[ebook] สานฝัน ตั้งมั่นต่อไป สานต่อความคิด บัณฑร อ่อนดำ

Share Post :
 

          ในโอกาสวันคล้ายวันเกิดอายุครบ 7 รอบ 84 ปี ของอาจารย์บัณฑร อ่อนดำ เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2562 กัลยาณมิตรภาคส่วนต่างๆ ที่เคยทำงานร่วมกับอาจารย์ จำนวน 14 องค์กร ได้ปรึกษาหารือและร่วมกันจัดงาน “สานต่อความคิด มุทิตาจิต 84 ปี บัณฑร อ่อนดำ” ในวันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน 2562 ณ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) เพื่อร่วมแสดงมุทิตาจิต ตลอดจนได้ร่วมพบปะ นักคิด นักพัฒนาอาวุโสท่านอื่นๆ ที่มี คุณูปการกับสังคมไทย ซึ่งคณะทำงานฯ ได้เรียนเชิญเข้าร่วมงานด้วยในครั้งนี้ โต๋ยคาดหวังจะให้เป็นงานสำคัญที่เหล่าเพื่อนพ้องน้องพี่ ครู นักวิชาการ นักคิด นักพัฒนา ได้ถือโอกาสมาร่วมพบปะ แลกเปลี่ยนสืบสานความคิด และยังเป็นการรวมพลังที่สำคัญ ของขบวนงานพัฒนาภาคประชาสังคมอีกด้วย โดยมีรูปแบบงาน ประกอบด้วย (1) นิทรรศการประวัติชีวิตและผลงานของอาจารย์บัณฑร อ่อนดำ การแสดงทัศนะมุมมองต่ออาจารย์
(2) การแสดงมุทิตาจิต และ (3) เวทีวิชาการเกี่ยวกับสถานการณ์สังคมไทยและความท้าทายใหม่ๆ ในงานพัฒนา และ (4) ซุ้มอาหารจากองค์กรร่วมจัด

          คณะทำงาน ๆ เห็นพ้องร่วมกันว่า ในโอกาสครบรอบ 84 ปี อาจารย์บัณฑร อ่อนดำ นอกจากการแสดงมุทิตาจิต พบปะแลกเปลี่ยนในวันงานแล้ว ยังเห็นควรให้มีการจัดพิมพ์หนังสือเล่มในชื่อ “สานฝัน ตั้งมั่นต่อไป” เพื่อเป็นที่ระลึกและเป็นเกียรติกับอาจารย์บัณฑร อ่อนดำ ในช่วงปัจฉิมวัย ผู้มีความดี ความจริง และความงาม โดยการรวบรวม เรียบเรียงผลงานของอาจารย์ที่ผ่านมา การสะท้อนแนวคิดและมุมมองเกี่ยวกับชีวิตการทำงานของอาจารย์บัณฑร ผ่านมุมมองของผู้ที่รู้จัก ในมิติด้านการทำงานกับคนจนเมือง /ชนบท และงานอบรมผู้นำกับการพัฒนา เพื่อเป็นชุดหนังสือรวมความคิดทางสังคมวิทยาการพัฒนาต่อไป

          เนื้อหาสาระของหนังสือแบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกนำเสนอแนวคิดและมุมมองเกี่ยวกับชีวิตการทำงานของอาจารย์บัณฑร ผ่านมุมมองคนรู้จัก โดยแบ่งเป็น

          (1) ด้านการทำงานกับคนจนเมือง /ชนบท ประกอบด้วย

               1) ข้อเขียนของสมพษ์ พัดปุย “บัณฑร อ่อนดำ ผู้ยื่นหยัดจุดประกายสร้างความเข้มแข็งภาคประชาชน ก้าวพ้น Process มุ่งสู่ Movement” ได้นำเสนอแนวคิดของอาจารย์บัณฑรในการปลูกฝังให้เอ็นจี๋โอและแกนนำภาคประชาชนให้ก้าวข้ามกับดักกิจกรรมสนองหน่วยงานราชการ โดยภาคประชาชนต้องพัฒนา กระบวนการนำสู่ ขบวนการ (Movement) นั้นนับเป็นยุทธศาสตร์ที่ถูกต้อง โดยผู้ปฏิบัติต้องปรับให้สอดคล้องกับบริบทใหม่ โดยคำนึงถึงสามตัวแปร ได้แก่ สถานการณ์ทงสังคม บุคลากรผู้ปฏิบัติ รวมทั้งนโยบายและการสนับสนุนจากภาครัฐ จึงจะสามารถนำพาขบวนการภาคประชาชนบรรลุสู่ความสำเร็จได้      

              2) ข้อเขียนของจรินทร์ บุญมัธยะ “อาจารย์นักพัฒนาผู้เปี่ยมวิทยายุทธ์” นำเสนอให้เห็นเส้นทางชีวิตของอาจารย์บัณฑร อ่อนดำ เริ่มตั้งแต่ครอบครั่ว ชีวิตในวัยเยาว์ การศึกษาอุดมการณ์และความมุ่งมั่น บทบาทของนักวิชาการและนักพัฒนาที่เอื้อประโยชน์ต่อคนยากจนและผู้เสี่ยเปรียบในสังคม การเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่ม/องค์กรภาคประชาชนทั้งภาคเมืองและชนบท จนขยายเป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในรูปของ “สมัชชาคนจน” และ

              3) “การร่วมทำงานและสิ่งที่ได้เรียนรู้จากอาจารย์บัณฑร อ่อนดำ” โดย ศ.ดร.ประยงค์ เนตยารักษ์ ได้นำเสนอ “การเรียนรู้จากการทำ” อันเป็นประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้จากการทำงานกับอาจารย์บัณฑร อ่อนดำ ในโครงการพัฒนาชนบทลุ่มน้ำแม่กลอง ซึ่งเป็นการดำเนินงานร่วมกันระหว่าง 3 มหาวิทยาลัย คือ ธรรมศาสตร์ มหิดล และเกษตรศาสตร์ และจากโครงการวิจัยเรื่อง วิวัฒนาการการบุกเบิกที่ดินทำกินในเขตป่าในภาคตะวัน
ออกเฉียงเหนือ

           (2) ด้านงานอบรมผู้นำกับการพัฒนา นำเสนอโดย ผศ.ดร.จิตติมงคลชัยอรัญญา คณบดี วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป่วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เคยร่วมงานกับอาจารย์บัณฑร มาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะงานฝึกอบรมได้เสนอบทความ “อาจารย์บัณฑร…อาจารย์ของวิทยากรมืออาชีพ” ได้วิเคราะห์การทำงานของอาจารย์บัณฑร ในการสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงและนักฝึกอบรมให้เป็นผู้เอื้ออำนวยกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง โดยชี้ให้เห็นว่าการฝึกอบรมจ้ำเป็นต้องมีการออกแบบและการดำเนินงานอย่างมีระบบ มีฐานทางวิชาการ มีชั้นตอนและความยืดหยุ่น ให้ความสำคัญแก่คุณลักษณะและบริบทของกลุ่มเป้าหมาย และในระหว่างการฝึกอบรมต้องมีวิธีการและกระบวนการที่เหมาะสม มีการสรุป ทบทวนและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง อาจารย์บัณฑรได้จัดการฝึกอบรมที่สร้างพลัง แรงบันดาลใจ ก่อให้เกิดความรู้ ทัศนคติและทักษะที่นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง หลักสูตรที่สำคัญและได้รับการนำไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางคือ หลักสูตรการพัฒนาหรือการสร้างพลังกลุ่ม (How to strengthen (farmer) groups)

          ส่วนที่สอง เป็นการนำเสนอ “ทัศนะ/มุมมองต่ออาจารย์บัณฑร อ่อนดำ” จากผู้เข้าร่วมงานมุทิตาจิต “สานต่อความคิด มุทิตาจิต 84 ปี บัณฑร อ่อนดำ” และสรุปสาระสำคัญจาก เวทีวิชาการหัวข้อ “สถานการณ์สังคมไทย และ ความท้าทายใหม่ในงานพัฒนา”

         ส่วนที่สาม นำเสนอผลงานแปลของอาจารย์บัณฑร อ่อนดำ ร่วมกับ อาจารย์วิริยา น้อยวงศ์ นยางค์ เรื่อง “ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาชนบท :ประสบการณ์ของประเทศไทย (How to develop the small farming)” ซึ่งเป็นความปรารถนาของท่านอาจารย์บัณฑร ที่ต้องการตีพิมพ์หนังสือเล่มนี้อีกครั้ง ซึ่งสะท้อนความมุ่งหวังอย่างแน่วแน่ของอาจารย์บัณฑร ที่ “อยากเห็นองค์กรประชาชนที่แท้จริง ที่เป็นของประชาชน”

          ในการจัดพิมพ์ หนังสือ “สานฝัน ตั้งมั่นต่อไป” ครั้งนี้ คณะทำงาน ฯ ขอขอบคุณ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ที่ช่วยเป็นแกนกลางในการประสานงานภาคส่วนต่างๆ การสรุปบันทึกข้อมูลจากเวทีวิชาการที่จัดขึ้นในเวทีสานต่อความคิด มุทิตาจิต 84 ปี ตลอดจนสนับสนุนการจัดพิมพ์ หนังสือเล่มนี้ ให้สำเร็จได้ด้วยดี จึงขอมอบเป็นของขวัญวันเกิดให้กับอาจารย์ในโอกาสที่จะครบรอบอายุ 85 ปี ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2563 ซึ่งหวังว่าหนังสือนี้ จะมีคุณค่า ความหมาย สานต่อความคิด และสานฝัน แนวคิดทางสังคมวิทยาการพัฒนาผ่านชีวิต งาน ผ่านงานเขียน ซึ่งได้นำมารวบรวมในหนังสือเล่มนี้ที่จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานพัฒนาได้ศึกษาเรียนรู้ สามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้ในการทำงานพัฒนาต่อไป

คณะทำงาน
สานต่อความคิด มุทิตาจิต 84 ปี บัณฑร อ่อนดำ
ธันวาคม 2562

 

ดาวน์โหลดไฟล์ ebook หนังสือ สานฝัน ตั้งมั่นต่อไป สานต่อความคิด บัณฑร อ่อนดำ

 

ebook_SarnFaan_Buntoon
Share Post :
Scroll to Top