โครงการพัฒนาองค์ความรู้และรณรงค์การปฏิรูปที่ดินที่ยั่งยืนและเป็นธรรม

กฤษฎา บุญชัย

โครงการพัฒนาองค์ความรู้และรณรงค์การปฏิรูปที่ดินที่ยั่งยืนและเป็นธรรมมีวัตถุประสงค์ คือ

 1) เพื่อศึกษาปัญหาเชิงโครงสร้างนโยบายที่นำมาสู่สภาพปัญหาการจัดการที่ดินที่ไม่เป็นธรรมและ ไม่ยั่งยืน

2) เพื่อศึกษาแนวทาง รูปแบบ และกลไกการปฏิรูปที่ดินเพื่อความยั่งยืนและเป็นธรรมทั้งในระดับ ท้องถิ่นและระดับชาติ พร้อมข้อเสนอในเชิงปฏิบัติการ

3) เพื่อรณรงค์เผยแพร่ต่อสาธารณะให้เกิดการตื่นตัวต่อปัญหาที่ดินและมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน การปฏิรูปที่ดิน

            โครงการได้ดำเนินการศึกษาจากการประมวลเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวกับปฏิรูปที่ดินทั้งในและต่างประเทศเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและข้อเสนอเชิงโครงสร้างการปฏิรูปที่ดิน และประมวลปัญหาระดับพื้นที่สู่การวิเคราะห์ปัญหาและข้อเสนอทางนโยบายจากกรณีศึกษา 4 กรณีได้แก่

–           กรณีวังน้ำเขียว และทับลานจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งสะท้อนปัญหาการจัดสรรที่ดินของรัฐให้เกษตรกร ปัญหากระบวนการออกเอกสารสิทธิ์ ปัญหาประกาศอุทยานทับพื้นที่ชุมชน และการบุกรุกที่ดินและป่าโดยนายทุน

–           กรณีพื้นที่อ่าวกุ้ง บ้านป่าคลอก จังหวัดภูเก็ต ที่กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวยึดที่ดินของชุมชนจังหวัดภูเก็ต พังงา ซึ่งสะท้อนปัญหาของกระบวนการออกเอกสารสิทธิ์โดยไม่ชอบ และการปิดล้อมการทำกินของชุมชน

–           กรณีคุระบุรี จังหวัดพังงา เนื่องจากมีประกาศเขตอุทยานแห่งชาติศรีพังงาซ้อนทับพื้นที่ชุมชน ตั้งแต่ ปี 2524  อุทยานแหลมสนขยายแนวเขตเพิ่มใน ปี 2529 ทับชุมชนด้าน ต.คุระ ป่าชายเลนตาม มติ ครม. 30ธันวาคม 2530 ทับมาอีกชั้น บางส่วนกลายเป็นพื้นที่สวนปา  และส่วนที่เหลือกลายเป็นป่าสงวน  ทั้งเอกสารสิทธิที่ดิน นส.3 ก.ที่มีอยู่กลับถูกเพิกถอนสิทธิ และมีการออกเอกสารสิทธิ์โดยไม่ชอบ

–           กรณีพื้นที่ทาม บ้านฮ่องอ้อ ท่าช้าง อำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี พื้นที่ดังกล่าวเป็นระบบนิเวศชุ่มน้ำที่สมบูรณ์ เป็นที่สาธารณะที่ชุมชนไปใช้ประโยชน์ทำนาและหาอาหาร แต่ถูกนายทุนบุกรุกยึดพื้นที่

รายงานนี้ประกอบด้วย

  1. ประมวลสภาพการถือครองทและการจัดการที่ดินในสังคมไทย
  2. ปัญหาเชิงโครงสร้างที่ดินของไทย
  3. นิยามและความสำคัญของการปฏิรูปที่ดิน
  4. แนวทางการปฏิรูปที่ดิน
  5. วิธีการปฏิรูปที่ดิน
  6. ข้อเสนอเชิงหลักการ โครงสร้าง และเนื้อหาการปฏิรูปที่ดินต่อสังคมไทย
  7. ปัจจัยท้าทายการปฏิรูปที่ดินในสถานการณ์ปัจจุบัน
  8. มุมมองและโอกาสต่อการขับเคลื่อนการปฏิรูปที่ดิน

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://www.ldi.or.th/wp-content/uploads/2020/05/โครงการพัฒนาองค๋ความรู้และรณรงค์การปฏิรูปที่ดินที่ยั่งยืนและเป็นธรรม.pdf