ป่า 40% หมกมุ่นในเป้าหมาย หรือวิธีการ “ตอน 2 ธนาคารต้นไม้เชิงวิภาษวิธี”
๓๔ คำถาม เพื่อกระชากกระตุ้นเตือนไม่ให้สังคมไทยทำอะไรตามๆกันอย่างไม่รู้ เกี่ยวกับป่า ๔๐% ของพื้นที่ประเทศ ผมจะทยอยตอบคำถามนั้น และปรารถนาให้สังคมค้นหาคำตอบในเนื้อคำถามนั้นไปพลางๆ
แนวคำตอบเมื่อ ๕๐ปี ที่แล้วผู้เชี่ยวชาญด้านป่าไม้จากเนเธอร์แลนด์ แนะนำทางวิชาการให้ประเทศไทยมีป่า ๔๐% ของพื้นที่ประเทศ ขณะนั้นประเทศไทยมีพื้นที่ป่า หมายถึงป่าจริงๆกว่า ๗๐% แปลได้หลายทางว่า
๑) ยุคนั้นเรามีพื้นที่ป่าไม้เกิน จึงไม่ต้องวิตกกังวล หรือ ต้องวางแผนอะไรมากมาย
๒) เป็นความต้องการของตะวันตก และความต้องการขององค์กรอาหารโลก (FAO) ให้ประเทศเราลดพื้นที่ป่าไม้มาเพิ่มพื้นที่เกษตรเพื่อผลิตอาหารเลี้ยงพลโลกเพียงพอในยุคเบบี้บูม (Baby boom)
ช่างเถอะอย่างไรก็ตาม ความจริงจากนั้น เรารับอิทธิพลแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจจากธนาคารโลก ทำการเพิ่มพื้นที่เกษตรเพื่อผลิตอาหาร และอื่นๆ ด้านกรอบร่างของเกษตรเคมีเชิงเดี่ยว ตั้งแต่การเปิดวิทยาลัยเกษตรทั่วประเทศ การส่งเสริมพืชเกษตรเชิงเดี่ยว ทั้งอ้อย มัน ข้าว ยางพารา ฯลฯ
คำตอบ ๔๐% จึงอาจเป็นคำลวงให้ประเทศเราทำลายป่า เพื่อเพิ่มพืชอาหารเลี้ยงพลโลกก็ได้
ปัญหาตามมา คือ พื้นที่ป่าลดลงอย่างรวดเร็ว การเกษตรเคมีเชิงเดี่ยวเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ผลผลิตทางการเกษตรสร้างเม็ดเงินมหาศาล และส่งออกอันดับต้นๆ จากการขายทรัพย์ ทั้งไม้ แร่ และผลผลิตทางการเกษตร จึงเป็นรายได้ลำดับต้นๆของประเทศ ข้าว แร่ดีบุก ไม้สัก จากนั้นก็มียางพารา น้ำตาล แทรกเข้ามาแทนแร่ดีบุก และไม้สัก
สรุปง่ายๆ คือ การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เกษตรเคมีเชิงเดี่ยว และการเพิ่มพื้นที่เกษตรด้วยการทำลายป่าสร้างรายได้ให้ประเทศแบบหนึ่งโดยไม่ได้คิดซึ่งผลเสีย
แนวคิดการจัดการป่าไม้จึงฉกชิงต่อสู้ระหว่างการสงวนคุ้มครองอนุรักษ์ป่า เช่นป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า กับการสร้างเศรษฐกิจด้วยทรัพยากรจากป่าโดยตรง ทั้งการทำไม้ส่งออก และการใช้พื้นที่ป่าเสื่อมโทรมเพื่อเพิ่มผลผลิตของการเกษตรโดยการให้เช่าใช้ประโยชน์ที่ดินป่าสงวนแห่งชาติของรายใหญ่
ด้วยคราบความคิดลัทธิจักรวรรดินิยม มาครอบรัฐไทยด้วยมุมมองของรัฐว่าพลเมืองในชาติเป็นคน “ดื้อ ชั่ว โง่ และอ่อนแอ”
จึงออกกฎหมาย “ควบคุม บังคับ อนุญาต และทำให้.”
โดยผ่านอำนาจรัฐ ทำให้การจับต้องในวิธีการจัดการป่า โดยอำนาจรัฐอย่างเบ็ดเสร็จด้วย “การตั้งกองกำลังติดอาวุธพร้อมด้วยกฎหมาย ทำหน้าที่ดูแลป่าไม่ให้ทำลาย” ถ้าเอกชนคนไหนต้องขอนุญาตและจะเปิดโอกาสให้ แต่สำหรับประชาชนธรรมดาสามัญรัฐไม่เชื่อว่ามีความสามารถพอจึงต้องเป็นผู้ทำให้เป็นผู้นำทำเอง ตั้งแต่การปลูกสร้างสวนป่า แม้นแต่การทำเหมืองฝายระบบน้ำรูปแบบการเพาะปลูก ฯลฯ
ความล้มเหลวจากแนวทาง “การตั้งกองกำลังติดอาวุธดูแลป่าไม่ให้คนทำลาย” คือ ป่าลดลงจาก ๗๑% ,มาเหลือ ๒๑% การปลูกป่าตลอดเวลาเกือบ ๑๐๐ ปี ได้แค่ไม่ถึง ๒% ทั้งๆที่ใช้กองกำลัง และทุนมหาศาล ซ้ำร้ายการจัดการให้เกษตรกรปลูกป่าไร่ละ ๓,๐๐๐ เกือบราว ๒ ล้านไร่ แต่เกษตรกรต้องตัดโค่นเปลี่ยนแปลงเป็นพืชเกษตรอื่นเหลือเพียงราว ๓ แสนไร่ เสมือนการเดินย่ำเท้าก้าวเก่ามา ๑๒๐ กรมป่า ตั้งปี ๒๕๔๙ พลาดมาทุกก้าว และยังจะก้าวเดินก้าวที่ ๑๒๑
ด้วยเส้นทางเดิม เดินรอยเท้าเดิม วิธีการเดิมๆอีกครั้ง ซึ่งไอน์สไตน์กล่าวไว้ อย่างน่าคิดว่า “มีแต่คนบ้า และโง่มากเท่านั้นที่ทำอะไรซ้ำๆ ด้วยวิธีการ ซ้ำๆ และเดิมๆ แต่ต้องการผลลัพธ์ที่แตกต่าง” ผมจึงเป็นคนแรกๆของข้าราชการป่าไม้ที่ประกาศไม่เชื่อ และไม่ยอมทำตามแบบเดิมๆ พร้อมเสนอวิธีการใหม่ ที่กลับด้านตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงแบบวิภาษวิธี โดยเปลี่ยนจาก “การตั้งกองกำลัง ไม่ให้คนทำลาย.” มาเป็น “สร้างนักพัฒนาดูแลคนไม่ให้ทำลายป่า” ด้วยแนวทางโครงการ คนอยู่ป่ายังที่ อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร จนบทพิสูจน์ สรุปผลชัดอย่างหนึ่งด้วยตัวเลขทำลายป่าลดลงเป็นศูนย์ด้วยเวลาอันสั้น และงบประมาณเพียงน้อยนิด แต่ยั่งยืน คือลักษณะวิธีการดูแลป่า
ส่วนการปลูกป่า ภาครัฐที่ลงทุนมหาศาลในการยึดที่ทำกินประชาชนปลูก การรณรงค์การปลูกเพื่อถวายเบื้องสูง การส่งเสริมจากภาคเอกชน ภายใต้การออกแบบกำกับการลงทุน โดยอำนาจรัฐ รักษาการ “ลักษณะควบคุม บังคับ อนุญาต และทำให้ก็ล้มเหลวเพราะเกือบ ๑๐๐ ปี ได้ไม่ถึง ๒% ขณะที่เป้าหมาย ป่าหายไปราว๕๐% และหากเทียบกับการปลูกยางพารา เกษตรกรดำเนินการโดยประชาชนในเวลา๑๐๐ ปี เท่ากันกลับมีพื้นที่ถึง ๓๐ ล้านไร่ ราว ๑๐%ของพื้นที่ประเทศโดยรัฐ และไม่ได้ลงทุนเลย
ผมจึงวิภาษวิธีการปลูกป่าจากแนวคิด”ควบคุม บังคับ อนุญาตทำให้มาเป็นส่งเสริม และสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนปลูกและจัดการด้วยตนเอง” ภายใต้แนวคิด ธนาคารต้นไม้ ซึ่งผมได้นำคำธนาคารต้นไม้เมื่อปี๒๕๔๘และเริ่มลงมือทำเมื่อปี ๒๕๔๙ แม้เวลาเพียง ๑๐ปี แต่ชาวธนาคารต้นไม้ได้ปลูกต้นไม้ในแผ่นดินไทย และรอดมากกว่า ๑๐๐ด้วยตัวเลขสมาชิก ๓แสนราย ๓พันสาขา จะมีต้นไม้ ๖๐ ล้านต้น ซึ่งเป็นการปลูกผสมผสาน กับพืชเกษตร ลักษณะวนเกษตร เฉลี่ยต้นไม้ ๔๐ ต้น/ไร่ ก็จะได้พื้นที่ราว ๑.๕ ล้านไร่ ซึ่งเป็นต้นไม้ในที่ดินของประชาชน และประชาชนปลูกดูแลรักษาเอง โดยรัฐไม่ต้องลงทุน
ธนาคารต้นไม้ใช้ฐานคิดอะไร จึงสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนปลูกต้นไม้ได้มากมาย เราสร้างความเชื่อว่าตัวแปรความสุขทุกข์รูปของพลเมืองอยู่ที่ปริมาณต้นไม้
และเราค้นพบจุดอ่อนการปลูกป่า ภาครัฐที่มี ๒ ประการ
- ประชาชนไม่รู้สึกความเป็นเจ้าของ
- ประชาชนไม่มีแรงจูงใจ
จึงวิภาษวิธีมาเป็นการส่งเสริม และสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนทำเองด้วยการ
๑. การไม่รู้สึกเป็นเจ้าของ พลิกเป็นให้ปลูกในที่ดินของตนเองและจัดการโดยประชาชนจะเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ
๒. ไม่มีแรงจูงใจ พลิกเป็นที่รับรองต้นไม้ที่มีชีวิตให้มีมูลค่าเป็นทรัพย์จะสร้างแรงจูงใจ
ปี ๒๕๔๙ จึงเริ่มต้นทำ “ ธนาคารต้นไม้” ทั้งองค์กร และดำเนินการระดับพื้นที่และระดับเครือข่ายจากจังหวัดชุมพรแล้วขยายผลไปทั่วประเทศโดยมีเป้าหมาย
ช่วงเริ่มต้น: การกระจายแนว และการชวนคนปลูกต้นไม้ โดยการปลูกต้นไม้ในใจคน สาระสำคัญ ช่วงที่สอง: การจัดทำข้อมูล ชุดความรู้ และการหาแนวร่วมสร้างตัวอย่างความสำเร็จ ภารกิจหลัก
ช่วงที่สาม: การรวมพลัง ผลักดันเชิงนโยบาย สาระสำคัญคือ เสนอหลักการ ๔ ข้อ เพื่อการปฏิรูป ๙ ด้านและกระบวนการผลักดัน สู่การเป็นกฎระเบียบ /นโยบาย
ซึ่งสาระสำคัญจะเสนอในตอนต่อไป