งานวิจัยสรุปว่าการมีส่วนร่วมตัดสินใจของผู้หญิงในเรื่องจัดการที่ดินที่มากขึ้นส่งผลดีต่อธรรมชาติ

เผยเเพร่ใน Mongabay.com เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2562

  • งานวิจัยชิ้นนี้ซึ่งนำโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโคโลราโด บาวล์เดอร์ (Colorado Boulder หรือ CU Boulder) เเละได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Nature Climate Change เมื่อเดือนที่เเล้ว พยายามค้นหาคำตอบว่าว่าสัดส่วนผู้หญิงในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นช่วยลดการตัดไม้ทำลายป่าได้หรือไม่ ขณะเดียวกันก็พูดถึงปัญหาความไม่เสมอภาคในท้องถิ่นไปพร้อมๆกันด้วย
  • ในการศึกษานี้ นักวิจัยลงพื้นที่ 31 หมู่บ้านที่อยู่ใกล้ป่าที่ได้รับการจัดการโดยชุมชนในประเทศที่กำลังพัฒนา 3 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย เปรูเเละเเทนซาเนีย เเละได้ขอให้ผู้ใช้ประโยชน์จากป่าจำนวน 440 คนในชุมชนเหล่านั้นเล่นเกมการจำลองบนโต๊ะโดยพวกเขาต้องตัดสินใจว่าจะตัดต้นไม้กี่ต้นจากป่าที่ดูเเลร่วมกัน ผู้เข้าร่วมถูกเเบ่งออกเป็นกลุ่มๆ กลุ่มละ 8 คน ครึ่งหนึ่งของจำนวนกลุ่มทั้งหมดต้องมีผู้หญิงอยู่ร้อยละ 50 ส่วนอีกครึ่งหนึ่งไม่มีการกำหนดสัดส่วน
  • กลุ่มนักวิจัยเขียนไว้ในงานวิจัยว่าผลการศึกษา “เเสดงให้เห็นว่าการเเทรกเเซงโดยกำหนดสัดส่วนเพศหญิงทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้นเเละยังนำไปสู่การเเบ่งปันผลประโยชน์ที่เพิ่มเข้าไปอย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น”

งานวิจัยชิ้นใหม่พบว่าการขับเคลื่อนด้านการอนุรักษ์นั้นมีความก้าวหน้ามากขึ้นอย่างเเน่นอนเมื่อมีผู้หญิงรวมอยู่ในกลุ่มที่ตัดสินใจเรื่องการจัดการที่ดินเพิ่มขึ้น

งานวิจัยชิ้นนี้ซึ่งนำโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโคโลราโด บาวล์เดอร์ (Colorado Boulder หรือ CU Boulder) เเละได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Nature Climate Change เมื่อเดือนที่เเล้ว พยายามค้นหาคำตอบว่าว่าสัดส่วนผู้หญิงในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นช่วยลดการตัดไม้ทำลายป่าได้หรือไม่ ขณะเดียวกันก็พูดถึงปัญหาความไม่เสมอภาคในท้องถิ่นไปพร้อมๆกันด้วย

ผืนป่าที่ถูกคุกคามหลายเเห่งในโลกมีกลุ่มชุมชนขนาดเล็กร่วมกันเป็นเจ้าของเเละเป็นผู้จัดการ เนื่องจากผู้หญิงในกลุ่มหล่านั้นมักไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ สภานิติบัญญัติเเละรัฐบาลท้องถิ่นบางเเห่งจึงได้กำหนดว่าในกลุ่มผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจต้องมีผู้หญิงอยู่จำนวนเท่าใด นโยบายสัดส่วนเพศหญิงในหลายประเทศเช่น อาร์เจนติน่า อินเดีย เเละรวันด้า กำหนดให้มีผู้หญิงเป็นจำนวน 30% หรือ 1 ใน 3 ของสมาชิกเเละผู้นำระดับบริหารในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เนปาลได้กำหนดให้คณะกรรมการท้องถิ่นซึ่งเป็นตัวเเทนชุมชนซึ่งอยู่ในพื้นที่ป่าประกอบด้วยผู้หญิงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมดตั้งเเต่ปี 2552

เเต่ผู้ร่วมวิจัย คริสเตอร์ แอนเดอส์สันซึ่งเป็นศาสตราจาย์ด้านรัฐศาสตร์เเละนักวิจัยประจำสถาบันพฤติกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยโคโลราโด บาวล์เดอร์ชี้ว่าตัวอย่างพวกนั้นเป็นข้อยกเว้น เขากล่าวว่า “เมื่อผู้กำหนดนโยบายคิดว่าควรทำอะไรบ้างเพื่อเพิ่มการอนุรักษ์ทั่วโลก ไม่มีใครคิดจะนำสัดส่วนเพศหญิงมาใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบาย..งานวิจัยชิ้นนี้บอกว่าพวกเขาควรนำมาใช้”

งานวิจัยก่อนหน้านี้พบว่าผู้หญิงมีความเป็นห่วงเรื่องความไม่เสมอภาคมากกว่าผู้ชาย รู้สึกถึงความเชื่อมโยงใกล้ชิดกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า อีกทั้งมีเเนวโน้มที่จะสนับสนุนความพยายามในการอนุรักษ์มากกว่าด้วย “เราอยากรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าคุณให้สิ่งจูงใจที่เป็นตัวเงินเเก่กลุ่มต่างๆเพื่อการอนุรักษ์เเละกำหนดให้ต้องมีสมาชิกเป็นผู้หญิงอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง” แอนเดอส์สันกล่าว

กลุ่มนักวิจัยเขียนไว้ในงานวิจัยว่าผลการศึกษา “เเสดงให้เห็นว่าการเเทรกเเซงโดยกำหนดสัดส่วนเพศหญิงทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้นเเละยังนำไปสู่การเเบ่งปันผลประโยชน์ที่เพิ่มเข้าไปอย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น” นักวิจัยยังเพิ่มเติมว่าข้อค้นพบต่างๆเเสดงให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้สูงว่าจะเกิดผลดียิ่งขึ้นหากสัดส่วนเพศชายเเละหญิงเท่ากันเเทนที่จะเป็น 30% หรือ 1 ใน 3 ตามมาตรฐานทั่วไป

ในการศึกษานี้ นักวิจัยลงพื้นที่ 31 หมู่บ้านที่อยู่ใกล้ป่าที่ได้รับการจัดการโดยชุมชนในประเทศที่กำลังพัฒนา 3 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย เปรูเเละเเทนซาเนีย เเละได้ขอให้ผู้ใช้ประโยชน์จากป่าจำนวน 440 คนในชุมชนเหล่านั้นเล่นเกมการจำลองบนโต๊ะโดยพวกเขาต้องตัดสินใจว่าจะตัดต้นไม้กี่ต้นจากป่าที่ดูเเลร่วมกัน ผู้เข้าร่วมถูกเเบ่งออกเป็นกลุ่มๆ กลุ่มละ 8 คน ครึ่งหนึ่งของจำนวนกลุ่มทั้งหมดต้องมีผู้หญิงอยู่ร้อยละ 50 ส่วนอีกครึ่งหนึ่งไม่มีการกำหนดสัดส่วน

ก่อนอื่น ผู้เข้าร่วมทุกคนจะเล่นเกมหนึ่งรอบโดยทุกคนจะได้รับค่าตัดต้นไม้ 5 เหรียญต่อต้น เเต่ละคนต้องเลือกว่าจะตัดกี่ต้นโดยไม่ระบุชื่อ ต่อมาผู้เข้าร่วมจะได้รับการเเจ้งว่ามีองค์กรภายนอกประสงค์จะจ่ายให้ 160 เหรียญถ้าทางกลุ่มตัดสินใจไม่ตัดต้นไม้เลย เช่นเดียวกับการเข้าร่วมโครงการค่าตอบเเทนเพื่องานบริการระบบนิเวศ (Payments for Ecosystem Services – PES) พวกเขาสามารถเลือกผู้นำที่จะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะเเบ่งค่าตอบเเทนให้เเก่สมาชิกในกลุ่มอย่างไร

PES เป็นกลยุทธในการอนุรักษ์ซึ่งมีการจ่ายค่าตอบเเทนให้กับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเพื่อปกป้องระบบนิเวศซึ่งเป็นเเหล่ง “บริการ” สิ่งจำเป็นต่างๆ เช่น น้ำสะอาด เเหล่งอาศัยสำหรับสัตว์ป่า การผสมเกสรของพืช เเละการกักเก็บคาร์บอน ซึ่งโครงการ PES นี้กำลังเเพร่หลายทั่วโลก

นาธาน คุก หัวหน้านักวิจัยซึ่งเป็นนักวิจัยหลังปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยโคโลราโด บาวล์เดอร์กล่าวไว้ในบทความว่า “เราพบว่ากลุ่มที่มีการกำหนดสัดส่วนเพศหญิงลดอัตราการตัดไม้ลงมากเมื่อได้ยินเรื่องเงินตอบเเทนเเละยังเเบ่งสรรปันส่วนค่าตอบเเทนที่ได้จากการอนุรักษ์นั้นอย่างเท่าเทียมกันมากกว่าด้วย” การตัดสินใจโดยกลุ่มต่างๆในกรณีที่ไม่มีสิ่งจูงใจที่เป็นตัวเงินมาเกี่ยวข้องไม่ได้เเตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญ เเต่เมื่อมีการเสนอสิ่งจูงใจ กลุ่มที่มีการกำหนดสัดส่วนเพศหญิงลดอัตราการตัดต้นไม้ลงถึง 51% ขณะที่กลุ่มที่ไม่มีการกำหนดลดการตัดต้นไม้ลงเพียง 39%

พูดอีกอย่างก็คือ กลุ่มที่มีสัดส่วนผู้ชายผู้หญิงเท่าๆกันตัดต้นไม้น้อยกว่าเมื่อรับรู้ถึงโครงการ PES อีกทั้งเเบ่งปันค่าตอบเเทนกันในกลุ่มอย่างเท่าเทียมมากกว่า นักวิจัยกลุ่มนี้คิดว่าผลลัพธ์เช่นนี้น่าจะมาจากสัดส่วนผู้หญิงผู้ชายของเเต่ละกลุ่ม ไม่จำเป็นว่าผู้นำจะเป็นผู้หญิงหรือไม่  การตัดสินใจของกลุ่มที่มีผู้นำเป็นผู้หญิงกับกลุ่มที่มีผู้ชายเป็นผู้นำไม่มีความเเตกต่างมากนัก เเต่ผลลัพธ์ที่แน่นอนคือกลุ่มที่ประกอบด้วยสมาชิกผู้หญิงอย่างน้อยครึ่งหนึ่งจะเลือกตัดต้นไม้น้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้กำหนดสัดส่วนโดยเฉพาะเมื่อสิ่งจูงใจที่เป็นตัวเงินมีเข้ามาเกี่ยวข้อง

“It appears that it is not the gender quota by itself that is making a difference, but rather the combination with the conservation incentive,” Andersson explained. “Maybe women have stronger environmental preferences but having a seat at the table and a payment for foregoing the immediate benefits of cutting down trees empowers them to act.”

“ปรากฎว่าตัวสัดส่วนเพศหญิงไม่ได้สร้างความเเตกต่างได้โดยตัวมันเองเเต่ต้องผสมผสานกับสิ่งจูงใจในการอนุรักษ์ด้วย” แอนเดอส์สันอธิบาย “ผู้หญิงอาจมีสำนึกรักสิ่งเเวดล้อมเข้มข้นกว่าเเต่การได้นั่งในที่ประชุมรวมถึงสิ่งจูงใจที่จะได้มาทดเเทนค่าตัดไม้ที่ได้กล่าวไปนั้นให้อำนาจพวกเธอในการตัดสินใจ”

คุกสรุปข้อค้นพบจากงานวิจัยไว้ว่า “ ประเด็นสำคัญที่ได้จากงานนี้คือ เมื่อเป็นเรื่องของการอนุรักษ์สิ่งเเวดล้อม จำเป็นต้องมีผู้หญิงเข้าร่วมด้วย”

บรรยายภาพ ชาวนาในเเทนเซเนีย

เครดิตภาพ: CU Boulder.

หนังสืออ้างอิง

• Cook, N. J., Grillos, T., & Andersson, K. P. (2019). Gender quotas increase the equality and effectiveness of climate policy interventions. Nature Climate Change, 1. doi:10.1038/s41558-019-0438-4