บทวิเคราะห์นักคิดระดับโลกต่อวิกฤติโควิด สู่ตัวชี้วัดชุมชนท้องถิ่นที่เข้มแข็ง
กฤษฎา บุญชัย
สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
ผมประมวลการวิเคราะห์ของบรรดานักคิดชั้นนำของโลก 8 คน (ณรจญา ตัญจพัฒน์กุล, 8 นักคิด 8 จักรวาลความคิด มองโลกยุค COVID-10, สำนักข่าวออนไลน์ 101, www.the101.word/public-intellectuals-on-covid-19 ) ที่วิเคราะห์ด้วยมุมมองที่หลากหลายต่อปัญหาของรัฐ ทุนนิยม และสังคม ที่ถูกเผยให้เห็นจากวิกฤติโควิด และข้อเสนอทางออกของโลก
จากกรอบวิเคราะห์ดังกล่าว ผมจึงได้สกัดออกมาเป็นตัวชี้วัดเบื้องต้นต่อสภาวะการดำรงอยู่ การเปลี่ยนแปล งและทิศทางของชุมชนท้องถิ่นจากวิกฤติโควิด เพื่อให้เห็นว่า เรื่องราว ปัญหา และทางออกของชุมชน ไม่ใช่แค่การเข้าถึงความช่วยเหลือในสถานการณ์ระยะสั้นซึ่งมีความจำเป็น แต่มีความจำเป็นที่ชุมชนจะต้องเปลี่ยนผ่านสู่ความเข้มแข็งและความยั่งยืนในระยะยาว เกิดเป็นสภาวะปรกติใหม่ (new normal) ที่ชุมชนเข้มแข็ง กำหนดอนาคตตัวเอง และเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสังคมใหม่จากฐานราก
ปัญหาที่โควิดเผยให้เห็น | ทิศทางออก |
รัฐ | |
รัฐขาดประสิทธิภาพ และไม่ได้รับความไว้ใจจากประชาชนสภาวะคู่ตรงข้าม รัฐเปิดเสรีไร้บทบาทจัดการสาธารณะ กับรัฐคุมอำนาจ สอดส่องประชาชนรัฐต่างคนต่างอยู่ แข่งขัน ขัดแย้ง ส่วนหนึ่งเป็นปัญหาข้อจำกัดอำนาจอธิปไตยรัฐชาติและเขตแดน | รัฐมีนโยบายมุ่งสร้างความเท่าเทียม ส่งเสริมเสรีภาพประชาชนรัฐไว้ใจให้ประชาชนเป็นใหญ่ สังคมมีบทบาทกำกับรัฐและทุนไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ในนามของความสงบสุข ความมั่นคงของรัฐเปิดกว้างรับฟังความคิดเห็น และการมีส่วนร่วมจากประชาชนกำหนดนโยบายที่เป็นธรรม ไม่เอื้อพวกพ้องไวต่อความทุกข์ยากของประชาชน กลุ่มเปราะบาง และเร่งเสริมสร้างความเข้มแข็งให้มีอำนาจพึ่งตนเอง ต่อรองมีผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาร่วมตัดสินใจทางนโยบายใช้นโยบายสวัสดิการเพื่อให้ประชาชนบรรลุเสรีภาพ (จากความอดอยาก โรคภัย ความเปราะบาง ฯลฯ)รัฐทั่วโลกร่วมมือแบ่งปันข้อมูล ความรู้ ทรัพยากร ความร่วมมือเพื่อความอยู่รอดและประโยชน์สุขมนุษยชาติ โดยพัฒนากลไกความร่วมมือที่เข้มแข็ง |
ระบบเศรษฐกิจ | |
ทุนนิยมที่ตอบสนองแต่เพียงหุ้นส่วนทุนนิยมที่เปลี่ยนทรัพยากร บริการสาธารณะเป็นสินค้า กำไร ขณะที่ประโยชน์สาธารณะเป็นเรื่องรองทุนนิยมขูดรีดมูลค่าส่วนต่างแรงงาน สร้างความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจกลไกตลาดทำงานอิสระ การเมืองรับใช้ตลาดเสรี | ระบบเศรษฐกิจที่คำนึงทุกภาคส่วน คำนึงถึงสังคมส่วนรวม อยู่ร่วมกับสังคมอย่างกลมกลืนเศรษฐกิจที่ไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยกำไรเป็นหลักจำกัดการตักตวงผลประโยชน์ของทุน และแบ่งปันผลประโยชน์สู่ส่วนรวมเศรษฐกิจที่แรงงานมีส่วนร่วมตัดสินใจ และแบ่งปันผลประโยชน์ ผลประโยชน์ตกสู่สังคมส่วนรวม |
สังคม | |
สังคมที่ต่างคนต่างอยู่สังคมที่เหลื่อมล้ำ สังคมที่ขาดเสรีภาพ (ชีวิต เศรษฐกิจ สังคม การเมือง)สังคมขาดทางเลือก | สร้างความเท่าเทียม มีส่วนร่วมในฐานะชุมชนสร้างความเรียนรู้ ร่วมมือมีทางเลือกยอมรับคุณค่าวิถีชีวิต การผลิต การงาน |
ตัวชี้วัดการสร้างชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็งจากวิกฤติโควิด
- สิทธิ เสรีภาพในการดำรงชีพ เข้าถึงทรัพยากร สุขภาพ ข้อมูลข่าวสาร และทางเลือกการดำรงชีพ
- ความเท่าเทียม เป็นธรรมในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองในชุมชน
- ประสิทธิภาพของกลไกบริหารจัดการของชุมชน (ทรัพยากร การเงิน สวัสดิการ สุขภาพ เศรษฐกิจ ฯลฯ)
- การมีส่วนร่วม ความร่วมมือ ช่วยเหลือกันของสมาชิกในการจัดการชุมชนและช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส
- การพึ่งตนเองด้านอาหาร เศรษฐกิจ สุขภาพ
- ความสามารถในการเรียนรู้ ปรับตัวต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง
- การยอมรับความแตกต่าง และสร้างพลังจากความหลากหลายทางสังคม
- การมีเครือข่ายความร่วมมือข้ามชุมชน และสร้างภาคีหลายฝ่าย
ตัวชี้วัดเหล่านี้ ใช้เป็นเพียงตัวตั้งต้นในการประเมินสภาวะชุมชนในแต่ละด้านว่าเป็นอย่างไร มีจุดอ่อน จุดแข็งด้านไหน โดยหยิบยกรูปธรรม ปัญหาใกล้ตัวที่ชุมชนเผชิญ เปรียบเทียบระหว่างก่อนเกิดโควิดและภายหลังโควิดมาวิเคราะห์ เมื่อเกิดบทสรุปที่ชัดเจนก็นำมาระดมความคิดออกแบบเป้าหมาย แนวทาง สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง กำหนดเป็นแผนการดำเนินการของชุมชน และนำมาสรุป ทบทวน ถอดบทเรียนการขับเคลื่อนชุมชนเป็นระยะ เพื่อนำมาปรับปรุงเป้าหมาย แผนการทำงานของชุมชนให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น