เสียงสะท้อนจากช่องว่างระหว่างเม็ดทรายในนามของกระบวนการพัฒนา ภายใต้กรอบคิดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ยิ่งพัฒนายิ่งเกิดช่องว่าง
อ.ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติ, 30 พฤษภาคม 2560
ภายใต้กระแสของการพัฒนาของประเทศในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา มุ่งเน้นที่จะสร้างการ เติบโตเพื่อนำพาประเทศไปสู่ความเป็นสมัยใหม่ (Modernization) ผลสะท้อนจากแนวทางในการพัฒนาที่ เกิดขึ้นได้ส่งผลการเกิดช่องว่างของสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ความเหลื่อมล้ำจากการพัฒนาได้สร้าง สภาวะความไมเ่ท่าเทียมกันในสังคมอย่างชัดเจนฐานทรัพยากรป่าไม้
ที่ดิน แร่ธาตุ รวมถึงนำ้ได้ถูกช่วงชิง ตักตวงผลประโยชน์ออกมากจากพื้นที่ปริมณฑลรอบนอกไม่ว่าจะเป็นในพื้นที่ชนบท พื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อนาไปสู่การสร้างความเจริญเติบโต (ที่รวมศูนย์) ทางด้านเศรษฐกิจ ในนามของ การพัฒนา (Development) ที่อยู่ภายใต้การบงการและครอบงำโดยลัทธิเสรีนิยมใหม่
ในทางกลับกันภายใต้แนวนโยบายรัฐรวมถึงกระบวนการดูดซับทรัพยากรที่เกิดขึ้นได้พยายามกีดกันให้เกิดช่องว่างในการเข้าถึงสิทธิในการพัฒนาขั้นพื้นฐานโครงสร้างขึ้นพื้น ฐาน (Infrastructure) ที่รัฐ จะต้องเข้ามาจัดการให้กับประชาชน คน ชุมชนในพื้นที่ชนบท ซ้ำหนักไปกว่านั้นการช่วงชิง แย่งยื้อทรัพยากรที่เกิดขึ้นได้นำไปสู่การใช้เครื่องมือของรัฐคือกฎหมายเข้ามาปราบปรามควบคุมชาวบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มชาติพันธ์ คนชายขอบ ที่ได้อยู่อาศัยในพื้นที่และมีสัมพันธ์ในการพึ่งพิง การใช้ประโยชน์จากฐานทรัพยากรที่ดินแหล่งน้ำป่าไม้อย่างยาวนานหรือแม้แต่การเข้าถึงสิทธิต่างๆของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการเข้าถึงระบบการศึกษาสิทธิในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลสิทธิของกลุ่มชนเผ่า ชาติพันธ์ที่กระจายตัว ตั้งถิ่นฐานในอาณาบริเวณต่างๆ เหล่านี้กลับถูกกีดกันออกจากกระบวนการพัฒนา ในทางเดียวกันนั้นเองผู้คนต่างๆเหล่านั้นเองได้ถูกผลักดันให้กลายเป็นคนชายขอบ (Marginal Sector) และเป็นสภาวะผ้ถูกกดทับ (Subaltern) ของกระบวนการพัฒนาจากสังคมกระแสหลักไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ความตื่นตัวที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาค รวมถึงในระดับประชาคมโลกจาก ความเหลื่อมล้ำของการเข้าถึงสิทธิในด้านที่มาจากกระบวนการพัฒนาที่ไม่เป็นการพัฒ นาได้นำไปสู่การ กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ที่ต้องการเห็นอนาคตของแนวทางในการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนความยั่งยืน ( Sustainable) ความเป็นธรรม (Justice) ความเท่าเทียม ( Equity ) โดยอาศัยกรอบความคิดที่มองการพัฒนาเป็นมิติ (Dimensions) ของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมให้มีความเชื่อมโยงกันในส่วนของประเทศไทยได้มีการจัดทำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) โดยมีหน้าที่ที่สำคัญ ได้แก่
1. การกำหนดนโยบาย และยุทธศาสตร์การพฒันาที่ยั่งยืนของประเทศให้ครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่าง สมดุลและบูรณาการ
2. ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง กับการพัฒนาที่ยั่งยืน
3.กำกับการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐให้เป็นไปตามนโยบายยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ
ในทางกลับกันภายใต้แนวนโยบายรัฐรวมถึงกระบวนการดูดซับทรัพยากรที่เกิดขึ้นได้พยายามกีดกันให้เกิดช่องว่างในการเข้าถึงสิทธิในการพัฒนาขั้นพื้นฐานโครงสร้างขึ้นพื้น ฐาน (Infrastructure) ที่รัฐ จะต้องเข้ามาจัดการให้กับประชาชน คน ชุมชนในพื้นที่ชนบท ซ้ำหนักไปกว่านั้นการช่วงชิง แย่งยื้อทรัพยากรที่เกิดขึ้นได้นำไปสู่การใช้เครื่องมือของรัฐคือกฎหมายเข้ามาปราบปรามควบคุมชาวบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มชาติพันธ์ คนชายขอบ ที่ได้อยู่อาศัยในพื้นที่และมีสัมพันธ์ในการพึ่งพิง การใช้ประโยชน์จากฐานทรัพยากรที่ดินแหล่งน้ำป่าไม้อย่างยาวนานหรือแม้แต่การเข้าถึงสิทธิต่างๆของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการเข้าถึงระบบการศึกษาสิทธิในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลสิทธิของกลุ่มชนเผ่า ชาติพันธ์ที่กระจายตัว ตั้งถิ่นฐานในอาณาบริเวณต่างๆ เหล่านี้กลับถูกกีดกันออกจากกระบวนการพัฒนา ในทางเดียวกันนั้นเองผู้คนต่างๆเหล่านั้นเองได้ถูกผลักดันให้กลายเป็นคนชายขอบ (Marginal Sector) และเป็นสภาวะผ้ถูกกดทับ (Subaltern) ของกระบวนการพัฒนาจากสังคมกระแสหลักไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ความตื่นตัวที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาค รวมถึงในระดับประชาคมโลกจาก ความเหลื่อมล้ำของการเข้าถึงสิทธิในด้านที่มาจากกระบวนการพัฒนาที่ไม่เป็นการพัฒ นาได้นำไปสู่การ กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ที่ต้องการเห็นอนาคตของแนวทางในการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนความยั่งยืน ( Sustainable) ความเป็นธรรม (Justice) ความเท่าเทียม ( Equity ) โดยอาศัยกรอบความคิดที่มองการพัฒนาเป็นมิติ (Dimensions) ของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมให้มีความเชื่อมโยงกันในส่วนของประเทศไทยได้มีการจัดทำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) โดยมีหน้าที่ที่สำคัญ ได้แก่
1. การกำหนดนโยบาย และยุทธศาสตร์การพฒันาที่ยั่งยืนของประเทศให้ครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่าง สมดุลและบูรณาการ
2. ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง กับการพัฒนาที่ยั่งยืน
3.กำกับการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐให้เป็นไปตามนโยบายยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ
“เป้าหมายการพัฒนาท่ียั่งยืนในฐานะการเมืองเรื่องการพัฒนา”
เป็นประเด็นที่สำคัญที่ต้อง ไม่ถูกผลักออกและลดทอนจากหลักคิดสิ่งที่สะท้อนผ่านรูปธรรมของการเมืองเรื่องการพัฒนาได้ปรากฏให้เห็นผ่านการปฏิบัติการขับเคลื่อนของภาคประชาชน ขบวนการเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆ ภาคประชาสังคมภาคีภาคส่วนต่างๆในองคาพยพของการทำงานด้านการพัฒนาในประเด็นต่างๆ มาอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม รักษ์เชียงของ ที่ต่อสู้กับการพัฒนาในอนุภาคลุ่มน้ำโขง กลุ่มเครือข่ายทรัพยากรป่าไม้-ที่ดิน กลุ่มติดตามเรื่องพลังงาน เขตเศรษฐกิจพิเศษ หรือแม้แต่สิทธิของคนชายขอบ สุขภาพ เกษตร ฯลฯ
ได้มีการสรุปบทเรียนรวมไปถึงยกระดับการปฏิบัติการไปสู่การผลักดันให้เกิดพลังในการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหา ที่เป็นรูปธรรมและเกิดความยั่งยืนความเป็นธรรมที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
แต่จากบทเรียนนัยยะจากชุดประสบการณ์ในการแก้ไขจัดการกับปัญหาในประเด็นต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายใต้แนวเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่สะท้อนผ่านเวทีปฏิบัติการณ์ สะท้อนผ่านการสรุปบทเรียนจากในพื้นที่ ในระดับเครือข่ายภาคประชาสังคม ภาคประชาชน ทั้งที่จัดในกรุงเทพ ต่างจังหวัด ซึ่งล่าสุดที่ ผู้เขียนมีโอกาสเข้าไปร่วมสังเกตและแลกเปลี่ยนในงานสัมมนาเรื่องการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยการมีส่วนร่วมขององค์กรท้องถิ่นและประชาสังคมภาคเหนือ ที่ศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน (RCSD) ศูนย์ศึกษาชาติพันธ์ุและการพัฒนา (CESD) คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในช่วงวันที่ 29-30 พ.ค. 2560 ที่ผ่านมานั้น มุมมองที่น่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากบทเรียนของเครือข่ายต่างๆที่เข้าร่วม รวมถึงมุมมองจากนักวิชาการ ไม่ว่าจะเป็น อาจารย์ ดร.ชยนัต์ วรรธนะภูติ รวมถึงอาจารย์ไพสิฐ พาณิชย์กุล คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ซึ่งได้พยายามชี้ให้เห็นถึงนัยยะที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนไว้กว้างๆ ดังนี้
ประการที่หนึ่ง) กระบวนการรับรู้ ระดับของความเข้าใจกับสิ่งที่เรียกว่า เป้าหมายการพัฒนาที่ ยั่งยืนระหว่างชาวบ้านหน่วยงานรัฐภาควิชาการประชาสังคมมีช่องว่างกันพอสมควร รัฐมองผ่านตัวชี้วัดที่กำหนดจากเป้าหมาย ขณะที่ชาวบ้านสะท้อนปรากฏการณ์เหล่านี้ผ่าน การใช้อำนาจที่ถูกกระทำจากรัฐ
เป็นประเด็นที่สำคัญที่ต้อง ไม่ถูกผลักออกและลดทอนจากหลักคิดสิ่งที่สะท้อนผ่านรูปธรรมของการเมืองเรื่องการพัฒนาได้ปรากฏให้เห็นผ่านการปฏิบัติการขับเคลื่อนของภาคประชาชน ขบวนการเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆ ภาคประชาสังคมภาคีภาคส่วนต่างๆในองคาพยพของการทำงานด้านการพัฒนาในประเด็นต่างๆ มาอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม รักษ์เชียงของ ที่ต่อสู้กับการพัฒนาในอนุภาคลุ่มน้ำโขง กลุ่มเครือข่ายทรัพยากรป่าไม้-ที่ดิน กลุ่มติดตามเรื่องพลังงาน เขตเศรษฐกิจพิเศษ หรือแม้แต่สิทธิของคนชายขอบ สุขภาพ เกษตร ฯลฯ
ได้มีการสรุปบทเรียนรวมไปถึงยกระดับการปฏิบัติการไปสู่การผลักดันให้เกิดพลังในการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหา ที่เป็นรูปธรรมและเกิดความยั่งยืนความเป็นธรรมที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
แต่จากบทเรียนนัยยะจากชุดประสบการณ์ในการแก้ไขจัดการกับปัญหาในประเด็นต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายใต้แนวเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่สะท้อนผ่านเวทีปฏิบัติการณ์ สะท้อนผ่านการสรุปบทเรียนจากในพื้นที่ ในระดับเครือข่ายภาคประชาสังคม ภาคประชาชน ทั้งที่จัดในกรุงเทพ ต่างจังหวัด ซึ่งล่าสุดที่ ผู้เขียนมีโอกาสเข้าไปร่วมสังเกตและแลกเปลี่ยนในงานสัมมนาเรื่องการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยการมีส่วนร่วมขององค์กรท้องถิ่นและประชาสังคมภาคเหนือ ที่ศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน (RCSD) ศูนย์ศึกษาชาติพันธ์ุและการพัฒนา (CESD) คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในช่วงวันที่ 29-30 พ.ค. 2560 ที่ผ่านมานั้น มุมมองที่น่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากบทเรียนของเครือข่ายต่างๆที่เข้าร่วม รวมถึงมุมมองจากนักวิชาการ ไม่ว่าจะเป็น อาจารย์ ดร.ชยนัต์ วรรธนะภูติ รวมถึงอาจารย์ไพสิฐ พาณิชย์กุล คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ซึ่งได้พยายามชี้ให้เห็นถึงนัยยะที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนไว้กว้างๆ ดังนี้
ประการที่หนึ่ง) กระบวนการรับรู้ ระดับของความเข้าใจกับสิ่งที่เรียกว่า เป้าหมายการพัฒนาที่ ยั่งยืนระหว่างชาวบ้านหน่วยงานรัฐภาควิชาการประชาสังคมมีช่องว่างกันพอสมควร รัฐมองผ่านตัวชี้วัดที่กำหนดจากเป้าหมาย ขณะที่ชาวบ้านสะท้อนปรากฏการณ์เหล่านี้ผ่าน การใช้อำนาจที่ถูกกระทำจากรัฐ
ผ่านกลไกต่างๆ ซึ่งหากเป็นเช่นนี้แล้ว การที่จะใช้ระบบแบบเดิม คือ ระบบรัฐราชการมาตอบโจทย์ของ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนอาจไม่มีพลังมากพอที่จะขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ประการที่สอง) การพัฒนาข้อเสนอทางออกเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งจะพบว่า ในบางประเด็นภายใต้กรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้บรรลุไปแล้วแต่จะทำอย่างไรที่จะยกระดับไปสู่การสร้างพื้นที่ให้เกิดการนำเสนอ ผลักดันไปสู่นโยบายในระดับต่างๆ และในบางประเด็นภายใต้เป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืนจะสร้างการเชื่อมโยงพื้นที่ประเด็นต่างๆ ให้พลังร่วมกันได้อย่างไร
ประการที่สาม) เพื่อให้เป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นจริงและสอดคล้องกับบริบทที่ หลากหลายการเปลี่ยนมุมมองจากการใช้สิ่งที่เรียกว่า “ตัวชี้วัด หรือ Indicator” เป็นตัวตั้งในการขับเคลื่อน ควรเปลี่ยนไปสู่การทำให้เห็นผลกระทบในเชิงบวกที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติการณ์ ว่าได้ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างมีพลังได้อย่างไร มากกว่าแค่การใช้ตัวชี้วัดเป็นหลักเพียงมิติเดียว รวมถึงพัฒนาให้เกิด กระบวนการติดตาม (Monitory process) ที่จะต้องมีกระบวนการ รวมถึงรายงานคู่ขนานระหว่างรายงาน จากผู้แทนรัฐบาลไทยกับรายงานจากภาคประชาชนภาคประชาสังคมไปควบคู่กัน
ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นโจทย์ที่ท้าทายการขับเคลื่อนเพื่อการช่วงชิงให้ความหมายบนพื้นที่ปฏิบัติการณ์ ของรูปธรรมในกรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งต้องอาศัยพลังจากภาคส่วนที่หลากหลายที่จะร่วมขับเคลื่อนพัฒนาข้อเสนอและสร้างพื้นที่เพื่อให้คนตัวเล็กให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาที่ ไม่ธรรมได้มีโอกาสพูดคุยสื่อสารให้มากขึ้น
ประการที่สอง) การพัฒนาข้อเสนอทางออกเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งจะพบว่า ในบางประเด็นภายใต้กรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้บรรลุไปแล้วแต่จะทำอย่างไรที่จะยกระดับไปสู่การสร้างพื้นที่ให้เกิดการนำเสนอ ผลักดันไปสู่นโยบายในระดับต่างๆ และในบางประเด็นภายใต้เป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืนจะสร้างการเชื่อมโยงพื้นที่ประเด็นต่างๆ ให้พลังร่วมกันได้อย่างไร
ประการที่สาม) เพื่อให้เป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นจริงและสอดคล้องกับบริบทที่ หลากหลายการเปลี่ยนมุมมองจากการใช้สิ่งที่เรียกว่า “ตัวชี้วัด หรือ Indicator” เป็นตัวตั้งในการขับเคลื่อน ควรเปลี่ยนไปสู่การทำให้เห็นผลกระทบในเชิงบวกที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติการณ์ ว่าได้ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างมีพลังได้อย่างไร มากกว่าแค่การใช้ตัวชี้วัดเป็นหลักเพียงมิติเดียว รวมถึงพัฒนาให้เกิด กระบวนการติดตาม (Monitory process) ที่จะต้องมีกระบวนการ รวมถึงรายงานคู่ขนานระหว่างรายงาน จากผู้แทนรัฐบาลไทยกับรายงานจากภาคประชาชนภาคประชาสังคมไปควบคู่กัน
ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นโจทย์ที่ท้าทายการขับเคลื่อนเพื่อการช่วงชิงให้ความหมายบนพื้นที่ปฏิบัติการณ์ ของรูปธรรมในกรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งต้องอาศัยพลังจากภาคส่วนที่หลากหลายที่จะร่วมขับเคลื่อนพัฒนาข้อเสนอและสร้างพื้นที่เพื่อให้คนตัวเล็กให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาที่ ไม่ธรรมได้มีโอกาสพูดคุยสื่อสารให้มากขึ้น
โอฬาร อ่องฬะ