รายงานการทบทวนองค์ความรู้เกี่ยวกับการเงินชุมชน

มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา

รายงานการทบทวนองค์ความรู้เกี่ยวกับการเงินชุมชน

โดย

นิชธิมา วิสุทธิอาภา

เมษายน 2563

 

รายงานการทบทวนองค์ความรู้เกี่ยวกับการเงินชุมชนฉบับนี้ เป็นการประมวลความรู้ จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง “การเงินชุมชน” จานวน 19 เรื่อง ซึ่งงานวิจัย โดยส่วนใหญ่อยู่ในฐานข้อมูลของสานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ในระหว่างช่วงปี พ.ศ. 2542 – 2561

การเงินชุมชน หมายถึง กลุ่มองค์กรที่ดาเนินกิจกรรมโดยมีเครื่องมือด้านการเงินเป็น หลัก เพื่อให้บริการแก่ประชาชนในบริเวณชุมชนเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน โดยเน้นให้ความสาคัญกับ ประชาชนฐานรากให้สามารถเข้าถึงบริการทางการเงิน ทั้งด้านการออม ด้านสินเชื่อ ด้านสวัสดิการ และบริการทางการเงินด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อาจกล่าวได้ว่า การเงินชุมชนซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องทาง การเงินที่สาคัญต่อประชาชนระดับฐานราก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเกษตรกรและชาวบ้านในชุมชน ซึ่งไม่มีหลักทรัพย์ค้าประกันทางการเงินเพื่อให้สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้มากขึ้น

งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเงินชุมชนพบว่ามีโจทย์การวิจัยที่ค่อนข้างหลากหลาย อาทิ โจทย์วิจัยที่เกี่ยวข้องกับระบบการเงิน ระบบการบริหารจัดการการเงินชุมชน หรือ กิจกรรมของ การเงินชุมชน ฯลฯ สภาพปัญหาเดิมของการเงินชุมชนโดยส่วนใหญ่ คือ การดาเนินงานขององค์กรที่ ยังไม่มีประสิทธิภาพมากนัก ทั้งนี้ สามารถจาแนกที่มาขององค์กรการเงินชุมชนได้ 3 สาเหตุ คือ 1) นโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการเงินชุมชนจากภาครัฐ 2) การริเริ่มของผู้น าชุมชนหรือนักปราชญ์ ชุมชน และ 3) การพัฒนาดัดแปลงจากองค์กรการเงินในยุคแรก ในขณะที่เป้าหมายของชุมชนที่มีต่อ การเงินชุมชน คือ มุ่งหวังว่าการเงินชุมชนจะเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่จะสามารถเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหา หนี้สินในชุมชนและและช่วยทาให้เกิดการบริหารจัดการพฤติกรรมทางการเงินที่ดีและน าไปสู่การสร้าง ความเข้มแข็งทางการเงินจากระดับชุมชน สาหรับกลไกขับเคลื่อนที่สาคัญของการเงินชุมชน คือ ภาครัฐ ภาคีเครือข่าย ภาคเอกชน และคณะกรรมการองค์กรการเงินชุมชน ในส่วนของการบริหาร จัดการการเงินชุมชนมักดาเนินงานโดยส่งผ่านเป็นลาดับชั้นและเน้นการใช้ระบบชุมชนเป็นหลัก

การเงินชุมชนสร้างการเปลี่ยนแปลงต่อเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ประชาชนระดับฐานรากสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินและสามารถ น าเงินทุนไปต่อยอดเพื่อสร้างอาชีพและรายได้ ทั้งนี้ การบริหารจัดการที่เข้มแข็ง อัตราดอกเบี้ยที่ เข้าถึงประชาชน และความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพระหว่างภาครัฐ ภาคี และองค์กรการเงินราย ย่อย เป็นปัจจัยสาคัญที่ส่งผลต่อความสาเร็จของการเงินชุมชน ในขณะที่ปัจจัยที่ส่งผลต่อความล้มเหลวของการเงินชุมชน ประกอบด้วย การบริหารจัดการเงินฝาก/เงินกู้/หนี้ค้างชาระ การสมัคร สมาชิก ระบบบัญชีและระบบภายในของการเงินชุมชน ในส่วนของกฎหมาย พบว่า มีการพัฒนาและ ปรับปรุงนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเงินชุมชนอย่างต่อเนื่อง สาหรับข้อค้นพบของ งานวิจัยประกอบไปด้วยข้อค้นพบที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดการเงินชุมชน ความมั่นคงทางการเงินของ การเงินชุมชน สมาชิกของการเงินชุมชน และการบริหารจัดการการเงินชุมชน สาหรับข้อเสนอแนะ จากการศึกษา ประกอบด้วย ข้อเสนอแนะต่อการดาเนินงานของการเงินชุมชน ข้อเสนอแนะต่อระบบ บัญชีของการเงินชุมชน ข้อเสนอแนะต่อองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการเงินชุมชน

รายงานฉบับนี้ได้แบ่งการน าเสนอแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้

 

ส่วนที่ 1 การทบทวน ความรู้การเงินชุมชน ประกอบด้วย

1) นิยามและความหมายของการเงินชุมชน

2) โจทย์งานวิจัย

3) สภาพปัญหาเดิม

4) สาเหตุหรือที่มาการทำการเงินชุมชน

5) เป้าหมายของชุมชน

6) กลไกขับเคลื่อน

7) กระบวนการดาเนินการ

8) ผลที่เกิดขึ้น

9) ปัจจัยความสาเร็จและความล้มเหลวของการเงินชุมชน และ

10) นโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

 

ส่วนที่ 2 ข้อค้นพบงานวิจัย

ส่วนที่ 3 ข้อเสนอแนะจาก งานวิจัย

ส่วนที่ 4 เป็นบทสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการทบทวนความรู้การเงินชุมชน

 

อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่  ทบทวนการเงินชุมชน (ฉบับสมบูรณ์) pdf