กรณีศึกษาการปฏิรูปที่ดินพื้นที่อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา

บริพัตร สุนทร[1] ระวี ถาวร[2] และโชคดี ปรโลกานนท์2

อดีตพื้นที่วังน้ำเขียวเป็นพื้นที่ป่าที่สมบูรณ์การเข้าถึงยากลำบากต่อมามีการพัฒนาตัดถนนเส้น 304  พร้อมกับเส้นทางรอบเขาใหญ่หลังประกาศพัฒนาอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยว ทำให้การเข้าถึงสะดวกมากขึ้น จึงเป็นกลายพื้นที่ดึงดูดผู้คนหลากหลายจากทุกสารทิศเข้ามาอยู่อาศัย ทำมาหากินในอาชีพต่างๆ ที่หลากหลาย ดังนั้นพัฒนาการการเติบโตของอำเภอวังน้ำเขียวจึงมีความสัมพันกับพัฒนาการเชิงนโยบายของการพัฒนาประเทศทั้งนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจ นโยบายป่าไม้ ที่ดิน และนโยบายการเมืองซึ่งมีพลวัตที่รวดเร็วเนื่องจากเป็นพื้นที่มีผลประโยชน์สัมพันกับกลุ่มทุนเศรษฐกิจการเมือง จนกลายเป็นพื้นที่ตอบโต้นโยบายทางการเมือง ในขณะเดียวกันก็มีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ตั้งอยู่ใกล้กรุงเทพมหานครที่ศูนย์กลางของการพัฒนา และยังมีถนนสาย 304 ตัดผ่านซึ่งเส้นทางเศรษฐกิจสายหลักที่เชื่อมโยงเศรษฐกิจหลักของภาคอีสานไปยังนิคมอุตสหกรรม ท่าเรือภาคตะวันออก ดังนั้นพื้นที่อำเภอวังน้ำเขียวจึงได้รับผลกระทบจากนโยบายการต่างๆ อย่างรวดเร็วและชัดเจน โดยเฉพาะประเด็นเรื่องที่ดินซึ่งพบว่าการครอบครองและถือครองที่ดินมีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในช่วงการเติบโตของกระแสการพัฒนาการท่องเที่ยว จนทำให้วังน้ำเขียวเป็นที่รู้จักของคนทั้งประเทศ ภายใต้วาทกรรมการโปรโมทการท่องเที่ยวต่างๆนาๆ ทั้งเป็นแหล่งที่มีภูมิประเทศว่า “สวิตเซอร์แดนอีสาน” และแหล่งอากาศดีว่า “แหล่งโอโซนอันดับที่ 7” แถมยังมีการกลับมาของกระทิงเขาแผงม้าจึงเกิดการกิจกรรมดึงดูด “นอนรีสอร์ทดูกระทิง” ส่งผลให้เกิดกระบวนการปั่นราคาที่ดินให้สูงส่งผลให่เกิดขบวนการกว๊านซื้อขายที่ดินอย่างมาก ท่ามกลางความซับซ้อนของตัวบท กฎหมาย นโยบายต่างๆ ดังนั้นการศึกษาการปฏิรูปที่ดินจึงเป็นเรื่องที่มีความท้าทายทั้งในระดับการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ระยะยาว รวมทั้งระดับนโยบายการจัดการที่ดินป่าไม้อย่างเป็นธรรม จึงเกิดงานศึกษากรณีศึกษาครั้งนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ประการแรกคือ พัฒนาการการถือครอง สาเหตุ และผลกระทบของปัญหาที่ดินที่เชื่อมโยงกับนโยบายต่างๆ ประการที่สอง คือ แนวทาง และทางเลือกในการปฏิรูปที่ดิน โดยใช้วิธีการศึกษาหลักโดยการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งงานวิจัย เอกสารจากหน่วยงานต่างๆ การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก และการประชุมกลุ่มย่อย โดยเน้นการศึกษาใน 2 ตำบลคือ ตำบลไทยสามัคคีซึ่งปัญหาเรื่องพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานทับซ้อนกับที่ทำกิน ตำบลวังน้ำเขียวมีปัญหาป่าสงวนแห่งชาติโซน C ทับพื้นที่ทำกิน และทั้งสองพื้นที่ยังประสบปัญหาการทับซ้อนของพื้นที่ สปก.กับพื้นที่ป่าไม้

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://www.ldi.or.th/wp-content/uploads/2020/05/กรณีศึกษาการปฏิรูปที่ดินพื้นที่อำเภอวังน้ำเขียว-จังหวัดนครราชสีมา.pdf


[1] มูลนิธิเกษตรเพื่อการพึ่งตนเองและสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น

[2] แผนงานประเทศไทย ศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซฟิก