การวิจัยเรื่อง การประเมินความเสียหาย ผลกระทบและปรับตัวของชุมชนท้องถิ่นต่อภาวะโรคระบาด COVID 19

Share Post :

รายงานฉบับสมบูรณ์ การวิจัยเรื่อง การประเมินความเสียหาย ผลกระทบและปรับตัวของชุมชนท้องถิ่นต่อภาวะโรคระบาด COVID 19

โดย

ดร.กฤษฎา บุญชัยหัวหน้าโครงการวิจัย
ดร.จุฑาทิพย์ มณีพงษ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมกับการพัฒนา
นายปิโยรส ปานยงค์นักวิจัย
นางสาวภัทราพร เตโจเจ้าหน้าที่สนับสนุน
รศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่งที่ปรึกษา
นายวิฑูรย์ เลี่ยมจำรูญที่ปรึกษา
นางสุภา ใยเมืองที่ปรึกษา

เมื่อเกิดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่มีการระบาดใหญ่ (Pandemic) ไปทั่วโลก (ตามประกาศขององค์การอนามัยโลก, 11 มีนาคม 2563) รัฐบาลไทยประกาศ ข้อกำหนดแห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 1) ใช้ บังคับทั่วราชอาณาจักร ห้ามประชาชนเข้าไปในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการติดโรคโควิด-19 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และต่อมามีการสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว เช่น ห้างสรรพสินค้า การระงับการให้บริการของสถานบริการต่าง ๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล และในอีกหลายพื้นที่ การงดกิจกรรม อาทิ การแข่งขันกีฬา งานบันเทิง งานอบรมสัมมนา การแสดงสินค้า เป็นต้น ซึ่งส่งผลกับการดำเนินชีวิตของประชาชน ไดส้่งผลกระทบทุกมิติทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจเป็นวงกว้างอย่างชัดเจน และผู้ได้รับผลกระทบในวงกว้างในระยะเฉียบพลันน่าจะเป็นธุรกิจในเมือง อาทิ ธุรกิจการท่องเที่ยว, ธุรกิจค้าปลีก, และ ธุรกิจร้านอาหาร โดยเฉพาะธุรกิจรายย่อย ทั้งร้านอาหาร และ ร้านค้าปลีก สำนักงานสถิติแห่งชาติได้คาดการณ์ว่าในประเทศไทยมีจำนวนผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงอย่างฉับพลันถึงประมาณ 9.88ล้านคน ซึ่งเป็นกลุ่มแรงงานนอกระบบและแรงงานที่อยู่ในภาคบริการในร้านค้าและตลาด กลุ่มแรงงานผู้ได้รับค่าจ้างรายวันและกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ในขณะที่มาตรการช่วยเหลือและเยียวยาจากภาครัฐที่จะโอบอุ้มผู้ได้รับผลกระทบในขณะนี้รองรับแรงงานนอกระบบเพียงแค่ 3 ล้านคนเท่านั้น นอกจากนี้ยังไม่รวมถึงแรงงานในระบบที่ได้รับผลกระทบจากการเลิกจ้างหรือปรับอัตราการเงินเดือน1 และเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ เรื่อง มาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) ต่อเศรษฐกิจไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม ระยะที่ 2 ซึ่งรวมมาตรการดูแลและเยียวยา “ผู้ประกอบการ” ครอบคลุมมาตรการด้านสินเชื่อและการฝึกอบรมทักษะฝีมือมากยิ่งขึ้น

อ่านรายงานสรุปฉบับเต็มได้ที่ : https://www.ldi.or.th/wp-content/uploads/2020/11/Research_COVID.pdf

Share Post :
Scroll to Top