เขื่อนจีน ผลกระทบนิเวศและสังคมลุ่มน้ำโขง
จีนอาศัยความได้เปรียบในฐานะประเทศต้นน้ำ ดำเนินการก่อสร้างเขื่อนต่างๆ มากมาย ทั้งนี้ มีเสียงทักท้วงจากประเทศทางแม่น้ำโขงตอนล่าง….
เขื่อนจีน ผลกระทบนิเวศและสังคมลุ่มน้ำโขง
|
||
ประเทศจีนกำลังเร่งฝีเท้า ในการพัฒนาสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ จีนจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านพลังงานเพื่อใช้เป็นฐานสำหรับการผลิต โดยมีแผนที่จะสร้างเขื่อนขนาดใหญ่บนแม่น้ำสายต่างๆ มากมาย เช่น แม่น้ำโขง หรือที่จีนเรียกว่า แม่น้ำลานซาง ซึ่งเป็นแม่น้ำนานาชาติที่ไหลผ่านอีกห้าประเทศทางตอนล่าง คือ พม่า ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม โดยมีแผนที่จะสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงถึง 14 เขื่อน อย่างไรก็ตาม แผนการสร้างเขื่อนบน แม่น้ำลานซาง ในประเทศจีนที่เป็นรูปธรรมแล้วในขณะนี้มีอยู่ 8 เขื่อน สร้างเสร็จแล้วสองเขื่อน คือ เขื่อนมานวาน (Manwan) เริ่มปั่นกระแสไฟฟ้าได้เมื่อปี 2539 และเขื่อนต้าเฉาซาน (Dachaoshan) สร้างเสร็จเมื่อปีที่แล้ว และในขณะนี้กำลังก่อสร้างเขื่อนเซียววาน (Xiaowan) ซึ่งมีความสูงถึง 300 เมตร เท่ากับตึกระฟ้า 100 ชั้น นอกจากนี้ยังเดินหน้าก่อสร้างเขื่อนจิงฮง โดยจีนประเมินว่าเขื่อนทั้ง 8 ที่เรียงรายอยู่บนแม่น้ำโขงตอนบน (อีกสี่เขื่อนคือ เขื่อนนัวจาตู้ (Nuozhadu) เขื่อนกงกว่อเฉียว (Gongguoqiao) เขื่อนกันลันปา (Ganlanba) และเขื่อนเมงซอง (Mengsong)จะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึง 15,000 เมกะวัตต์ ซึ่งจะป้อนให้กับเมืองอุตสาหกรรมใหญ่ๆ ทางชายฝั่งตะวันออกของจีน และบางส่วนมีแผนจะขายไฟฟ้าให้กับประเทศไทยด้วย |
||
|
||
2. การพังทลายชายฝั่งแม่น้ำโขง การกัดเซาะพังทลายของชายฝั่งแม่น้ำโขง เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นปกติในทุกปี แต่ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ชาวบ้านริมฝั่งโขงสังเกตพบว่าการพังทลายของชายฝั่งเร็วและรุนแรงมากขึ้น ทั้งนี้คาดว่าอาจมาจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น การก่อสร้างท่าเทียบเรือทำให้กระแสน้ำเปลี่ยนทิศ การเปิดให้มีการเดินเรือขนาดใหญ่ การระเบิดแก่งหินและสันดอนทราบ ในเขตประเทศจีนจนถึงเขตรอยต่อพม่า-ลาว ทำให้กระแสน้ำมีความเร็วและไหลเชี่ยวมากขึ้น และการปิด-เปิดประตูระบายน้ำของเขื่อนในประเทศจีน ทำให้การขึ้นลงของน้ำผิดปกติ เพราะเมื่อตลิ่งอุ้มน้ำไว้ แล้วน้ำลดลงทันที ตลิ่งที่อยู่ได้เพราะความชื้นก็จะพังลงมาจากการที่น้ำแห้งลงอย่างเร็ว นอกจากนี้ ในระบบนิเวศลุ่มน้ำโขงที่มีแอ่งน้ำลึก คาดว่าเป็นที่อยู่อาศัยและหากินของปลาบึก ปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลกและใกล้สูญพันธุ์ การพังทลายของชายฝั่ง หน้าดินตลอดลำน้ำโขงได้ทำให้แอ่งน้ำลึกเหล่านี้ตื้นเขิน ซึ่งอาจจะสุ่มเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของปลาบึกก็เป็นได้ เขื่อนต้นน้ำ กับปมปัญหาทางการเมืองในภูมิภาคแม่น้ำโขง จีนอาศัยความได้เปรียบในฐานะประเทศต้นน้ำ ดำเนินการก่อสร้างเขื่อนต่างๆ มากมาย ทั้งนี้ มีเสียงทักท้วงจากประเทศทางแม่น้ำโขงตอนล่างว่า การสร้างเขื่อนบนลำน้ำโขงตอนบนของจีน ดำเนินการไปโดยมิได้คำนึงถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และนิเวศที่จะเกิดขึ้นกับประเทศที่อยู่ปลายน้ำ แม้ว่าประเทศในแม่น้ำโขงตอนล่างสี่ประเทศ คือ ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ได้มีการรวมตัวกันในรูปของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง แต่ที่ผ่านมาหน่วยงานนี้ก็ไม่มีอำนาจอะไรที่จะไปต่อรองอย่างตรงไปตรงมากับประเทศจีนได้ แม้จะมีเสียงคัดค้านจากภาคประชาสังคม ในภูมิภาคแม่น้ำโขง และจากนานาประเทศ แต่รัฐบาลจีนก็ยังคงเดินหน้าก่อสร้างเขื่อนในลุ่มน้ำโขงตอนบนต่อไป ทั้งนี้จีนได้พยายามเจรจาเพื่อแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กับประเทศต่างๆ ในลุ่มน้ำโขงตอนล่างด้วย เช่น การเจรจาซื้อขายไฟฟ้ากับประเทศไทย การสนับสนุนการก่อสร้างถนนจากเมืองคุนหมิงเข้าสู่เชียงแสนและประเทศลาวตอนเหนือ และการลงทุนก่อสร้างเขื่อน หรือแม้กระทั่งการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง การเจรจาต่อรองเรื่องผลประโยชน์ ในภูมิภาคแม่น้ำโขงกำลังดำเนินต่อไป แต่การตระหนักถึงเรื่องผลกระทบและความสูญเสียทางนิเวศ สังคม เศรษฐกิจของประชาชนในลุ่มน้ำโขงยังมิได้รับความสนใจจากฝ่ายรัฐบาลในลุ่มน้ำโขงเท่าที่ควร ล่าสุด เมื่อสถานการณ์ระดับน้ำในแม่น้ำโขงลดต่ำมากเป็นประวัติการณ์ในช่วงหน้าแล้งที่ผ่านมา ทำให้ประเทศทางตอนล่างเริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงทางนิเวศองลำน้ำที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตของพวกเขาอย่างชัดเจน และเริ่มตั้งวิจารณ์เขื่อนที่ปิดกั้นลำน้ำโขงทางตอนบน หรือโครงการพัฒนาต่างๆ ที่ส่งผลกระทบข้ามพรมแดน หลายฝ่ายได้เรียกร้องให้มีการพูดคุยเพื่อหาหนทางแก้ไขปัญหาของคนภายในลุ่มน้ำเดียวกันอย่างรูปธรรม |
||
หมายเหตุ* เอกสารการประชุมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และกลไกความร่วมมือในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ระหว่างวันที่ ห้องประชุมอาคารสหประชาชาติ, กรุงเทพ, ประเทศไทย จัดโดย คณะกรรมาธิการต่างประเทศ 16-18 พฤศจิกายน 2547 ณ กรรมาธิการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ วุฒิสภา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน และโครงการฟื้นฟูนิเวศวิทยาในอินโดจีนและพม่า |
||
โดย โครงการฟื้นฟูนิเวศวิทยาในอินโดจีนและพม่า เมื่อ : [ 20 ธ.ค. 47, 14:44 น. ] www.thaingo.org |