การประชุมเชิงปฏิบัติการ "กรอบเเนวทางศึกษาประเมินความต้องการหลังเกิดภัยพิบัติ" พายุโซนร้อนปาบึก PABUK

Share Post :

การประชุมเชิงปฏิบัติการ “กรอบแนวทางการศึกษาประเมินความต้องการหลังเกิดภัยพิบัติ”
(Post Disaster Needs Assessment: PDNA) พายุโซนร้อนปาบึก PABUK
วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 08.30-16.00 น.
ณ ห้อง E201 ชั้น 2 คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา

หลักการและเหตุผล

พื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช ปัตตานี สุราษฎร์ธานี ตรัง ระนอง กระบี่ ยะลา ประสบกับอุทกภัยจากอิทธิพลของพายุโซนร้อน “ปาบึก” ที่มีแหล่งก่าเนิดจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง ซึ่งได้ทวีก่าลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชัน ในวันที่ 31 ธ.ค. 2561 จากนั้นได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน “ปาบึก (PABUK(1901))” ในช่วงบ่ายของวันที่ 1 ม.ค. 2562 โดยพายุเคลื่อน
ตัวทางทิศตะวันตกเข้าสู่บริเวณอ่าวไทยตอนล่างแล้วเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณอ่าเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราชของวันที่ 4 ม.ค. 2562 จากนั้นพายุนี้ได้เคลื่อนผ่านอ่าเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช และอ่าเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ก่อนอ่อนก่าลังเป็นพายุดีเปรสชัน ปกคลุมบริเวณอ่าเภอทับปุด จังหวัดพังงาในช่วงเช้าของวัน ที่ 5 ม.ค. 2562 จากนั้นได้เคลื่อนตัวลงสู่ทะเลอันดามันพร้อมทั้ง อ่อนก่าลังลงเป็นหย่อม ความกดอากาศต่ำกำลังแรงในช่วงค่่าของวันเดียวกันจากภาพรวมแนวโน้มการเกิดภัยพิบัติที่รุนแรงและมีความสลับซับซ้อนของสถานการณ์ที่มากขึ้น ถือเป็นความเสี่ยงในล่าดับต้นของประชาคมโลก ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย ในขณะเดียวกันความเสียหายในเชิงชีวิตและทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูงมาก ได้ชี้ให้เห็นว่า การรับมือกับภัยพิบัติด้วยวิธี คิดแบบเดิม (อาจ) ใช้ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ จึงเป็นความพยายามในการเปิดมุมมอง และสร้างพื้นที่ของการสนทนาในความหมายที่หลายหลากของภัยพิบัติ สร้างการเชื่อมโยงความรู้ ต่อการให้ความหมายที่หลากหลายผ่านการแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดประสบการณ์จากภาคีที่เกี่ยวข้อง เกิดการสร้างพื้นที่ในการท่างานร่วมกันในอนาคตของภาคีเครือข่าย ทั้งจากภาคราชการ ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ และภาคประชาชน เพื่อสร้างการเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับมือและจัดการกับภัยพิบัติได้อย่างเท่าทัน

วัตถุประสงค์ เพื่อ

1. ประเมินผลกระทบของภัยพายุโซนร้อนปาบึกที่มีผลต่อระบบธรรมาภิบาล กระบวนการทางสังคม ภาคการผลิต-การเกษตร และการเข้าถึงบริการของรัฐของประชาชนในพื้นที่เกิดภัยฯ
2. ประเมินเบื้องต้นถึงความสูญเสีย ความเสียหายในรูปของสิ่งก่อสร้าง ถาวรวัตถุ ภาคการผลิตและเศรษฐกิจท้องถิ่นรวมถึงการประเมินผลกระทบที่ต่อเนื่องกับเศรษฐกิจมหภาคระดับประเทศ
3. เป็นเวทีสาธารณะในการเปิดข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ สร้างการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ในการวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรคและช่องว่างจากการปฏิบัติของผู้เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติ
4. รวบรวม สังเคราะห์เอกสารข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการความต้องการหลังการเกิดภัยเพื่อประเมินความต้องการและกรอบแนวทางการประสานความร่วมมือในการพัฒนาแผนการฟื้นฟูในอนาคต

กลุ่มเป้าหมาย

1. เป็นความร่วมมือของสถาบันวิชาการภายใต้ศูนย์เชื่อมโยงความรู้และวิจัยนวัตกรรมด้านภัยพิบัติ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
2. ภาคีเครือข่ายที่สนใจประเด็นภัยพิบัติ ทั้งภาคราชการ ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ และประชาชน จำนวน 30 คน

สถานที่

ห้อง E201 ชั้น 2 คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา

หน่วยงานที่ร่วมศึกษา

1. ศูนย์เชื่อมโยงความรู้และวิจัยนวัตกรรมด้านภัยพิบัติ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. มูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการน้่าแบบบูรณาการ (ประเทศไทย)
3. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
5. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
6. สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
7. ส่านักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
8. ส่านักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

กำหนดการ

08.30-09.00 น. ลงทะเบียน
09.00-09.15 น. กล่าวถึงวัตถุประสงค์/ชี้แจง/แนะน่าตัว
09.15-09.30 น. ข้อมูลภาพรวม-สถานการณ์การเกิดพายุโซนร้อน “ปาบึก”
โดย ผศ.ดร.ไชยวัฒน์ รงค์สยามานนท์
โครงการพัฒนาระบบและกลไกสนับสนุนการบริหารงานวิจัยและการจัดการความรู้
จากการวิจัยในลุ่มน้่าทะเลสาบสงขลาเชิงบูรณาการ คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
09.15-11.30 น. ย้อนเหตุการณ์ “ปาบึก” การด าเนินการของฝ่ายต่างๆ และผลกระทบเบื้องต้น
▪ ด้านอุตุนิยมวิทยา
โดย คุณวีระ สม่าหลี นักอุตุนิยมวิทยาช่านาญการ
ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก จังหวัดสงขลา
▪ ด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
โดย คุณอุดม เพชรคุต ผู้อ่านวยการศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 11
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
▪ ด้านบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย
โดย หัวหน้าสถานีกาชาดที่ 12 ทุ่งสง ส่านักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัย
พิทักษ์ สภากาชาดไทย
▪ ด้านแบบจ่าลองและการใช้ข้อมูลสารสนเทศเชิงพื้นที่
โดย ผู้อ่านวยการศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีทางอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคใต้
คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
▪ ภาคประชาสังคมและเครือข่ายอื่น ๆ
โดย คุณสุภาพร ปราบราย เครือข่ายภัยจัดการพิบัติต่าบลถ้่าพรรณรา
จังหวัดนครศรีธรรมราช
ตัวแทนภาคีเครือข่ายอื่นๆ
11.30-12.00 น. สรุป เหตุ-ภัยพิบัติ พายุโซนร้อน “ปาบึก” ความเสียหาย-เบื้องต้น
ข้อเสนอ โครงสร้างการท างานประเมิน PDNA ในระดับพื้นที่ ต าบล อ าเภอและจังหวัด
รวมทั้ง กลุ่ม/องค์กรที่เข้าร่วม
12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-16.00 น. แนวทางการท างานประเมินPDNA
– กรอบแนวทาง/ โครงสร้างการด่าเนินงาน
– ประเด็นหลักส่าคัญ-เครื่องมือที่ใช้ประเมิน ฯลฯ
– ก่าหนดกรอบเวลาการท่างาน

Share Post :
Scroll to Top