ประวัติมูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (LOCAL DEVELOPMENT FOUNDATION)

Share Post :

1.  ประวัติการก่อตั้ง

สืบเนื่องจากที่รัฐบาลแคนาดา  ร่วมกับรัฐบาลไทย  ได้จัดตั้งและทดลอง ระบบการช่วยเหลือของรัฐบาลแคนาดา ต่อการพัฒนาชนบทในประเทศไทยในรูปแบบ

“กองทุนพัฒนาท้องถิ่น ไทย-แคนาดา” (LOCAL DEVELOPMENT ASSISTANCE PROGRAM: LDAP) ในช่วงปี 2528-2532 เป็นจำนวนเงิน 5 ล้านเหรียญแคนาดา  และได้ริเริ่มให้มีการกระจายอำนาจการตัดสินใจในการจัดสรรทุนจากแคนาดา  มาสู่กลไกในประเทศไทยด้วยการจัดให้มีคณะกรรมการร่วมรับผิดชอบบริหารกองทุนดังกล่าวประกอบด้วย 3 ฝ่าย คือ ตัวแทนรัฐบาลแคนาดา  ตัวแทนรัฐบาลไทย  และผู้ทรงคุณวุฒิของไทยอีกจำนวนหนึ่ง
กองทุนพัฒนาท้องถิ่นไทย-แคนาดา สามารถดำเนินงานประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ  ทั้งนี้ โดยได้จัดสรรการสนับสนุนให้กับองค์กรพัฒนาเอกชน  องค์กรประชาชน  และสถาบันนักวิชาการ  เข้ามีบทบาทโดยตรงต่อการพัฒนาชนบทในระดับหมู่บ้าน  ทั่วทุกภูมิภาค  ตลอดจนกับคนจนในเมืองใหญ่
ในขณะเดียวกันกองทุนพัฒนาท้องถิ่นไทย-แคนาดา  ได้มีส่วนเอื้อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของผู้นำประชาชนในระดับชุมชน  เกิดเครือข่ายของผู้นำชุมชน  เครือข่ายของนักพัฒนา  เครือข่ายขององค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานพัฒนาชนบท  จนพัฒนามาเป็น “คณะกรรมการประสานงาน องค์กรพัฒนาเอกชน”  ตลอดจนได้เกิดเครือข่ายการร่วมมือกับนักวิชาการของสถาบันวิชาการ ระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น  ในเรื่องการจัดระบบติดตามผลโครงการ  และการเสริมการดำเนินงานขององค์กรพัฒนาเอกชนต่างๆ ในเวลาต่อมา

แต่อย่างไรก็ตาม  ด้วยเล็งเห็นว่าความตื่นตัวและการพัฒนาศักยภาพของผู้นำระดับชุมชน  ยังต้องอาศัยการสนับสนุนและส่งเสริมอย่างต่อเนื่องในระยะยาว  ในขณะที่การเติบโตและเสริมสร้างความเข้มแข็งของขบวนองค์กรพัฒนาเอกชนเอง  ก็ยังต้องการระยะผ่านในการจัดปรับบทบาท  ตลอดจนการสนับสนุนจากฝ่ายต่างๆ อีกระยะหนึ่ง

ดังนั้น  รัฐบาลแคนาดา  รัฐบาลไทย  และคณะกรรมการร่วมของกองทุนพัฒนาท้องถิ่น ไทย-แคนาดา  จึงได้มีดำริที่จะจัดตั้งเป็น “มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา”  เพื่อขยายบทบาทของกองทุนดังกล่าวให้เป็น “สถาบันนิติบุคคล” เพื่อมุ่งยกระดับองค์กร  ให้มีสถานภาพและบทบาทที่จะสามารถก่อผลกระทบต่อสังคมชนบท  และประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ  มีศักดิ์ศรี  และมีอิสระ  ความคล่องตัวต่อภารกิจของมูลนิธิข้างหน้าต่อไป
 

2. ความเชื่อและหลักการของมูลนิธิฯ

การพัฒนาชุมชนในชนบทให้พึ่งตนเองได้  มีความมั่นคงและมีความสุข  เป็นหัวใจสำคัญของการแก้ปัญหาของประเทศ  ทั้งปัญหาในชนบทและในเมือง
บทเรียนจากงานพัฒนาในชนบทแสดงให้เห็นว่างานพัฒนาเป็นงานที่ละเอียดอ่อนและต้องการการพัฒนาแบบบูรณาการ ทั้งทางกายภาพ ทางสังคมวิทยา  ทางเทคโนโลยี  การรักษาและทำนุบำรุงสิ่งแวดล้อม  การพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจ  การจัดองค์กรและวัฒนธรรมชุมชน ฯลฯ
บทเรียนจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกแสดงให้เห็นว่า  การพัฒนาชุมชนที่แท้จริงและต่อเนื่องจะเกิดขึ้นไม่ได้ยั่งยืนจากลำพังบุคคลภายนอกที่เข้าไปทำให้หรือไปสั่งให้ทำ  แต่ต้องเกิดจากจิตสำนึกและภูมิปัญญาของชุมชนจึงเป็นจุดสำคัญที่สุด  ต้องมีการเรียนรู้แบบบูรณาการและก้าวหน้าด้วยความมั่นคงและเกิดศานติสุข
การพัฒนาในแนวทางดังกล่าวเป็นเรื่องยาก  ละเอียดอ่อนและเชื่อมโยง  แต่ระบบราชการซึ่งมีลักษณะรวมศูนย์  แบ่งแยกเป็นแผนกๆ เคยชินกับการสั่งการและมีความยืดหยุ่นน้อย  จึงมีข้อจำกัดอย่างมากจนไม่สามารถทำงานพัฒนาได้สำเร็จตามลำพัง  มีความจำเป็นที่จะต้องมีองค์กรเอกชนที่สร้างสรรค์เข้ามาเชื่อมต่อโดยสามารถทำงานร่วมกับชุมชนอย่างบูรณาการ  คล่องตัว  และเชื่อมประสานกับฝ่ายต่างๆ ได้ มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนาก่อตั้งขึ้นด้วยเจตนารมณ์เช่นนี้
ดังนั้นจึงเป็นที่คาดหมายว่า  มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา  จะสามารถส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันของทุกฝ่าย  เป็นการยกระดับความสามารถของชุมชน  องค์กรพัฒนาเอกชน  นักวิชาการหน่วยราชการ  และผู้กำหนดนโยบาย  เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาอย่างบูรณาการ  อันจักนำไปสู่ความร่มเย็นเป็นสุขของประชาชนชาวไทย  และเป็นแบบอย่างวิธีการพัฒนาให้แก่สังคมไทยและสังคมโลก
 

3.  วัตถุประสงค์มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนามติคณะกรรมการมูลนิธิ : 25 พ.ค. 2559

  1. ฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพของผู้นำองค์กรชุมชนและสถาบันชุมชนในท้องถิ่น ให้สามารถกำหนดบทบาทการพัฒนาด้วยตนเองทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่อง เพื่อคลี่คลายตนเองและชุมชนไปสู่เงื่อนไขที่พึ่งพาตัวเองได้และมีความเจริญก้าวหน้าอย่างสมดุล
  2. ส่งเสริมและสนับสนุนเครือข่ายการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทุกชนิดให้มีการดูแลรักษา และใช้ประโยชน์จากฐานทรัพยากรอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน
  3. สนับสนุนและส่งเสริมการปฏิบัติงานขององค์กรภาคีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและสถาบันวิชาการที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาชนบท และพัฒนาชุมชนท้องถิ่น บนพื้นฐานของการพึ่งตนเองและพัฒนาตนเอง
  4. ส่งเสริมการศึกษา และสนับสนุนบทบาทของเยาวชน พระสงฆ์และผู้นำศาสนาในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและพัฒนาชุมชนด้วยหลักคุณธรรม จริยธรรมและศาสนธรรม
  5. ส่งเสริมและสนับสนุนองค์กรการกุศล และองค์กรสาธารณประโยชน์ เพื่อสร้างเสริม ความเข้มแข็งของสังคมไทย  และความมั่นคงของมนุษย์บนพื้นฐานของอัตลักษณ์และบูรณภาพของชุมชนท้องถิ่น
  6. ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการคุ้มครองผู้บริโภคและในการใช้สื่อ สารมวลชนเพื่อการศึกษาและประโยชน์สาธารณะ
  7. ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ ทั้งในการแสวงหาความรู้ การวิจัย การจัดการความรู้ การเผยแพร่ความรู้ การให้คำปรึกษาทางวิชาการและการฝึกอบรมเพื่อความเข้มแข็งและจัดการตนเองได้ของชุมชนท้องถิ่น
  8. ส่งเสริมและสนับสนุนกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างฝ่ายนโยบาย หน่วยราชการ ภาคธุรกิจ องค์กรพัฒนาเอกชน และภาคประชาสังคมให้ได้รับประโยชน์ในการใช้ความรู้เพื่อพัฒนางานของตน และเพื่อการพัฒนานโยบายสาธารณะ ทั้งในระดับจุลภาคและมหภาคให้ก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องมั่นคงและสมดุล เพื่อสร้างศานติสุขขึ้นในสังคม
  9. ไม่ดำเนินงานเกี่ยวกับอำนาจและผลประโยชน์ทางการเมืองของกลุ่มหรือพรรคการเมืองใดๆ

4.  คณะกรรมการชุดก่อตั้งมูลนิธิ (พ.ศ.2531)

1.ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเวศ  วะสีประธานมูลนิธิ
2.ศาสตราจารย์  เสน่ห์  จามริกรองประธานมูลนิธิ
3.ศาสตราจารย์ นายแพทย์อารี  วัลยะเสวีเหรัญญิกมูลนิธิ
4.ศาสตราจารย์ นายแพทย์ไพโรจน์  นิงสานนท์กรรมการ
5.ศาสตราจารย์ระพี  สาคริกกรรมการ
6.นายเอนก  นาคะบุตรเลขานุการมูลนิธิ

 

5.  คณะกรรมการมูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนาชุดปัจจุบัน (พ.ศ.2557  –  ปัจจุบัน)  ประกอบด้วย

1.นายแพทย์พลเดช  ปิ่นประทีปประธานกรรมการ
2.นายทรงพล  เจตนาวณิชย์รองประธานกรรมการ
3.นางเบ็ญจมาศ  ศิริภัทรรองประธานกรรมการ
4.นายศิริชัย  สาครรัตนกุลกรรมการ
5.นายสนธิญาณ  ชื่นฤทัยในธรรมกรรมการ
6.อ.เนาวรัตน์  พลายน้อยกรรมการ
7.อ.ศักดิ์  ประสานดีกรรมการ
8.ส.นพ.ปกรณ์  สุวรรณประภากรรมการ
9.ดร.กฤษฎา  บุญชัยกรรมการ
10.นายธีระ  วัชรปราณีกรรมการ
11.นายวิลิต  เตชะไพบูลย์กรรมการ
12.อ.จุฑาทิพย์  ภัทรวาทกรรมการ
13.นางสาวนฤมล  นพรัตน์กรรมการและเหรัญญิก
14.นายคณุสสัน  ศุภวัตรวรคุณกรรมการและเลขานุการ

6.  รายนามผู้บริหารมูลนิธิและสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา  จากอดีตถึงปัจจุบัน

ประธานมูลนิธิ

พ.ศ. 2534 – 2553ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ  วะสี
พ.ศ. 2553 – 2557นายอเนก  นาคะบุตร
พ.ศ.2557 – ปัจจุบันนายแพทย์พลเดช  ปิ่นประทีป

(2)  ประธานสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา

พ.ศ. 2534 – 2538ศาสตราจารย์เสน่ห์  จามริก
พ.ศ.2538 – 2540นายไพบูลย์  วัฒนศิริธรรม
พ.ศ.2540 – 2541นายไพบูลย์  วัฒนศิริธรรม
พ.ศ.2541 – 2544นายแพทย์สงวน  นิตยารัมภ์พงศ์

(3)  ผู้บริหารสถาบันภายใต้มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา

พ.ศ. 2534 – 2538ศาสตราจารย์เสน่ห์  จามริก  (ประธานสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา)
นายทรงพล  เจตนาวณิชย์ (ผู้อำนวยการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา)
พ.ศ. 2538 – 2541นายเอนก       นาคะบุตร  (เลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา)
นางเบ็ญจมาศ   ศิริภัทร   (ผู้อำนวยการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา)
พ.ศ. 2541 – 2544นายแพทย์พลเดช  ปิ่นประทีป (เลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา)
นางเบ็ญจมาศ   ศิริภัทร   (ผู้อำนวยการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา)
พ.ศ. 2544 – 2548นายแพทย์พลเดช  ปิ่นประทีป (ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาประชาสังคม)
นางเบ็ญจมาศ   ศิริภัทร  (ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศักยภาพชุมชน)
นายทรงพล    เจตนาวณิชย์  (ผู้อำนวยการสำนักวิจัยชุมชนท้องถิ่น)
นายอเนก  นาคะบุตร     (ผู้อำนวยการสถาบันจัดการความรู้ท้องถิ่น)
พ.ศ. 2549 – 2559นายแพทย์พลเดช  ปิ่นประทีป  เลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
นางเบ็ญจมาศ   ศิริภัทร   รองเลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
นายอเนก  นาคะบุตร  ผู้อำนวยการสถาบันจัดการความรู้ท้องถิ่น (LMI)
นายทรงพล   เจตนาวณิชย์  ผู้อำนวยการสถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.)
นายแพทย์พลเดช  ปิ่นประทีป   ผู้จัดการมูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
พ.ศ. 2559 – ปัจจุบันนายคณุสสัน  ศุภวัตรวรคุณ  เลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
ดร.กฤษฎา  บุญชัย   รองเลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
อ.ศักดิ์  ประสานดี  ผู้อำนวยการมหาวิชชาลัยภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
นางสาวมทิรา  เครือพงศ์ศักดิ์  ผู้จัดการสำนักงานมูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
Share Post :
Scroll to Top