ป่า 4๐% หมกมุ่นในเป้าหมาย หรือวิธีการ “ตอนที่ 5 สวนสมรม ป่าของประชาชนโดยประชาชนเพื่อประชาชนเพิ่มป่าเกิน 40%"
สวนสมรมเป็นการปลูกต้นไม้ที่เดินตามแนวพระราชดำริ ป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง กล่าวคือ พระองค์ได้ตรัสไว้เมื่อวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๒๓ ณ โรงแรมริมคำ จังหวัดเชียงใหม่ ว่า “…การปลูกป่าถ้าจะให้ราษฎรมีประโยชน์ให้เขาอยู่ ได้ ให้ใช้วิธีปลูกไม้ ๓ อย่าง แต่มีประโยชน์ ๔ อย่าง คือ ไม้ใช้สอย ไม้กิน ไม้เศรษฐกิจ โดยปลูกรองรับการชลประทาน ปลูกรับซับน้ำ และปลูกอุดช่วงไหล่ตามร่องห้วย โดยรับน้ำฝนอย่างเดียว ประโยชน์ที่ ๔ คือ ได้ระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ…” ถ้าหยิบมาแยกแยะ แต่ละคำ และเจตนาซ้อนในแต่ละประโยค จะพบว่า
- การปลูกป่า มีเงื่อนไขความสัมพันธ์การเกิดประโยชน์แก่ประชาชน
- การปลูกให้ได้ประโยชน์ มีเงื่อนไขว่าประโยชน์คือการอยู่ได้ ดำรงชีพได้ มีศักดิ์ศรีได้
- วิธีการปลูกป่า ๓ อย่าง หมายถึงการปลูกต้นไม้ คือต้นไม้ ๓ ประเภท ได้แก่ ไม้เศรษฐกิจ ไม้กิน และไม้ใช้สอย
- ประโยชน์ ๔ อย่าง ไม้ใช้สอย ไม้กิน ไม้เศรษฐกิจ และประโยชน์ในการอนุรักษ์ดิน และน้ำ
- โดยปลูกรองรับการชลประทาน ปลูกรับซับน้ำ และปลูกอุดช่วงไหล่ตามร่องห้วย ที่รับน้ำอย่างเดียว หมายถึง ในพื้นที่ที่ไม่มีชลประทาน พื้นที่ซอกเขาร่องห้วย หรือพื้นที่ที่ไม่ค่อยเหมาะแก่การปลูกพืชเกษตรอื่นๆ และให้ต้นไม้สร้างระบบการจัดการระบบน้ำได้แทนการมีระบบชลประทาน โดยสามารถใช้น้ำฝนอย่างเดียว แต่สามารถเก็บน้ำใช้อย่างเพียงพอ
หากเราค้นหาความสัมพันธ์ระหว่าง ป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง กับสวนสมรมในมิติต่างๆอย่างสมบูรณ์เพื่อสร้างคำตอบต่อคำว่า “เพิ่มป่าให้ครบ ๔๐ %” โดยมีประชาชน เราต้องทบทวนมิติใดบ้าง
ทบทวนสวนสมรม มิติความหมาย และความเป็นมา ลักษณะสมรมมีการใช้ในภาคใต้ ในคําที่ใกล้เคียงกัน เช่น สวนสมรม(นครศรีธรรมราช พัทลุง), สวนปน (นครศรีธรรมราช, ลุ่มน้ำตาปี, สุราษฎร์ธานี, ตรัง) สวนพ่อเฒ่า (สุราษฎร์ธานี ชุมพร), สวนสัมพรำ หรือสัมพรม (พังงา ระนอง), สวนโบราณ สวนแต่แรก เกษตร ๔ชั้น เกษตรธาตุ ๔ เกษตร โดยรวมหมายถึง พื้นที่สวนของชาวบ้านในชนบทที่ปลูกผสมผสานปะปน รวบรวมไว้ซึ่งใช้พืชหลากหลายชนิดทั้งไม้ป่า พืชอาหาร พืชใช้สอย พืชพลังงาน มีทั้ง ๓ ชั้นเรือนยอด ทั้งบน กลาง ล่าง มีการใช้ประโยชน์และพึ่งพิงอย่างยั่งยืน หลักสำคัญคือผสมผสานอย่างลงตัว และ ทำครั้งเดียวต่อเนื่อง ไม่ต้องล้มทำใหม่ ต้องการผลผลิตหลากหลาย หลากหลายอย่าง ไม่เป็นผลผลิตสูงสุดอย่างใดอย่างหนึ่ง ในแง่คำน่าจะหมายถึง สวนรวมปนกันไว้ให้เป็นหนึ่ง ส่วนความเป็นมา สวนสมรมเป็นพัฒนาการมาอย่างยาวนานของคนอุษาคะเณย์ โดยเฉพาะชาติพันธุ์ไทยในแดนดินต่างๆ รวมถึงวิถีชีวิต คนหมู่เกาะ
ทบทวนสวนสมรมในมิติวิถีชีวิต การทำสวนสมรม เป็นรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินทำกินอย่างกลมกลืน กับธรรมชาติ ของสังคมคนอุษาคเนย์; การทำสวนสมรมเป็นรูปแบบการเกษตรยั่งยืนโดยความยั่งยืนของเกษตรกร เท่ากับอายุของต้นไม้และพันธุ์พืช ที่อายุยืนที่สุด ตรงข้ามกับเกษตรเชิงเดี่ยว ที่มีรอบการจัดการ (crop) แล้วต้องมาเริ่มนับหนึ่งใหม่ จากศูนย์ตามฤดูกาล ประเด็นสำคัญคือ ทำครั้งเดียวอยู่ได้พันปีโดยไม่ต้องล้มแล้วเริ่มต้นใหม่ เป็นป่าเศรษฐกิจครัวเรือน ตามความโดดเด่นเช่นป่าหมาก ป่ากล้วย ป่ามะม่วง ป่าสะตอ ป่าตะเคียน ป่าสะค้าน ป่ายาง(พารา) ซึ่งหมายถึงสวนสมรมนั้นหาก เมื่อบริเวณใด ของพืชที่สวน ถ้ามีพืชชนิดไหน เด่นและหนาแน่นกว่าพืชกินก็จะเรียก พืชเฉพาะในส่วนย่อยนั้นว่า ป่าต่างๆ ซึ่งหมายถึงทุกที่ คือป่าที่ต้องแยกแยะจับต้องให้ประโยชน์ได้ และมีความหมายต่อวิถีชีวิต
ทบทวนสวนสมรมมิติความหลากหลายสวนสมรม มีความหลากหลายทั้งต้น ชนิด ปริมาณ การใช้ประโยชน์ การจัดชั้นเรือนยอด พืชพันธุกรรม จำนวนและความหนาแน่น ซึ่งสวนสมรมรูปแบบเกษตร ๔ ชั้นที่มีธนาคารต้นไม้ของชุมชน คนอยู่กับป่า คนอยู่ป่ายัง บ้านคลองเรือ ที่ความหลากหลายหนาแน่นสูงกว่าป่าธรรมชาติ เช่น ป่าเต็ง รัง ป่าชุมชน
ทบทวน สวนสมรม มิติสมดุลนิเวศ สวนสมรมมีการจัดการชั้นเรือนยอด ๓ ระดับ คือ ทั้งบน กลาง ล่าง สร้างระบบการควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ การเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปของพันธุ์พืชเป็นการจัดการระบบให้มีผู้ผลิต ผู้บริโภค ผู้ย่อยสลายมีต้นไม้ผลไม้ ให้เป็นอาหารสัตว์ ให้เป็นอาหารสัตว์ต่างๆทั้ง นก กระรอก แมลง ไส้เดือน การเก็บกักน้ำไว้ในดิน ในการจัดการระบบชั้นเรือนยอดกับระบบราก สัมพันธ์กับการรับน้ำฝน การเก็บกักน้ำไว้ในดิน และการให้น้ำ
สวนสมรมมิติเศรษฐศาสตร์ เกิดผลผลิต ทั้งทางตรง และทางอ้อม สร้างภาวะความเป็นอยู่ของสังคมให้เกิดการพึ่งตน ด้านอาหาร ด้านพลังงาน ปัจจัยการผลิตและกระบวนการจัดการหรือชุดความรู้เป็นเครื่องมือ ซึ่งอยู่ระหว่างสังคม กับสิ่งแวดล้อม
สวนสมรมกับมิติ นโยบาย การให้สัตยาบรรณกับนานาชาติของรัฐบาลไทย ว่าจะลดอุณหภูมิโลก ด้วยการเพิ่มป่าในประเทศให้ครบ ๔๐ เปอร์เซ็นต์และมีความพยายามจะผูกขาดทั้งพื้นที่และวิธีการ ด้านการทวงคืนพื้นที่ป่าที่เป็นที่ดินทำกินของราษฎรที่ยังไม่มีเอกสารสิทธิ์เพื่อปลูกป่าอีก ๒๖ ล้านได้ให้ครบ ๔๐ เปอร์เซ็นต์เป็นชุดความคิดเชิงอำนาจนิยม คิดบนพื้นฐาน และการแยกส่วน ได้มาท่ามกลางการสูญเสีย ซึ่งจะสร้างปัญหาสังคมอนาคต อย่างยากจะหลีกเลี่ยง
ถ้าหลักถาวรแนวคิดป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง รูปแบบของสวนสมรมส่งเสริมสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรปลูกสร้างสวนสมรม คนในพื้นที่ทำกิน กระจายไปทั่วประเทศจะทำให้มีพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้นในประเทศ ในประชาชนครบ๔๐% ท่ามกลาง ความยั่งยืน ความยินดีของประชาชนและเป็นป่าอย่างยิ่งอย่างยั่งยืนในรูปแบบวิถีชาติพันธุ์ไทย
สวนสมรม มิติการวิภาษวิธี; การเกษตรผสมผสานเป็นการกบฏ ต่อวิธีการ และอำนาจของรัฐ อำนาจทุนมาสร้างป่าให้เป็นของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน เพื่อประโยชน์ของประชาชนและประเทศ แทนการสร้างป่าโดยรัฐ เป็นของรัฐ เพื่อสนองนโยบายรัฐ
แต่ถ้าคิดให้ล้ำลึกกว่านั้น ย่อมหมายถึงส่วนราชการภายใต้อำนาจรัฐปฏิเสธการใช้แนวคิดป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่างและมองข้ามสวนสมรมที่เป็นต้นธารความคิดเก่าแก่และเป็นรากฐานการเคารพวิถีชีวิต ที่เคารพภูมินิเวศน์ทางทรัพยากรธรรมชาติ
การขยายสวนสมรม ให้เป็นป่า ให้เป็นพื้นที่ต้นไม้สร้างป่า ๔๐% ให้ประเทศ
ข้อ ๑) ต้องปรับกระบวนทัศน์ราชการผู้ผูกขาดการปลูกป่าให้เห็นประโยชน์ ในแนวทาง ประชาชนได้ประโยชน์จากป่า ๓ อย่าง ๔ อย่าง
ข้อ ๒) สร้างชุดมิติสัมพันธ์สวนสมรมด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม
ข้อ ๓) ส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรเช่นเดียวกับสหภาพยุโรปและอังกฤษ เมื่อราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ แทนที่รัฐจะช่วยเรื่องราคา แต่เขากลับปลูกต้นไม้ในพื้นที่เกษตร ฯลฯ กับใช้งบประมาณไปให้เกษตรกรปรับปรุงระบบนิเวศให้ฟื้นคืนสมดุล เช่นการปลูกต้นไม้ในพื้นที่เกษตรอื่นๆ
ข้อ๔ การผลักดันเชิงนโยบายสร้างป่า ๓ อย่างประโยชน์ ๔ อย่าง สร้างวนเกษตรหรือธนาคารต้นไม้ให้เกษตรกรในพื้นที่ทำกิน ซึ่งพื้นที่สวนสมรมเกิดขึ้นกระจายในประเทศ
พื้นที่เกษตรกรรม ๒๐๐ ล้านไร่จากพื้นที่ประเทศ ๓๒๑ ล้านไร่ แต่ส่งเสริมสร้างแรงจูงใจให้ใช้พื้นที่ ๑ ใน ๔ ทำสวนสมรมก็จะได้ ๕๐ ล้านไร่ได้โดยประชาชนและเป็นตัวเลขที่เกิน ๔๐% อย่างง่ายดายเพียงแต่ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์
คือประชาชนปลูกต้นไม้สร้างป่าเป็นของประชาชน ประชาชนปลูกต้นไม้ โดยประชาชน ประชาชนปลูกต้นไม้เพื่อประโยชน์ประชาชน และโอกาสให้การเพิ่มพื้นที่ป่าครบ ๔๐% ของประเทศเป็นไปได้ท่ามกลางอำนาจนิยมอันวุ่นวายซับซ้อนซึ่งผลประโยชน์