านการจัดการความขัดแย้ง การสร้างความร่วมมือในการจัดการน้ำ และการรวมพลเพื่อผนึกกำลังทั้งในตำบล และการทำงานต่างๆ กับหน่วยงานนอกตำบลอันเกิดการรวมตัวทางท้องถิ่นควบคู่การร่วมมือกับภาคีภายนอก ทั้งระดับจังหวัดและหน่วยราชการต่างๆ จากกระทรวงที่เกี่ยวข้องในการจัดการน้ำทั้งระบบพักน้ำ ระบบส่งน้ำ และระบบกระจายน้ำ จากต้นน้ำ กลางน้ำ
    จนถึงทุกแปลงนาและทุกพื้นที่การรวมศูนย์วิสัยทัศน์ และกระจายอำนาจการตัดสินใจในการบริหารจัดการน้ำแต่ละหมู่บ้าน ควบคู่กับการหารือของคณะแกนนำ 15 คนจาก 12 หมู่บ้านมีกองทุนสร้างความผูกพัน และจัดการกันเองทั้งในหมู่คณะกรรมการตลอดจนหมู่บ้านทั้ง 12 หมู่บ้านให้รวมด้วยสวัสดิการชุมชน และการจัดตั้งกองทุนควบคู่กติกาการใช้น้ำที่หลากหลาย สอดคล้องกับภูมิวัฒนธรรมของชาวเขมรในตำบลเกิดการทำงานร่วมกันจากเล็กไปหาใหญ่ จากสระน้ำขนาดเล็กแล้วขยายตัวเป็นสระใหญ่ จนถึงระบบท่อครอบคลุมทั้งตำบลในที่สุดที่เรียกว่าเป็นการต่อจิ๊กซอว์จากแต่ละชิ้นส่วนไปหาภาพรวมทั้งหมด ที่โดดเด่นที่สุดคือ การร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่หลากหลายได้อย่างเป็นฝ่ายรุก เป็นฝ่ายกำหนดโดยใช้พื้นที่ และวิสัยทัศน์เป็นตัวกำหนดความร่วมมือกับหน่วยงานทุกกระทรวง ทบวง กรม ที่เข้ามาสนับสนุนในการจัดการน้ำในระบบภูมินิเวศน์ร่วมกัน
  1. กระบวนการเรียนรู้และการปรับตัว
    มีการขยายงานร่วมกันจากเล็กไปหาใหญ่ การเรียนรู้สิ่งหนึ่งไปหาอีกสิ่งหนึ่งด้วยการลงมือทำร่วมกันและจากงบประมาณที่สามารถจรจาต่อรองกับหน่วยงานภายนอกอย่างค่อยเป็นค่อยไป ภายใต้วิสัยทัศน์ที่ดี ทั้งกำนันซึ่งเป็นแกนนำและคณะกรรมการจากทั้ง 12 หมู่บ้าน และ อบต. กำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกัน และใช้เป็นเครื่องมือต่อรองกับทุกหน่วยงานทั้งงบป ระมาณ และเทคนิควิชาการต่างๆ คณะกรรมการร่วมกันจัดการน้ำ เป็นฝ่ายรุกและกำหนดความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เข้ามาสามารถเชื่อมโยงทั้งน้ำ ทั้งคน ตลอดจนงบประมาณของทุกหน่วยงานเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับวิสัยทัศน์ของคณะกรรมการ และกำนันซึ่งเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกลที่สุดมีการใช้กระบวนการทำงานร่วมกันป็นเวทีให้ผู้นำหมู่บ้านทั้ง 12 หมู่บ้านส่งคนรุ่นใหม่เข้ามารับไม้ถ่ายบทบาทกันแต่ละรุ่นจากรุ่นแรก เป็นรุ่นที่สอง ด้วยการลงมือทำและเรียนรู้ร่วมกันจากการปฏิบัติงานในแต่ละการจัดการน้ำแต่ละช่วงเวลาแกนนำผู้ชายได้เลือกสรรกรใช้บทบาทผู้หญิงในการสร้างช่องทางการสื่อสารกระจายตัวออกไป และรับข้อมูลข่าวสารกลับเข้ามาเรียนรู้แลกเปลี่ยนกันตลอดเวลา โดยผ่านบทบาทผู้หญิง และการนำของสตรีที่มีอยู่ทุกหมู่บ้านและถือเป็นนโยบายว่าการนำที่สมบูรณ์จะต้องมีทั้งสองเพศในทุกหมู่บ้าน 12 หมู่บ้าน

เทคโนโลยีและความรู้สมัยใหม่
มีการใช้เทคโนโลยี และความรู้สมัยใหม่เข้ามาจัดการน้ำ ซึ่งเป็นสามารถสรุปเป็นนวัตกรรมในพื้นที่ได้ทั้งหมด 3 เรื่อง ดังนี้

  1. นวัตกรรมที่เน้นการใช้คูน้ำล้อมรอบบำชุมชนป็นแนวเขตของป่ชุมชน ทำให้ได้ทั้งถนนได้น้ำในคลองรอบป่ชุมชน ควบคู่การได้แนวกันไฟรอบป่ และมีผลพลอยได้จากการพักน้ำในคลองรอบป่าชุมชนเพื่อป้องกันน้ำหลากลงมาท่วมหมู่บ้านที่อยู่ต่ำลงมาในฤดูฝน
  2. นวัตกรรมการใช้ภูมิทัศน์ของพื้นที่ลาดเอียงเป็นที่ไหลลงมาของน้ำด้วยระบบกาลักน้ำ จากแรงดึงดูดของโลกที่น้ำจะต้องไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำเสมอ ค่อยๆ ส่งน้ำจากอ่างน้ำเก็บน้ำอันเป็นระบบพักน้ำใหญ่ ต่อจากนั้นจึงส่งลงมายังห้วย หนอง คลอง บึงอัน เป็นระบบย่อยทั้งตามธรรมชาติและขุดขึ้นใหม่สุดท้ายคือ การใช้ระบบท่อส่งกระจายลงไปใต้ดินเพื่อไปยังแปลงนา พื้นที่การเกษตรของ เกษตรกรทุกแปลงที่อยู่ท้ายน้ำ ด้วยระบบแรงดันของน้ำ และกาลักน้ำตามธรรมชาติ
  3. นวัตกรรมความสามารถของคณะแกนนำโดยเฉพาะกำนันในการบูรณาการทั้งท้องถิ่น ให้มีความร่วมมือกันภายในชุมชน ตลอดจนไปสร้างความร่วมมือในการร่วมจัดการน้ำเชิงระบบทั้งระบบพักน้ำ ระบบส่งน้ำ และระบบกระจายน้ำ กับกระทรวง และจังหวัดที่เกี่ยวข้องด้วยความหลากหลายของระเบียบ และงบประมาณให้เข้ามาสนับสนุนวิสัยทัศน์ของแกนนำได้อย่างสอดคล้อง และค่อย
    เป็นค่อยไป สำคัญคือ การเปลี่ยนความขัดแย้งเป็นการขอคืนที่ดินจากการบุกรุกมาเป็นความร่วมมือ และจากการใช้อำนาจแข็งมาเป็นอำนาจอ่อนควบคู่กันได้อย่างมีศิลปะ และจบลงด้วยการสร้างฉันทานุมัติกับทุกกรณีอันเป็นลักษณะเฉพาะของคณะแกนนำ และกำนันที่ใช้อำนาจอ่อนนำอำนาจแข็ง เลือกใช้อำนาจอ่อนเป็นปราณี หาคำตอบสุดท้ายให้กับการจัดการน้ำในพื้นที่
  1. จิตสำนึกร่วม คุณค่าร่วมของชุมชน
    กำนันซึ่งเป็นผู้ริเริ่มก่อการและเป็นแกนนำในสมัยที่เริ่มต้นเมื่อ 30 กว่าปีมาแล้วมีวิสัยทัศน์ชัดเจนในการเชื่อมโยงน้ำ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับชาวบ้าน มีความมุ่งมั่น และโน้มน้าวจิตใจของผู้นำทั้ง 12 หมู่บ้านด้วยวิธีใช้ฉันทานุมัติการเจรจาต่อรองควบคู่การสร้างการเกาะกลุ่มกันลงมือทำ และจัดสวัสดิการร่วมกันของทั้งคณะกรรมการ ซึ่งล้วนใช้อำนาจใจอันเป็นอำนาจอ่อนที่ทำให้เกิดการนำรวมหมู่และเกิดความสามัคคีในกลุ่มของทางคณะกรรมการ และชาวบ้านอันเป็นคุณค่าและสำนึกร่วมกันควบคู่การใช้จิตสำนึกของแกนนำสตรีที่มีพลังใจในการขับเคลื่อนชีวิต และมีบทบาทโดดเด่นในด้านจิตสำนึก พฤติกรรมการร่วมไม้ร่วมมือกันในกลุ่มอาชีพ และกลุ่มสวัสดิการต่างๆ ที่มีมาก่อนหน้านี้เข้าร่วมมีบทบาทกับคณะผู้ก่อการซึ่งล้วนเป็นผู้ชายให้มีสมดุลระหว่างบาทหญิงและชาย อันเป็นการสร้างความสมดุลระหว่างอำนาจแข็งและอำนาจอ่อนนั่นเอง (soft power)

บทเรียนเชิงสังเคราะห์
“การจัดการน้ำชุมชน เพื่อวิถีชีวิติรอบป่าชุมชน” ป่ตาเกาว์ จ. สุรินทร์
แบบเชื่อมโยงแหล่งน้ำผิวดินระบบ ป่า – อ่าง- หนอง – คลอง – บึง – ท่อแป๊ปน้ำ pvc.

บริบท :

  1. ชุมชนเขมรในจังหวัดสุรินทร์เป็นผู้ที่ยึดมั่นในวัฒนธรรมชาวเขมรที่มักจะมีประเพณีการอยู่ร่วมกันเป็นชุมชนที่สามัคคี ยึดมั่นในประเพณี ตั้งแปลงงานบุญงานบวงสรวงงานทำบุญให้กับญาติผู้ตาย ที่ล่วงลับไปแล้วตลอดจนงานบุญเพื่อการทำทานให้กับพี่เป็ดต่างๆ ตามความเชื่อของชาวเขมรควบคู่กับวิถีชีวิตที่อยู่ด้วยการปลูกข้าวหอมมะลิ ปลูกมันสำปะหลัง และปลูกหม่อน เพื่อทอผ้าไหม ที่จะนำมาทักทอเป็นเสื้อผ้าเพื่อใช้ในพิธีแต่งงานของเจ้าบ่าวและเจ้าสาว ทั้งนี้จะพบว่าในปัจจุบันพลังของสตรีและการมีส่วนร่วมของสตรีในการพัฒนาป่าและการจัดการน้ำตลอดจนอาชีพล้วนเป็นบทบาทของผู้หญิงที่มีบทบาทเด่นชัด
  2. ระบบภูมินิเวศน์อันเป็นภูมิทัศน์ของชุมชนชาวเขมรในจังหวัดสุรินทร์ล้วนอยู่บนที่สูงและค่อยๆ ลาดลงเป็นที่ต่ำลงมาจนเข้าสู่ลุ่มแม่น้ำมูล แม่น้ำชีที่อยู่ต่ำลงไปเรื่อยๆ ผลทำให้ภูมิทัศน์ในเขตอีสานใต้ที่ติดต่อกับประเทศเขมรอยู่บนที่สูงแล้วค่อยๆ ลดหลั่นลงมาจนถึงที่ราบลุ่มที่อยู่ในตัวเมืองของจังหวัดต่างๆ ในอีสานใต้ และสิ่งนี้นี่เองที่ชุมชนตำบลเชื้อเพลิงนำเอาระบบการรับน้ำหรือน้ำที่ไหลจากที่สูงลงที่ต่ำทำให้เกิดการเชื่อมโยงของน้ำด้วยระบบกาลักน้ำที่เกิดจากภูมิทัศน์ดังกล่าวนี้เอง

จากการบุกรุกป่าของชาวบ้านจากนอกเขตป่ามาสู่ป่ชุมชนและเชื่อมโยงมาสู่การจัดการน้ำทั้งตันน้ำกลางน้ำ และปลายน้ำ จนเกิดระบบการพักน้ำ การส่งน้ำ และการกระจายน้ำถึงแปลงนาเกือบทุกแปลงที่อยู่ใต้น้ำได้กว่า 10,000 ไร่หรือเกือบ 50% ของจำนวนพื้นที่ทั้งหมดที่ทำหน้าของตำบลคือประมาณ 20,000 ไร่

  1. ภายใต้การนำของกำนันได้รวบรวมผู้นำทั้ง 12 หมู่บ้านเป็นคณะกรรมการเพื่อร่วมกันทวงพื้นป่าที่เกิดจากการบุกรุกของคนนอกเข้ามาใช้ ทำมาหากิน ด้วยสันติวิธิ์โดยการใช้การเจรจาต่อรองเพื่อนำพื้นที่เหล่านั้นมาเริ่มการปลูกตันไม้โตเร็ว (ยูคา) แซมปาชุมชนที่เป็นป่าดั้งเดิมของตำบล
  2. ช่วงที่สองเมื่อได้ปาชุมชนเป็นพื้นที่ใหญ่มากขึ้นจากการปลูกป่แซมแล้ว ภายใต้การนำของกำนันได้ริเริ่มขุดคลองรอบพื้นป่าชุมชนทั้งหมดเพื่อใช้ป้องกันไฟไม่ให้ลามจากภายนอกป่าชุมชนเข้ามาในบริเวณป่าชุมชน ผลพลอยได้โดยบังเอิญจึงได้เกิดขึ้นถึงสี่ห้าประการดังนี้
    1) เกิดแหล่งน้ำที่เกิดจากการคายน้ำของระบบรากของต้นไม้ทั้งหมดในเขตป่าที่อุดมสมบูรณ์จึงทำให้น้ำจากบริเวณป่าทั้งหมดมาพักอยู่ในคลองรอบป่าชุมชนนั่นเอง
    2) ข้างคลองจึงกลายเป็นถนนวิ่งรอบป่าใช้เพื่อการลาดตระเวนขนผลิตภัณฑ์และการลาดตระเวนต่างๆ รอบป่าชุมชน
    3) เป็นการป้องกันน้ำไหลลงมาท่วมหมู่บ้านซึ่งอยู่ต่ำลงมาควบคู่การเป็นแหล่งพักน้ำและเก็บชะลอ น้ำสร้างแรงดันเพื่อส่งน้ำมาใช้ในหมู่บ้านและแปลงนาในช่วงฤดูแล้งต่อไปนั่นเอง
  1. ช่วงที่สาม คือ การเริ่มค้นหาที่ราบลุ่มต่ำลงมาจากบริเวณป่าซึ่งเป็นที่โล่งเพื่อขุดลอกเป็นอ่างน้ำขนาดใหญ่รับน้ำจากบริเวณป่าได้และสามารถต่อท่อหรือส่งน้ำออกไปจากแหล่งน้ำเหล่านั้น เชื่อมต่อกับห้วยหนอง คลอง บึง ตลอดจนขุดท่อแป๊ปพีวีซีเพื่อส่งน้ำลงใต้ดินผ่านระบบท่อถึงแปลงนาที่อยู่ต่ำลงไปอีกด้วยระบบกาลักน้ำด้วยการใช้แรงดันของน้ำจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำต่อไปเรื่อยๆ นั่นเอง ซึ่งกระจายน้ำออกไปสามระบบ สามช่องทาง เช่น ใช้ฝ่ายน้ำล้น ใช้การขุดท่อฝังดินผ่านใต้ถนนไปสู่แปลงนาที่อยู่ต่ำลงไป และถ้าแรงดันน้ำไปไม่ถึงก็ใช้ระบบการสูบน้ำด้วยเครื่องยนต์ดึงน้ำลงไปสู่แหล่งน้ำที่ต่ำลงไปเรื่อยๆ จากคลองจากห้วยหนองคลองบึงที่เป็นแหล่งน้ำและมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ และทำการขุดลอกหนอง คลอง บึง ตลอดจนขุดบ่อพักน้ำขนาดย่อมในที่ทางน้ำผ่านเปิดสร้างแหล่งส่งน้ำให้กระจายอยู่จากอ่างน้ำใหญ่ ในช่วงที่สามต่อเนื่องกันเพื่อให้น้ำไหลลงไปสู่แปลงนาของเกษตรกรที่อยู่ท้ายน้ำให้ได้มากที่สุดในทุกทุกแปลง ระบบ push รอบและขุดใหม่ของห้วยหนอง คลอง บึง จึงกลายเป็นที่พักน้ำเพื่อส่งน้ำเข้าไปอยู่ใกล้แปลงนาของสมาชิกในที่บริเวณที่ต่ำลงไปจากอ่างใหญ่นั่นเอง อันถือเป็นช่วงที่สี่ของการจัดการน้ำของชาวบ้านที่นี่
  2. ช่วงที่สี่ดังกล่าว คือ การขุดลอกหนองคลองบึงตลอดจนการขุดใหม่เพื่อให้เกิดสัตว์น้ำหรือบ่อน้ำขนาดย่อม กระจายตัวอยู่รอบอ่างใหญ่ในบริเวณที่ต่ำลงมาจากอ่างใหญ่เพื่อให้น้ำจากอ่างใหญ่ไหลลงมาพักอยู่ในห้วย หนอง คลอง บึงและสัตว์ย่อยเหล่านั้นนั่นเอง

ข้อสรุปการขยับเขยื้อนและขยายผลในช่วงระยะที่สี่
ของวิถีชีวิตป่าชุมชนตำบลเชื้อเพลิง (ป่าตาเกาว์) จังหวัดสุรินทร์
จากการระดมความเห็นจากความรู้ที่เกิดในสามช่วงแรก


แบ่งเป็นสองระดับ คือ ในระดับตำบลเชื้อเพลิงภายในกันเอง และระดับที่สองคือการขยายผลสู่การร่วมมือกันในรูปน้ำย่อยของลุ่มน้ำห้วยเสนงซึ่งเป็นอ่างน้ำและสายน้ำหลักหรือเป็นลุ่มน้ำหลักของจังหวัดสุรินทร์เพื่อขยายผลไปสู่ 10 ตำบลที่อยู่สองเส้นทางของลุ่มน้ำห้วยเสนงนั่นเอง

ระดับที่หนึ่งในตำบลเชื้อเพลิง

  1. โดยการเรียนรู้ว่าเมื่ออ่างใหญ่เก็บน้ำได้ในระดับสูงที่พอเพียงตลอดทั้ง 12 เดือนแล้วจนสามารถสร้างแรงดันน้ำให้ไปถึงระบบท่อที่มุดใต้ดินไปทั่วทุกแปลงนาที่ปลายน้ำและเริ่มคันพบว่าระบบท่อสามารถทำให้น้ำไม่ไหลซึมลงดินควบคู่กับไม่ต้องเผชิญต่อปัญหากรรมสิทธิ์บนผิวดินและทำให้น้ำไหลผ่านท่อและมีแรงดันที่เพิ่มขึ้นเมื่อเปิดออกจากแปลงนาใครเป็นหน้าระบบท่อจึงเป็นความหวังที่คณะกรรมการทั้งตำบลจะใช้ความพยายามในช่วงต่อไปเพื่อทำให้น้ำส่งไปถึงทุกหมู่บ้านโดยเฉพาะหมู่บ้านที่อยู่บนเนินและต้องใช้เครื่องสูบน้ำด้วยน้ำมันหรือไฟฟ้เพื่อดึงน้ำขึ้นไปในแปลงนาของทุกแปลงสมาชิกของแต่ละหมู่บ้านซึ่งยังเหลืออีกสามหมู่บ้านและหมู่บ้านเหล่านี้มักจะมีคนยากจนอยู่ค่อนข้างชัดเจนอันได้แก่หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 12
  2. ปันความรู้ที่เกิดจากบทเรียนในรอบ 30 ปีโดยเฉพาะเรื่องการจัดการน้ำในรอบห้าปีที่ผ่านมาให้เป็นประสบการณ์ขยายผลไปสู่การจัดกระบวนการหลักสูตรท้องถิ่นร่วมกับหน่วยงานการศึกษาที่อยู่ในตำบลซึ่งมีทั้งโรงเรียนมัธยมและโรงเรียนประถมเพื่อจัดทำสื่อและโซเชียลมีเดียส่งเสริมให้เยาวชนในทั้งห้าโรงเรียน ได้มีโอกาสสร้งกระบวนการเรียนรู้แลร่วมการปฏิบัติการกับคณะกรรมการและ
    ผู้ใหญ่บ้านแต่ละหมู่บ้านของตนเองทั้ง 12 หมู่บ้านควบคู่ การใช้เป็นคะแนนวัดผลในการเรียนรู้หลักสูตรท้องถิ่นอันเกิดจากการที่เด็กและเยาวชนทั้งหมดร่วมปฏิบัติการในภาคสนามอย่างจริงจัง
  3. วิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ควบคู่กับวิกฤติกรณ์น้ำแล้งในช่วงเดือนเมษาที่ผ่านมาได้คันพบว่าหมู่เจ็ดสามารถมีน้ำปลูกผัก ปลูกข้าวโพด และทำให้การปิดหมู่บ้านในช่วงโควิดไม่ได้สร้างผลกระทบต่อการดำรงวิถีชีวิตของหมูเจ็ดอันทำให้เกิดองค์ความรู้ว่าเมื่อจัดการน้ำให้เกิดการเพียงพอในหมู่ข้านได้ทุกแปลงแล้วชาวข้านจะสามารถอยู่รอดได้ด้วยการทำอยู่ทำกินกันตลอดทั้งปี ผู้อำนวยการ รพ.สต.ของตำบลเชื้อเพลิง จึงเป็นหนึ่งในคณะแกนนำของตำบลเชื้อเพลิงในการจัดการน้ำที่ผ่านมาจึงได้นำผังน้ำของทั้งตำบลจากประสบการณ์ที่จัดการสำเร็จมาในพื้นที่ 10,000 กว่าไร่ ได้ไปนำเสนอที่จังหวัดสุรินทร์เพื่อให้มีการจัดการน้ำตามผังภูมินิเวศน์ของแต่ละตำบลในลุ่มน้ำห้วยเสนง ที่ใช้น้ำร่วมกันในอ่างน้ำห้วยเสนงซึ่งเป็นอ่างน้ำหัวใจของจังหวัดสุรินทร์ให้พอเพียงตลอดปีและสามารถส่งน้ำไปถึงแปลงนทั้ง 10 ตำบลรายรอบข้างซ้ายและขวาของลุ่มน้ำห้วยเสนง 10 ตำบลได้
    จัดทำแผนและผังการจัดการน้ำของแต่ละตำบลเชื่อมโยงกันทั้ง 10 ตำบลโดยเรียนรู้และขยายผลจากตำบลเชื้อเพลิงมายังอ่างห้วยเสนงให้มีน้ำเต็มและใช้ได้ทั้ง 12 เดือน ในปี 2564 เป็นปีที่มีเป้าหมายร่วมกันต่ออ่างน้ำห้วยเสนงและมีเป้าหมายร่วมกันที่จะสร้างความมั่นคงจากการใช้น้ำให้เกิดความมั่นคงในอาหารและเป็นอาหารที่มีสุขภาพคือปลอดสารเคมี อันจะทำให้ชาวสุรินทร์ในลุ่มน้ำห้วยเสนง มีคุณภาพชีวิตและรายได้ที่เพิ่มมากขึ้นในปี 2564 เป็นต้นไป

เป็นที่คาดว่าจะนำน้ำดังกล่าวไปทำให้เกิดแปลงผัก แปลงนาข้าวรอบโรงเรียนที่มีน้ำใช้จากอ่างห้วยเสนงอันจะทำให้เกิดโครงการอาหารกลางวัน ป้อนอาหารให้กับเด็กนักเรียนที่อยู่ในบริเวณลุ่มน้ำหัวยเสนงทุกโรงเรียนต่อไปในอนาคต

  1. ช่วงที่ห้า คือ การสร้างระบบท่อน้ำใต้ดินผ่านแปลงนาของสมาชิกเพิ่ม ไมให้เสียที่ทำกินเพื่อให้แต่ละแปลงมีน้ำเข้าถึงนาด้วยการนำน้ำที่อยู่ใต้ดินโผล่ขึ้นมาที่ผิวดินในแต่ละแปลงของสมาชิก และน้ำจากห้วย หนอง คลอง บึงหรือสระย่อยพักน้ำ ซึ่งอยู่สูงกว่าก็จะสร้างแรงดัน ดันน้ำให้ทะลุมายังแปลงนาของสมาชิกทุกแปลงที่จะเอาน้ำเข้านาโดยตรงหรือสร้างสระประจำแปลงย่อยของแต่ละครัวเรือนเป็นสระประจำครัวเรือนซึ่งเป็นสระ/บ่อสุดท้ายนั่นเองที่จะเก็บน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้งของตนเองเชื่อมโยงกับอ่างใหญ่ที่อยู่บนที่สูงรอบบำาชุมชน ซึ่งชาวบ้านได้ช่วยกันระดมขุดอ่างใหญ่ที่อยู่รอบบริเวณป่าชุมชนจากอ่างเดียวเป็นอ่างที่สองและอ่างที่สามกระจายออกไปยังทุกหมู่บ้าน 12 หมู่บ้านรอบป่าชุมชนนั่นเอง
  1. ช่วงที่หกในปัจจุบันในสมาชิกเกษตรกรที่เริ่มมีน้ำในสระของครัวเรือนของตนเองในแปลงนาจะเริ่มปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงปลา และทำการเกษตรแบบไร่นาส่วนผสมอันจะทำให้เป็นการเพิ่มรายได้และกระจายรายได้หลายทางและมีทั้งปีมากขึ้นจากการมีน้ำใช้ตลอด 12 เดือนนั่นเอง ยังทำให้เกิดน้ำตันทุนที่เกิดจากระบบรากของตันไม้ในปัาชุมชนดังกล่วนำมาซึ่งอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่รอบป่าชุมชนถึงสามอ่างเป็นจำนวนหลาย 1,000,000 ลูกบาศก์เมตรและทำให้น้ำมีครบตลอดทั้ง 12 เดือน และสามารถสร้างแรงกดดันของน้ำให้เกิดระบบกาลักน้ำ ส่งและกระจายน้ำลงสู่พื้นที่ต่ำลงไปเรื่อยเรื่อยจนเช้าสู่แปลงนารอบอ่างใหญ่และส่งน้ำและจ่ายน้ำจากอ่างเหล่านี้เช้าสู่ห้วย หนอง คลอง บึง และสระย่อยต่างๆ มากกว่า 50 บ่อขนาดย่อยรอบอ่างใหญ่สามทางดังกล่าวแล้ว ต่อด้วยระบบท่อแปีปกระจายลงสู่แปลงนาของเกษตรกรได้ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 12 หมู่ บ้านได้ถึงจำนวนประมาณ 10,000 ไร่ (ประมาณครึ่งหนึ่งของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมดของตำบลคือประมาณ 20,000 ไร่)

สรุปสาระสำคัญ ” วิสัยทัศน์ย่อย และความรู้ที่คณะกรรมการค้นพบและขับเคลื่อนขยายผลความรู้แต่ละ
ช่วง เข้าสู่ช่วงต่อไปในการตัดการตันน้ำแบบบูรณาการ แหล่งน้ำ+ งบ/หน่วยงาน+ภูมินิเวศน์แต่ละแปลง
แต่ละหมู่บ้าน เพื่อให้ได้น้ำที่แปลงนาท้ายน้ำทุกแปลงทั้งปีและทุกหมู่บ้าน/ หลังคาเรือน

ช่วงที่ 1 : กรขอคืนพื้นที่ป่าจากผู้บุกรุกป่เพื่อปลูกป่าอยู่คาลิปตัสเพิ่มเติมและทำคลองน้ำรอบป่า เพื่อเป็นการทำแนวกันไฟและทำถนนลาดตระเวรรอบเขตป่า
1) ค้นพบสิ่งสำคัญที่เกี่ยวกับน้ำ คือ “คน” พบว่าคลองที่ขุดรอบพื้นป่าเพื่อเป็นแนวป้องกันไฟป่าและทำเป็นถนนลาดตระเวนรอบเขตบ้านได้เกิดมีน้ำเต็มคลองรอบป่าตลอดทั้งปี จึงใช้ความพยายามในช่วงต่อไปที่จะนำน้ำที่ได้รอบป่ามาเติมน้ำในอ่างน้ำใหญ่ที่เป็นที่ทำเลต่ำลงไปในหมู่บ้านถัดจากป่าชุมชน 3,900 ไร่
2) พื้นที่ทำเลในอดีตเป็นที่เลี้ยงสัตว์และเป็นทุ่งหญ้าเริ่มสังเกตว่าน้ำท่วมขังเป็นส่วนใหญ่จึงได้ เริ่มทำการขุดลอกที่ทำเลเหล่านั้นเพื่อทำเป็นอ่างรับน้ำที่ไหลต่อมาจากคลองรอบป่าชุมชนเป็นพื้นที่อ่างน้ำขนาดใหญ่ที่อ่างแรกของตำบลแล้วพบว่าอ่างน้ำขนาดใหญ่นี้สามารถเก็บน้ำได้ตลอดปีและสร้างแรงดันล้นจากฝ่ายและเมื่อทดลองต่อท่อหรือเชื่อมโยงกับกรองน้ำก็ไหลไปสู่ที่ต่ำกว่าด้วยแรงดันของน้ำเองจึงเกิดความคิดที่จะกระจายน้ำและเชื่อมน้ำเข้ากับคลองหนอง บึง ตามธรรมชาติควบคู่การขุดลอกและคิดต่อในเรื่องระบบท่อในที่ที่เป็นแปลงที่เจ้าของนาไม่อยากให้เสียที่นาทำกินจึงใช้ระบบท่อขุดใต้ดินลงไปแล้วคำนวณความสูงเผื่อตลอดจนแรงกดดันของน้ำเพื่อส่งน้ำให้ถึงแปลงนาทุกแปลงใต้อ่างน้ำใหญ่ดังกล่าว

ช่วงที่ 2 : การขยายผลและเริ่มค้นพบการจัดการน้ำเชื่อมโยงน้ำผิวดินทั้งระบบ ด้วยระบบกาลักน้ำเชื่อมโยงจากบำาชุมชนที่สร้างน้ำรอบคลองที่ล้อมรอบป่าชุมชนและมาตั้งพักเก็บในอ่างน้ำขนาดใหญ่เพื่อได้ปริมาณน้ำครบทั้ง 12 เดือน และมีแรงกดดันของน้ำซึ่งเพราะอยู่บนที่สูงให้เชื่อมโยงเข้าสู่หนอง คลอง บึง น้ำก็จะกระจายจากอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ไปสู่โครงข่ายการส่งน้ำกระจายออกไปจากผังน้ำผ่านคลอง หนอง บึงตลอดจนได้พบว่าที่ต้องใช้ท่อลอดใต้ถนนลอดใต้ที่ดินของบุคคลตลอดจนลากขึ้นที่สูงแล้วใช้การสูบน้ำด้วยน้ำมันหรือไฟฟ้าด้วยระบบท่อจะทำให้เกิดการกระจายน้ำ จากที่พักไว้อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เข้าถึงแปลงนาทุกแปลงด้วยแรงดันของน้ำนั่นเอง จึงได้ขยายอ่างน้ำจากหนึ่งเป็นสามอ่างน้ำขนาดใหญ่ควบคู่การจัดระบบส่งน้ำและกระจายน้ำด้วยระบบท่อทั้งด้วยท่อแป๊ปขนาด 6 นิ้ว ท่อพีวีซีและท่อพีอี ซึ่งเป็นท่ออ่อนตลอดจนใช้เครื่องสูบน้ำใช้น้ำมันเขาช่วยดึงน้ำขึ้นแปลงนาที่เป็นที่สูงกว่า

ช่วงที่สองดังกล่าวจึงเป็นการจัดการน้ำผิวดินด้วยการเชื่อมโยงระบบอ่างเข้าสู่ระบบการส่งน้ำและจ่ายน้ำเข้าสู่แปลงน ด้วยแรงดันของน้ำจากแรงดึงดูดของโลกและการเชื่อมโยงคนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาจัดการน้ำทั้งระบบนั่นเอง

นอกจากนั้นยังพบว่า ด้วยการใช้ท่อทั้งชนิดแข็งและชนิดอ่อนกระจายน้ำเข้าไปถึงแปลงนาของเกษตรกรทุกแปลง ได้ผลกว่าการใช้ระบบท่อไม่มีการสูญเสียของน้ำที่ลงไปใต้ดินและยังได้แรงดันของน้ำเพิ่มขึ้นเพราะน้ำผ่านพื้นที่เล็กลงด้วยท่อเส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 6 นิ้วทำให้น้ำเกิดแรงดันจากการถูกบีบในที่แคบควบคู่การนำการสูบน้ำขึ้นมาใช้ก่อนนี้แปลงนาบางแห่งของสมาชิกบางแปลงในบางหมู่บ้านอยู่บนที่สูงและน้ำมีแรงดันขึ้นไม่ถึง ด้วยความรู้ทั้งหมดดังกล่าวจากระบบท่อจึงทำให้คณะกรรมการมีแรงบันดาลใจที่จะทำให้
ระบบน้ำของตำบลเชื้อเพลิงเชื่อมโยงกันทั้งตำบลครอบคลุมทุกหมู่ข้านและทุกแปลงของสมาชิกโดยเฉพาะในแปลงที่น้ำยังส่งไปไม่ถึงซึ่งจะเป็นเป้าหมายและแรงบันดาลใจในการทำงานระยะช่วงที่สามต่อไป

ช่วงที่ 3 : คือการจัดการกระจายน้ำเข้าสู่แปลงนาของสมาชิกเกษตรกรในตำบลที่อยู่ใต้และอยู่ลอด ระบบน้ำทั้งสามระบบโดยเฉพาะน้ำไหลลงไปเรื่อยๆ ให้เกิดการปั่นน้ำอย่างทั่วถึงและครอบคลุมตลอดจนรู้จักการมีกติกาในการรักษาน้ำและใช้น้ำอย่างประหยัดในช่วงหน้าแล้งหรือช่วงที่ฝนทิ้งช่วงควบคู่กันไป ควบคู่การใช้วิธีคิดใหม่ในการเปลี่ยนจากอ่างเก็บน้ำเป็นอ่างกระจายน้ำและสร้างระบบท่อให้ขยายจาก คลอง บึง รอบอ่างที่อยู่ต่ำลงมาเป็นระบบส่งน้ำให้เข้าถึงทุกแปลงด้วยท่อที่ต่อไปเรื่อยๆ เป็นการบริหารการจัดการให้เกิด
ประโยชน์จากน้ำที่ได้มานั้นเอง
พร้อมกันนี้สมาชิกที่มีน้ำใช้ของครัวเรือนหรือของแปลงนาของตนเองจะเริ่มทำการผลิตที่เปลี่ยนแปลง จากการปลูกข้าวอย่างเดียว จึงค้นพบว่าจะมีการเริ่มปลูกผัก เลี้ยงปลา และปลูกไม้ผลเพื่อนำมาให้กินและขายในบริเวณใกล้เคียงกับญาติพี่น้อง และหมู่ที่ 7 ค้นพบว่าในช่วงหน้าแล้งและในช่วงวิกฤติโควิดน้ำที่อยู่เต็มพื้นที่ในหมู่ที่ 7 และตลอด 12 เดือนกลายเป็นฐานที่สร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับชาวบ้านในช่วงวิกฤติดังกล่าว ทั้งสองวิกฤตจึงมีแรงบันดาลใจและความรู้ที่จะจัดการทั้งน้ำทั้งตำบลเชื้อเพลิงให้เชื่อมโยงกับตำบลข้างเคียงเพื่อขยายผลการใช้น้ำที่เกิดประโยชน์ดังกล่าวโดยเฉพาะไปสู่ลุ่มน้ำที่เป็นหัวใจของจังหวัดสุรินทร์คือลุ่มน้ำห้วยเสนง

จากองค์ความรู้ที่ได้จากหมู่ที่ 7 ในเรื่องความมั่นคงของอาหารที่ได้จากแหล่งน้ำที่มีความมั่นคงทั้ง 12 เดือนและเป็นความมั่นคงทางอาหารที่มีคุณภาพเพราะไม่ใช้สารเคมีและตอบโจทย์ในเรื่องวิถีชีวิตที่จะอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขเมื่อมีน้ำเป็นเครื่องประกันในภูมินิเวศน์ย่อยของแต่ละหมู่บ้าน

ผลกระทบทางเศรษฐกิจครัวเรือนและเศรษฐกิจท้องถิ่นในชุมชนตลอดจนสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปจากการลดการใช้สารเคมีล้วนเป็นองค์ความรู้ที่จะต้องนำมาหาผลกระทบในเชิงตัวเลขเปรียบเทียบในสามปีข้างหน้าเมื่อใช้น้ำเต็มรูปและเต็มหมู่บ้านมากขึ้นตลอดจนเป็นทั้งตำบล

องค์ความรู้ในเรื่องความมั่นคงทางอาหารได้นำมาขยายผลสร้างความร่วมมือกับโรงเรียนในตำบลเชื้อเพลิงทั้งโรงเรียนประถมและโรงเรียนมัธยมหาโรงเรียนเพื่อให้มีการจัดการอาหารกลางวันของเด็กนักเรียนในห้าโรงเรียนด้วยผลผลิตที่เกิดจากน้ำและการมีส่วนร่วมของคณะครูและนักเรียนกันเองอันจะเป็นหลักสูตรท้องถิ่นในอนาคตที่เด็กและครูต้องรวมกับผู้ปกครองลงมือทำการผลิตอาหารรอบแหล่งน้ำของโรงเรียนและนำมาแปรรูปเป็นอาหารที่มีคุณภาพให้กับเด็กนักเรียนในช่วงอาหารกลางวันแต่ละโรงเรียนต่อไป

องค์ความรู้การจัดการน้ำเพื่อความมั่นคงทางอาหารและความสุขในวิถีชีวิตของหมู่ที่ 7 ได้ถูกขยายทั้งตำบลในช่วงระยะต่อไปของตำบลเชื้อเพลิงควบคู่กับนำผังการจัดการน้ำด้วยระบบเชื่อมโยงที่เป็นความรู้ในภาพรวมกินได้ถูกนำเสนอผ่านคณะกรรมการจัดการน้ำของจังหวัดเพื่อเชื่อมโยง 10 ตำบลในห้วยเสนงยิ่งเป็นห้วยใหญ่ของจังหวัดให้ทดลองทำเป็นต้นแบบของลุ่มน้ำห้วยเสนงทั้งสองด้านของลุ่มน้ำคือด้านซ้ายและด้านขวาทั้ง 10 ตำบลตามองค์ความรู้และประสบการณ์ของตำบลเชื้อเพลิง

หมายเหตุ : การจัดการถอดองค์ความรู้ของป่าชุมชนตำบลเชื้อเพลิง (ป่าตาเกาว์) และการจัดทำสื่อประสมทุกชนิดและการทำสื่อโซเชียลมีเดียลงในมือถือตลอดจนการทำเครื่องมือสมัยใหม่ทางเทคโนโลยีด้วยแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศแผนที่ GPS ตลอดจนผู้รู้/แหล่งดูงานในพื้นที่ที่ตำบลเชื้อเพลิง จึงเป็นข้อผูกพันของสถาบันลูกโลกสีเขียวที่จะทำให้การจัดการความรู้ ทั้งนี้มีผลประโยชน์อย่างน้อยในระดับลุ่มน้ำของลุ่มน้ำห้วยเสนงของจังหวัดสุรินทร์ซึ่งอาจจะเป็นการขยายไปสู่จังหวัดข้างเคียงในอีสานใต้ครบทั้งสามสี่จังหวัดในอนาคตช่วงสองสามปีข้างหน้าเพราะเรื่องน้ำเป็นเรื่องใหญ่ของทางอีสานใต้และทั้งภาคอีสาน งล้วนมีลักษณะเป็นโคกหนองนา ด้วยระบบแลนสเคปที่เป็นที่สูงแล้วน้ำไหลลงต่ำไปสู่ลุ่มน้ำชี น้ำมูลนั่นเอง เหมือนกันในระดับภาพรวมของทั้งภาคอีสาน

ยิ่งถ้าเชื่อมโยงเข้ากับองค์ความรู้และประสบกรณ์การบริหารจัดการน้ำใต้ดินขึ้นสู่ผิวดินด้วยระบบธนาคารน้ำใต้ดินที่จังหวัดอุบลราชธานีและการใช้เทคโนโลยีโซล่าเซลล์นำน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้ที่ผิวดินด้วยทฤษฎีน้ำทองคำที่จังหวัดบุรีรัมย์จะทำให้การจัดการน้ำในภาคอีสานในอนาคตมีรูปแบบที่ชาวบ้านทำได้เองและใช้งบไม่มากตลอดจนสามารถเก็บน้ำต้นทุนได้ครบทั้ง 12 เดือน จะนำไปสู่การเปลี่ยนโฉมหน้าของการผลิตในภาคอีสานและสร้างเศรษฐกิจชุมชนครัวเรือนแบบพอเพียงควบคู่การอยู่ร่วมกับวิกฤตการณ์ความแห้งแล้งและการเตรียมตัวปิดบ้านและปิดเมืองเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิดที่ยังคาดว่าจะมีการระบาดไปอีกอย่างน้อยหนึ่งถึงสองและสามปีข้างหน้า

ยุทธวิธี KM แบบประขาชนมีส่วนร่วมบทเรียน จาก ป่าชุมชนตาเกาว์ จังหวัดสุรินทร์

1) ใช้การทำ AAR และการสังเคราะห์ข้อมูลทันทีเพื่อนำมาคืนข้อมูลให้ชาวบ้าน เรียนรู้ จัดระบบข้อมูลและปรับปรุงข้อมูลที่คืนให้ถูกต้องเพื่อนำมาพัฒนาเป็นสื่อประสม เช่น แผนที่ แผนผัง time line /mind map สื่อใน social media ที่ชาวบ้านและผู้เกี่ยวข้องในชุมชนท้องถิ่นนำไปใช้ได้อย่างรวดเร็วและสด/ เข้าใจง่ายๆ
2) การคืนข้อมูลที่ให้ชุมชนท้องถิ่นมองเห็นจังหวะก้าวตนเองในอนาคตตนเองจากเวทีคืนข้อมูลทันทีคือเป้าหมายร่วมกัน
3) แต่ละฝ่ายทั้งชุมชนและสถาบันผูกพันในห่วงโซ่ของกิจกรรมในจังหวะก้าวข้างหน้าเพื่อสร้างความมั่นใจที่จะใช้ความรู้ที่ได้นำมาขับเคลื่อนและปรับปรุงตนเองจากความรู้และเป็นประเด็นที่เห็นจังหวะก้าวในอนาคตร่วมกัน (ทั้งฝ่ายชาวบ้าน : demand side และฝ่ายสถาบัน/ เจ้าหน้าที่& กรรมการ :supply side)
4) นี้คือกระบวนการ (earning by doins ของชาวบ้านและ on the job trainins ของเจ้าหน้าที่และกรรมการของสถาบันลูกโลกสีเขียวในอนาคต

Share Post :
Scroll to Top