พื้นที่ใหม่ พลังใหม่ ในการแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ (ภาคที่1) ว่าด้วยการก่อกําเนิด “โรงงานสร้างป่า” กับรางวัลนวัตกรรมแห่งสยาม
ท่ามกลางอาคารสูง ตึกใหญ่ในบริเวณสะพานเชื่อมระหว่างสถานีรถไฟฟ้า BTS และมหาวิทยาลัยชื่อ ดัง ณ. ที่ตรงนั้นคือบริเวณสยามพารากอน (Siam Paragon) ที่ซึ่งเป็นทั้งห้างสรรพสินค้าชั้นนําของประเทศไทย ศูนย์กลางของคลื่นแฟชั่นของวัยรุ่นในเจนใหม่ (New-Generation) พื้นที่เศรษฐกิจการค้าที่สําคัญในเชิงธุรกิจ พื้นที่ดังกล่าวในช่วงระหว่างวันที่ 22-25 มีนาคม 2561
ได้ถูกดัดแปลงให้เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ นวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดจากการสรรค์สร้างของคนรุ่นใหม่ๆ ในชื่อที่เรียกว่า “นวัตกรรมแห่งสยาม” หรือ Siam Innovation District
ซึ่งทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับหน่วยงานรัฐและเอกชนก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนเรียนรู้และช่วยให้สังคมไทยปรับตัวและก้าวตามทันความเปลี่ยนแปลงทางด้านนวัตกรรม รวมถึงการสร้างสังคมอุดมปัญญาให้เกิดขึ้น เพื่อนําไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และช่วยให้สังคมไทยปรับตัวก้าวตาม ทันความเปลี่ยนแปลงของโลกทั้งในปัจจุบันและอนาคตรวมถึงเป็นเวทีที่จะเปิดโอกาสให้มีการนําเสนอ นวัตกรรมสู่สาธารณะในวงกว้าง
ซึ่งในปีนี้ (2561) ทางคณะผู้จัดงานได้พัฒนาคอนเซ็ปต์ว่าด้วย Our Futures 2030 ร่วมคิด ร่วมคุย ร่วมสร้างอนาคต บนข้อท้าทายต่อการมองอนาคตไปในยุค 2030 ที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงพลิกโฉมรวดเร็วอย่าง คาดไม่ถึง ซึ่งผ่านการมองอนาคต 3 ประเด็น คือ ชีวิตและความเป็นอยู่ การคมนาคม และการศึกษาเรียนรู้
คําถามคือว่างาน นวัตกรรมแห่งสยาม” หรือ Siam Innovation District มันไปเกี่ยวอะไรกับสิ่งที่ พวกเรา (เครือข่ายชาวบ้านในพื้นที่อําเภอแม่แจ่ม, กองเลขาฯ แม่แจ่มโมเดล ที่ร่วมกันขับเคลื่อนแม่แจ่มโมเดลพลัส) ทํากัน ??????
เกือบ 4 เดือนที่ผ่านมา กระบวนการพัฒนาและจัดทํา โครงการพัฒนาความร่วมมือส่งเสริมการปลูกและแปรรูปไผ่เพื่อพลิกฟื้นผืนป่าและเศรษฐกิจชุมชน ได้ทะลุทะลวงผ่าฟันความคิด ข้อแลกเปลี่ยน ของคณะกรรมการพิจารณาและตัดสินรางวัล จนท้ายที่สุด โครงการดังกล่าวนี้เองสามารถเอาชนะใจ คณะกรรมการจนนําไปสู่การได้รับรางวัลนวัตกรรมแห่งสยาม ในวันที่ 22 มีนาคม 2561 ที่ผ่านมา
ความน่าสนใจ และน่าท้าทายภายใต้กิจกรรมการพัฒนาความร่วมมือส่งเสริมการปลูกและแปรรูปไผ่เพื่อพลิกฟื้นผืนป่าและเศรษฐกิจชุมชน เสมือนเป็นภาพสะท้อนของรูปธรรมทางความคิด ภายใต้การผลิตสร้าง นวัตกรรมใหม่ขึ้นมาคือ “โรงงานสร้างป่า หรือที่เรียกสั้นๆว่า Tree F.” (Tree ในที่นี้หมายถึง ต้นไม้ แต่ใน อีกนัยยะการออกเสียงเทียบเคียงผ่านการเล่นคํา จะหมายถึง 3 F อันหมายถึง Farm Forest Factory) ยังไง เสียก็แล้วแต่ นัยยะความสําคัญคงต้องมาดูว่า โรงงานสร้างป่า มันมีความเป็นนวัตกรรมอย่างไรและจะ สามารถส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ของผู้คน เกิดพลังใหม่ๆในการเข้ามาร่วมแก้ไขปัญหาในมิติ ด้านทรัพยากรธรรมชาติ โดยอย่างยิ่งป่าไม้และที่ดิน สิทธิและการใช้ประโยชน์อย่างเป็นธรรมได้อย่างไร
โรงงานสร้างป่า (Farm Forest Factory) ไม่ได้เกิดขึ้นโดยไร้รากความคิด หรือผลิตคําขึ้นมาอย่างไร หมุดหมาย ( Landmark) หากแต่เป็นการตกผลึกของความคิดที่มาจากพัฒนาการ บทเรียน ประสบการณ์การ ทํางานผ่านกระบวนการถอดสรุปบทเรียนที่มาจากการทํางานเพื่อแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ ที่ดิน สิทธิ์ การใช้ประโยชน์ของชาวบ้าน ชุมชนท้องถิ่น ในพื้นที่อําเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ที่ที่เป็นเสมือนภาพ สะท้อนของปัญหาการขยายตัวของพืชเศรษฐกิจ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทําให้พื้นที่ป่าอยู่ในสภาวะเสื่อมโทรมส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในเชิงโครงสร้างนโยบายในการจัดการป่าไม้ ที่ดิน สิทธิของชุมชนประชาชน การใช้ประโยชน์จากทรัพยากร
รวมไปถึงปัญหาในเชิงประเด็นเฉพาะหน้า เช่น ไฟป่าหมอกควัน บทเรียน ประสบการณ์และการทํางานเกือบ 10 ปี ที่ผ่านมาของภาคส่วนต่างๆในพื้นที่อําเภอแม่แจ่ม ได้ลุกขึ้นมาร่วมกันแก้ไขปัญหาในเชิงระบบทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ทรัพยากร ควบคู่กันไป โดย กระบวนการแก้ไขปัญหาได้ริเริ่มการจัดทําระบบข้อมูล แยกแยะขอบเขตการใช้ที่ดินกับพื้นที่ป่า การสร้างกลไก การจัดการร่วม จัดทําระเบียบกติกา ข้อตกลงฉันทามติร่วม รวมถึงการสร้างภาคีความร่วมมือที่เกิดขึ้นอย่าง หลากหลาย ซึ่งทําให้การแก้ไขปัญหาได้มีทิศทางแนวโน้มที่ดีขึ้นมาตามลําดับ สิ่งที่ท้าทายที่จะนําไปสู่การแก้ไขปัญหาให้เกิดความยั่งยืน คือ จะเชื่อมโยงการแก้ไขปัญหาไปยึดโยงกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ การ ผลิตของประชาชนควบคู่ไปกับการฟื้นฟูพื้นที่ป่าและระบบนิเวศน์ได้อย่างไร
(โครงร่างโมเดล โรงงานสร้างป่า)
ในพื้นที่อําเภอแม่แจ่ม นั้นเอง เงื่อนไขรวมถึงสภาวะความซับซ้อนของปัญหา เช่น ความต้องการของรัฐ รวมถึงความคิดกระแสหลักของสังคม มุ่งเน้นไปที่ความต้องการในการเพิ่มพื้นที่ป่า เป็นเงื่อนไขที่ทําให้บริษัท ขนาดใหญ่ กําหนดมาตรการไม่รับซื้อซื้อข้าวโพด โดยเจาะจงไปในที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ ขณะที่เกษตรกรผู้ ปลูกข้าวโพดตกอยู่ในภาวะขาดทุน แต่ก็ยากที่จะปรับระบบการผลิต เนื่องจากภาวะหนี้สินและโอกาสในการ เข้าถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ( Infra-structure) เช่นระบบน้ํา ไฟ ถนน หรือโครงการพัฒนาของรัฐอื่นๆ
ภายใต้ข้อจํากัดและความซับซ้อนนี้เอง “ไม้ไผ่” จึงถูกเลือกเป็นยุทธศาสตร์ให้เป็นไม้เบิกน้ํา (Pioneer) รวมไปถึงเป็นพืชที่สร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรปรับระบบการผลิตจากพืชเชิงเดี่ยว ควบคู่กับการฟื้นฟูระบบนิเวศน์และสร้างเศรษฐกิจชุมชน โดยในเบื้องต้น ได้มีการทดลองประยุกต์เทคโนโลยีสมัยใหม่กับภูมิปัญญาท้องถิ่นในการสร้างบ้านไผ่ รวมไปถึงการศึกษาความเป็นได้ทางการตลาดและความคุ้มทุนในการผลิต เชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด (wood pellets) เพื่อใช้เป็นพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงการระดมทุนร่วมจากสังคมเพื่อทําสัญญาการรับซื้อล่วงหน้า หรือการสนับสนุนจากสถานบันการเงินที่เกี่ยวข้องในการทํา โครงการปลูกไผ่เพื่อพักชําระหนี้ เป็นต้น
จากความพยายามดังกล่าวนั้นเอง โรงงานสร้างป่าจึงสัมพันธ์กับ ไม้ไผ่ ที่เป็นยุทธศาสตร์ในการ ขับเคลื่อนการพัฒนาเชิงพื้นที่ที่ตอบโจทย์การเพิ่มพื้นที่ป่าไปพร้อมกับการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน ดังที่ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้กล่าวในงาน Our Futures 2030 ร่วมคิด ร่วมคุย ร่วมสร้างอนาคต เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2561 ว่า
“นวัตกรรมไม่ได้มีบทบาทแค่เพียงการ เติบโตทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน และสิ่งสําคัญที่สุดคือ นวัตกรรมจะต้องเป็นกลไกในการเสริมพลังให้ประชาชนเข้ามามีบทบาทเชิงรุกและเป็นกลไกสําคัญของการ ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง เป็นการสร้างความร่วมมือเชิงสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง ซึ่ง จะต้องสนับสนุน นวัตกร(Innovator) หรือนักนวัตกรรม ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเงินทุน สนับสนุนด้านงานวิจัย หรือเป็นศูนย์กลางตลาดเพื่อมาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาล ที่มี เป้าหมายให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง”
ดังนั้นเอง การเปิดโลกทัศน์และการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะนําไปสู่การพัฒนาระบบเศรษฐกิจฐาน ราก / เศรษฐกิจท้องถิ่น ที่ตอบโจทย์การลดสภาวะความเหลื่อมล้ำของสังคม ทั้งชุมชนชายขอบชุมชนที่อาศัย อยู่ในเขตป่า การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีรายได้ที่ดีและมั่นคง มีความสุข ที่ตั้งอยู่บนความเป็นธรรมทางสังคมและความสมดุลของสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ เพราะรากฐานทางเศรษฐกิจชุมชนที่เข็มแข็งและมั่นคงจะเป็นรากฐานสําคัญในการพัฒนาประเทศ
และนั้นเอง “โรงงานสร้างป่า” จึงเป็นเสมือนหลักคิดที่สําคัญ (Main Idea) ของสร้างระบบเศรษฐกิจ ท้องถิ่น ที่ควบคู่ไปกับการสร้างพื้นที่ป่าและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ชุมชน ซึ่งโรงงานสร้างป่า จะขยับเคลื่อนตัว ไปได้อย่างมีพลัง ก็ต้องอาศัยพลังจากภาคส่วนต่างๆในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคม ของผู้ประกอบการ นักธุรกิจ นักสร้างสรรค์ นักนวัตกรรม นักอุตสาหกรรม ที่เข้ามาเป็นแรงสนับสนุน ขับเคลื่อน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับพื้นที่ ระดับนโยบายรวมถึงระดับของกลไกเครือข่ายภาคีต่างๆอย่างแท้จริง และนั้นคือพลังที่สําคัญส่วนหนึ่งที่มาจากงาน “นวัตกรรมแห่งสยาม” และโรงงานสร้างป่าก็เริ่มต้นเดินทาง