Outcome Mapping

Share Post :

การติดตามและประเมินผลเพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์ ความสำเร็จและจุดบกพร่อง จำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงาน…Outcome Mapping (แผนที่ผลลัพธ์) คือเครื่องมือการทำงานตัวหนึ่งที่ให้ความสนใจต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคน….
 

แผนที่ผลลัพธ์คืออะไร

Sarah Earl, Fred Carden และ Terry Smutylo: เขียน

International Development and Research Center

พิกุล สิทธิประเสริฐกุล : แปล


แผนที่ผลลัพธ์ (outcome mapping) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดตามและการประเมินผลการทำงาน ที่มาเสริมวิธีการประเมินผลรูปแบบเดิม โดยที่ แผนที่ผลลัพธ์ให้ความสนใจในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ที่เกี่ยวข้องในแผนงานพัฒนา นั่นคือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความสัมพันธ์ กิจกรรม หรือการกระทำของคน กลุ่มคน หรือ องค์กร ซึ่งแผนงานทำงานด้วย การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ อาจเป็นผลสืบเนื่องโดยตรงจากกิจกรรมของแผนงานหรือไม่ก็ได้ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้ มีเป้าหมายอยู่ที่การมีส่วนทำให้ความเป็นอยู่ของคนและสิ่งแวดล้อมดีขึ้น โดยอาศัยเครื่องมือ  เทคนิค และทรัพยากรใหม่ๆ ที่ได้จากกระบวนการการพัฒนา

การติดตามผลการดำเนินงานของแผนงานพัฒนาโดยใช้แผนที่ผลลัพธ์นี้ จะไม่อ้างว่า ความสำเร็จจากการพัฒนาเป็นผลงานของแผนงานพัฒนานั้นๆ เพียงแผนงานเดียว แต่เห็นว่าแผนงานนั้นๆ เป็นเพียงการมีส่วนในความสำเร็จของการพัฒนาเท่านั้น (และโดยข้อเท็จจริง ก็เป็นเรื่องยากที่งานพัฒนา จะสำเร็จได้จากการกระทำของแผนงานใดแผนงานหนึ่งเพียงแผนงานเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นแผนงานที่ดำเนินการโดยคนนอกพื้นที่) และการพัฒนานั้น ถึงที่สุดแล้ว ก็ต้องการให้ส่งผลในระยะยาวทั้งสิ้น ในขณะที่ การมุ่งประเมินที่ผลการพัฒนาในระยะยาว มักไม่ได้ให้ข้อมูลสะท้อนกลับ (feed back) แก่แผนงานในการที่จะปรับปรุงการปฏิบัติงานของแผนงาน แผนที่ผลลัพธ์ จึงเน้นที่ ผลลัพธ์ (outcome) มากกว่าที่ผลกระทบระยะยาว (impact)

แผนที่ผลลัพธ์ถูกพัฒนาขึ้นมาบนหลักคิดที่ว่า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในแผนงานพัฒนาเป็นผู้ ควบคุมการเปลี่ยนแปลงที่พึงเกิดจากการพัฒนา ส่วนคนนอกเป็นเพียงคนที่อำนวยให้เกิดกระบวนการการเปลี่ยนแปลง โดยการช่วยให้เข้าถึงความรู้ โอกาส และทรัพยากรใหม่ๆ ในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น การให้ความสำคัญที่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เกี่ยวข้องในแผนงานพัฒนา ไม่ได้หมายความว่าแผนงานเป็นผู้ตัดสินว่าคนเหล่านั้นจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร และเปลี่ยนแปลงไปทำไม แต่ต้องเป็นความต้องการของคนเหล่านั้นเอง ที่จะเปลี่ยนแปลงเพื่อทำให้เกิดการพัฒนาในพื้นที่ของเขาเอง นั่นคือ การพัฒนาที่ประสบความสำเร็จนั้น ต้องทำและรับผิดชอบโดยคนในพื้นที่เองเท่านั้น

           การพัฒนา เป็นเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน  และระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อม จุดเน้นของแผนที่ผลลัพธ์คือ คน การติดตามและประเมินผลการทำงานของแผนงานโดยใช้ แผนที่ผลลัพธ์นี้ เป็นความพยายามที่จะปรับเปลี่ยนการประเมินผล

ส่วนการประเมินผลโดยเน้นที่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนนั้น  ต้องการเห็นว่าผู้รับผิดชอบเรื่องการกรองน้ำในชุมชนจะไม่ทำเพียงให้ชุมชนมีน้ำสะอาดใช้เท่านั้น หากแต่ต้องใช้เครื่องมือ ความชำนาญ และความรู้ที่เหมาะสมในการตรวจติดตามระดับของสารปนเปื้อนในน้ำ การเปลี่ยนเครื่องกรอง หรือการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ทั้งนี้ อยู่บนฐานคิดอยู่ที่ว่า น้ำจะไม่สามารถสะอาดอยู่ได้ตลอดไป หากปราศจากคนที่ทำการรักษาคุณภาพความสะอาดนั้นไว้

 

แผนที่ผลลัพธ์ให้วิธีการและเครื่องมือแก่แผนงานพัฒนาในการวางแผนและการเข้าถึงศักยภาพของคน กลุ่มคน องค์กร ซึ่งแผนงานต้องการพัฒนา แผนที่ผลลัพธ์ไม่ต้องการที่จะมาแทนที่การประเมินผลแบบเดิม ซึ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงของเงื่อนไข หรือภาวะการของการอยู่ดีกินดีของคน แต่แผนที่ผลลัพธ์จะเติมเต็มการประเมินผลแบบดั้งเดิมเหล่านั้น

 


3 ขั้นตอนของแผนที่ผลลัพธ์


ขั้นตอนที่ 1: การกำหนดกรอบการพัฒนา (Intentional Design) เป็นการสร้างเป้าหมายร่วมกันในภาพรวม ซึ่งจะนำมาสู่แผนและยุทธศาสตร์ที่จะใช้ในการทำงานของแผนงาน เป็นการตอบคำถาม วิสัยทัศน์ (Why) ผู้เกี่ยวข้องในแผนงาน  (Who) การเปลี่ยนแปลงอะไรที่ต้องการ (What) และ แผนงานจะทำให้เกิดกระบวนการการเปลี่ยนแปลงนั้นอย่างไร (How) ขั้นตอนที่ 1 มี 7 ขั้นตอนย่อย คือ

ขั้นย่อยที่ 1 สร้างวิสัยทัศน์ของแผนงาน (Vision)

ขั้นย่อยที่ 2 กำหนดพันธกิจ (Mission)

ขั้นย่อยที่ 3 ระบุภาคีหุ้นส่วนที่เกี่ยวข้องในแผนงาน (Boundary partners)

ขั้นย่อยที่ 4 กำหนดผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ (Outcome challenges)

ขั้นย่อยที่ 5 สร้างเกณฑ์วัดความก้าวหน้า (Progress markers)

ขั้นย่อยที่ 6 กำหนดแผนยุทธศาสตร์ (Strategy maps)

ขั้นย่อยที่ 7 การดำเนินการระดับองค์กร (Organizational practices)

ขั้นตอนที่ 2: การติดตามผลลัพธ์และการดำเนินงานของแผนงานและผู้เกี่ยวข้อง เน้นการประเมินตนเองเป็นหลัก ขั้นตอนนี้มี 4 ขั้นตอนย่อย คือ

ขั้นย่อยที่ 8 จัดลำดับการติดตามการทำงานของแผนงาน (Monitoring priorities)

ขั้นย่อยที่ 9 สร้างแบบบันทึกการติดตามผลลัพธ์ (คือ การเปลี่ยนแปลงของภาคีหุ้นส่วน) (Outcome Journal)

ขั้นย่อยที่ 10 สร้างแบบบันทึกยุทธศาสตร์ที่ใช้ในแผนงาน (Strategy Journal)

ขั้นย่อยที่ 11 สร้างแบบบันทึกการดำเนินงานของแผนงาน (Performance Journal)

ขั้นตอนที่ 3: การจัดทำแผนการประเมินผล จัดลำดับความสำคัญในการประเมินผล และการสร้างแผนการประเมินผล ระยะนี้มี 1 ขั้นตอนย่อย คือ

ขั้นย่อยที่ 12 แผนการประเมินผล (Evaluation plan)

 

กระบวนการระบุการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และการออกแบบกรอบการติดตามการทำงาน รวมถึงแผนการประเมินผลโดยใช้ แผนที่ผลลัพธ์จะเน้นการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับแผนงานในทุกขั้นตอน  ซึ่งรวมถึง ภาคีหุ้นส่วน (boundary partner) และ ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมตั้งแต่การออกแบบไปจนถึงการเก็บข้อมูล จะส่งเสริมความรู้สึกของการเป็นเจ้าของแผนงาน และส่งเสริมให้มีการนำผลที่ได้ไปใช้ประโยชน์ ปรับปรุงการทำงาน  นอกจากนี้ ในกระบวนการยังช่วยกระตุ้นจิตสำนึก สร้างพันธะผูกพันต่อแผนงาน และการส่งเสริมความเข้มแข็งให้แก่คนทำงานในแผนงานด้วย

 

การพิจารณาแผนงานพัฒนา โดยการแยก กระบวนการออกจาก ผลที่ได้จากแผนงานนั้น เป็นสิ่งผิดพลาด เพราะหมายถึงว่า องค์กรเห็นว่า ผลที่ได้นั้น เป็นผลงานของแผนงานโดยตรง ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องนัก เนื่องจาก ผลเหล่านั้น ไม่ได้เกิดโดยตรงจากแผนงานใดเพียงแผนงานเดียว แต่ถ้าเราให้ความสำคัญที่จะติดตามและประเมินผล การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับภาคีหุ้นส่วน ก็จะทำให้ได้เสียงสะท้อนที่มีประโยชน์เกี่ยวกับ การปฏิบัติงานของแผนงาน และผลที่เกิดขึ้นภายใต้อิทธิผลของแผนงาน

 

พื้นฐานการคิดในเรื่องนี้ ก็คือ ทรัพยากรที่ใช้ในการติดตามและประเมินผลนั้นมีจำกัด  จึงควรใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยใช้ในการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจอิทธิพลจากการดำเนินงานของแผนงาน ซึ่งจะช่วยในการปรับปรุงการปฏิบัติงานของแผนงาน นอกจากนี้ การมีระบบที่สามารถเก็บข้อมูลที่เชื่อถือได้ในเรื่องของการปฏิบัติงานของแผนงานและผลลัพธ์ จะช่วยให้แผนงานได้รับความน่าเชื่อถือจากแหล่งทุน

 

การประเมินผลแบบเดิมนั้น ใช้การเก็บข้อมูลจากกิจกรรมจำนวนหนึ่ง ส่วน แผนที่ผลลัพธ์ให้วิธีการในการกำหนดภาพรวมของเป้าประสงค์และยุทธศาสตร์ของแผนงาน เพื่อติดตามว่าแผนงานมีส่วนทำให้เกิดผลต่างๆได้อย่างไร แผนที่ผลลัพธ์ให้ระบบที่ต่อเนื่องในการคิดแบบภาพรวม และคิดในเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อดำเนินงานไปสู่จุดมุ่งหมายของแผนงาน และยังเป็นเครื่องมือในการบันทึกการดำเนินงานของแผนงานด้วย โดยการติดตามการทำงานใน 3 ส่วน คือ (1) การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้มีส่วนร่วมในแผนงาน (2) ยุทธศาสตร์ของแผนงาน และ (3) แนวทางการทำงานในฐานะองค์กรหน่วยหนึ่ง

 

 


 

Outcome Mapping

แผนที่ผลลัพธ์ : การสร้างการเรียนรู้ และการสะท้อนกลับในแผนงานพัฒนา


รุ่งโรจน์ เพชระบูรณิน
กองบรรณาธิการ

 

เมื่อวันที่ 14-16 กรกฎาคม 2547 ที่ผ่านมา ทีมสนับสนุนกลางและทีมที่ปรึกษาภูมิภาคในโครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ-ท้องถิ่นน่าอยู่ ได้จัดสัมมนาเชิงวิชาการ เรื่อง แผนที่ผลลัพธ์: การบันทึกการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อการติดตามและการเรียนรู้โดยมี คุณวีรบูรณ์ วิสารทสกุล ฝ่ายติดตามโครงการ สสส. มาเป็นวิทยากรให้ความรู้ ให้คำแนะนำการใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “Outcome Mapping” หรือที่เรียกกันเองเป็นไทยว่า แผนที่ผลลัพธ์

ภายในงานนี้ผู้เขียนมีโอกาสได้ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยน (นอกรอบ)  กับวิทยากร และที่ปรึกษาภูมิภาค 3 ท่าน ก็มีคุณเสรี จุ้ยพริก, คุณธีรทัต ศรีไตรรัตน์ ที่ปรึกษาทางวิชาการประจำพื้นที่ภาคใต้ และคุณมงคล พนมมิตร ที่ปรึกษาทางวิชาการประจำพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ซึ่งมีข้อคิดดีๆ จากการพูดคุยแลกเปลี่ยน ประมวลสรุปได้ดังนี้

 

วีรบูรณ์ วิสารทสกุล มงคล  พนมมิตร เสรี จุ้ยพริก ธีรทัต ศรีไตรรัตน์
“โครงการซึ่งมีอยู่ภายในจังหวัด ชี้ชัดกันไม่ได้ว่าเกิดจากเราหรืองานสำเร็จหรือไม่สำเร็จเกิดจากปัจจัยหลายเรื่องที่เข้ามาเกี่ยวข้องเยอะ ที่นี้ปัจจัยหลายเรื่องเข้าเกี่ยว ข้องเยอะ มันไม่สามารถออกแบบได้ว่าเมื่อทำกิจกรรม ก.แล้วได้ผล ข. และค.”
 
“Outcome Mapping มันเป็นเครื่องมือสำหรับการทำงานให้บรรลุเป้าที่เราตั้งไว้ เป็นเครื่องมือที่คนทำงานจะใช้มองตัวเอง”
 

“คือถ้ามองประโยชน์โดยตรงเราได้ปรับมุมมอง ทำให้รู้ทำให้เข้าใจว่า Outcome Mapping ช่วยให้เราเห็นความ สำคั­ของเพื่อนร่วมงาน เครือข่ายพันธมิตร และที่สำคั­ทำให้เรารู้ว่าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของความ สำเร็จ

“Outcome Mappingทำให้คิดในรายละเอียดมากขึ้น สิ่งตรงนี้ถ้าเรานำไปประยุกต์ใช้กับทางทีมจังหวัด คิดว่าทีมจังหวัดจะสามารถมองลงไปในรายละเอียดและสามารถประเมินผลตัวเองในการดำเนินงานได้

 

ถาม:  อยากทราบว่า Outcome mapping คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไร? แล้วทำเมื่อไร นั่นเป็นประเด็นที่ 1 ประเด็นที่ 2 มีความเห็นหรือข้อสังเกตอย่างไรกับการที่จะเอา Outcome Mapping ไปใช้เคลื่อนงานโครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ-ท้องถิ่นน่าอยู่ในระดับจังหวัด

 

วีรบูรณ์ วิสารทสกุล :  

อันแรกคือตัว Outcome Mapping เป็นเครื่องมือที่ถูกพัฒนามาโดย  IDRC ศูนย์วิจัยและพัฒนานานาชาติอยู่ที่แคนดา เนื่องจากตัวคนที่พัฒนาเครื่องมือนี้ไม่ค่อยพอใจกับเครื่องมือการประเมินแบบเก่าหรือเครื่องมือการวางแผนแบบเก่า ซึ่งมันมีข้อจำกัดที่ว่า เครื่องมือคิดว่าผลสำเร็จของโครงการๆหนึ่ง ส่วนให­่จะมาจากการที่คนดำเนินงานโครงการเป็นคนผลักดันงานพัฒนา ที่ในข้อเท็จจริงมันอยู่ ในระบบเปิด คือว่าเราลงไปทำงานในจังหวัดเราเป็นแค่หนึ่งโครงการ ที่มีส่วนกับความสำเร็จที่เกิดขึ้นร่วมกับโครงการอื่นๆ หรือหลายๆ

โครงการซึ่งมีอยู่ภายในจังหวัด ชี้ชัดกันไม่ได้ว่าเกิดจากเราหรืองานสำเร็จหรือไม่สำเร็จเกิดจากปัจจัยหลายเรื่องที่เข้ามาเกี่ยวข้องเยอะที่นี้ปัจจัยหลายเรื่องเข้าเกี่ยวข้องเยอะมันไม่สามารถออกแบบได้ว่าเมื่อทำกิจกรรม ก.แล้วได้ผล ข. และค. ตามมามันไม่เป็นไปอย่างนั้นแต่พอมันน่าจะเกิดอะไรอย่างนั้นแต่ตัว Outcome Mapping ถูกออกแบบมาเพื่อให้เข้าใจว่าโครงการมันเกิดขึ้นในระบบเปิดมันมีปัจจัยแวดล้อมที่จะทำให้มันเกิดผลที่ไม่ได้คาดหวังหรือเกิดผลลบได้แล้วเขามองว่าในโครงการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อเนื่องพอพัฒนายั่งยืนต่อเนื่องมันต้องไปผูกกับพฤติกรรมของบุคคล
ถ้าเป็นกรอบการวางแผนการประเมินแบบเก่ามันจะผูกกับผลงานสมมติเรื่องของโครงการติดตั้งก็อกน้ำสะอาดให้กับชุมชน ถ้าเป็นการประเมินแบบเก่าก็จะไปนับหัวก็อกที่ติดตั้งได้ นับจำนวนคนที่ได้รับน้ำสะอาด แต่ถ้าเป็น Outcome Mapping จะไปดูว่าคนที่รับผิดชอบเรื่องน้ำสะอาดมีความรู้ความเข้าใจสามารถแก้ปั­หาเมื่อก็อกเสียหายได้หรือไม่ สามารถติดต่อผู้เชี่ยวชา­ได้ไหม คือมุ่งไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนที่สร้างความสำเร็จให้กับโครงการไม่ได้มุ่งที่ความสำเร็จ คือมุ่งที่คนในพื้นที่ที่จะสร้างความสำเร็จด้วยตัวของเขาเอง โครงการเป็นแค่ตัวหนุนเท่านั้น โครงการไม่ใช่ตัวที่จะไปทำให้เกิดความสำเร็จแต่ไปหนุนให้คนในพื้นที่ไปสร้างความสำเร็จด้วยตัวเขาเอง ดังนั้น Outcome Mapping จึงเหมาะแก่โครงการที่เป็นโครงการพัฒนาทั่วๆ ไปใช้ในการวางแผนการติดตามและการประเมินผลได้ทั้งหมด

มงคล พนมมิตร :

Outcome Mapping มันเป็นเครื่องมือสำหรับการทำงานให้บรรลุเป้าที่เราตั้งไว้ เป็นเครื่องมือที่คนทำงานจะใช้มองตัวเอง เป็นต้นว่า Outcome Mapping จะดีที่เทคนิคแล้วไม่ได้เชื่อมโยงกับงานในพื้นที่เพราะฉะนั้นตัว Outcome Mapping มองชีวิตสาธารณะมันเป็นเครื่องมือการทำงานที่ได้ตรงนี้คือจะช่วยในการตอกย้ำความคิดว่างานที่จะสำเร็จได้นั้นต้องเกิดจากความร่วมมือของหลายๆ ฝ่ายเราเป็นส่วนหนึ่งของงานนั้นๆ ความสำเร็จไม่ได้เป็นของเราอย่างเดียว สิ่งที่ Outcome Mapping จะบอกไม่ใช่ว่างานจะสำเร็จได้ด้วยคนใดคนหนึ่ง อันนี้เป็นการตอกย้ำความคิดของเรา กับเรื่องของสำนึกจะต้องเป็นสิ่งที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของคน ซึ่งตรงนี้เองเข้าใจว่า 2 ตัวนี้มันช่วยตอกย้ำความคิดว่าเราจะต้องตระหนักถึงเรื่องนี้ในการทำงานให­่ ถ้าไม่ลงรายละเอียดมันจะนำไปสู่ความสำเร็จยาก

เสรี จุ้ยพริก :

คือถ้ามองประโยชน์โดยตรง เราได้ปรับมุมมอง ทำให้รู้ทำให้เข้าใจว่า Outcome Mapping ช่วยให้เราเห็นความสำคั­ของเพื่อนร่วมงาน เครือข่ายพันธมิตร และที่สำคั­ทำให้เรารู้ว่าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของความสำเร็จ พอเรามีเครือข่ายพันธมิตรเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม และสามารถเอาไปใช้ในการอบรมได้ และอีกแง่มุมหนึ่ง เราเอาประเด็นสำคั­ของเรื่อง Outcome Mapping ไปนั่งคุยไปตั้งคำถามทำให้เขาสามารถอยู่ในทิศทางของเป้าหมายได้มากขึ้น ผลสุดท้ายของ Outcome Mapping มันคล้ายเป็นตัวกำกับว่าตัวที่เราจะต้องไปให้ถึงจะต้องมีตัวบ่งชี้อะไร มีตัวชี้แนะอะไร ต้องทำอะไร ต้องเพิ่มอะไรลงไปเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องให­่สำหรับสังคมไทย เพราะว่าสังคมไทยในระบบการศึกษาไม่ได้ฝึกให้เราตั้งคำถาม แต่ Outcome Mapping สอนให้เราตั้งคำถามซึ่งมันค่อนข้างฝืนกับวิถีการทำงานของเราเพราะส่วนให­่เราไม่ค่อยได้ตั้งคำถามทำให้เราไม่สามารถเข้าถึงความจริงไม่สามารถยกระดับการพัฒนา และไม่สามารถหาโมเดลใหม่ๆ ขึ้นมาได้ ที่เห็น Outcome Mapping จะต้องใช้การออกกำลังทางความคิดสูงมาก ถ้าเอาไปใช้ในสังคมไทยมันต้องปรับค่อนข้างเยอะเหมือนกัน เพราะว่ามันคิดเป็นระบบ และอันที่ 2 คิดแบบเชื่อมโยงซึ่งจะมีผลต่อกันเป็นลูกโซ่แต่ละอันทำจากให­่ไปหาเล็กจากกว้างไปหาลึกซึ่งในสภาพการณ์ทำงานในโครงการชีวิตสาธารณะฯ เราจะต้องทำงานร่วมกับเครือข่าย
สิ่งที่จะได้ประโยชน์คือเราไม่ต้องทำงานโดยตรงเพราะเราทำงานผ่านภาคีพันธมิตรอีกทีหนึ่ง เพราะฉะนั้น Outcome Mapping ทำให้เราไม่หลุดทิศทาง
 


ถาม:  แล้ว Outcome Mapping เกี่ยวข้องเชื่อมโยงอย่างไรกับการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์

           

วีรบูรณ์ วิสารทสกุล :  

เชื่อมโยงกับการวางแผนยุทธศาสตร์ คือ Outcome Mapping ก็เป็นเครื่องมือในการวางแผนอยู่แล้ว เพราะว่าจะเริ่มจากการกำหนดตัววิสัยทัศน์ที่แผนงานอยากจะเห็น แล้วก็ Scope ตัวเองมาที่พันธกิจในพื้นที่ หรือในความสามารถในศักยภาพที่แผนงานทำได้ วิสัยทัศน์อาจจะกว้างแต่พันธกิจมันจะไม่ระบุว่าเราสามารถทำอะไรตรงไหนได้บ้าง เราอาจจะทำการเมืองภาคพลเมือง เราทำเรื่องตรงนั้นได้ดีก็จะทำเฉพาะตรงนั้น เพราะฉะนั้นแผนงานเราก็มุ่งสร้างความสำเร็จเฉพาะส่วน

แผนงานเรามีส่วนสนับสนุนความสำเร็จทั้งหมดมีส่วนสนับสนุนแต่ไม่ได้ความสำเร็จทั้งหมด เป็นแค่ส่วนเดียวของวิสัยทัศน์ทั้งหมด เสร็จแล้วก็ไล่มานั้น ตั้งแต่วิสัยทัศน์พันธกิจ หาตัวภาคีหุ้นส่วนที่จะทำให้ตัววิสัยทัศน์ และพันธกิจเราสำเร็จมีใครบ้างที่อยู่ในพื้นที่ที่จะเป็นตัวหลักในการทำงาน แล้วเราคาดหวังว่าเขามีพฤติกรรมอย่างไรที่จะทำให้แผนงานมันสำเร็จ เสร็จแล้วก็ค่อยมาคิดแผนที่เราจะไปทำงานกับตัวภาคีหุ้นส่วนต้องทำอะไรเพื่อให้เขาเปลี่ยนพฤติกรรม หรือมีกิจกรรมหรือมีความสัมพันธ์แบบใหม่ตัวเราต้องทำอะไรบ้างต้องทำเป็นขั้นตอน  และร่วมกันไปคิดอย่างเป็นขั้นตอน

 

มงคล พนมมิตร :

Outcome Mapping ถ้าเราเอาไปประยุกต์เป็นกระจกเพื่อให้มันสะท้อนดูว่าแผนยุทธศาสตร์จังหวัดที่ทำไปแล้วมันเป็นยังไง ผมคิดอย่างนี้ว่าแผนยุทธศาสตร์ที่เราใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Log Frame  ไปทำของแต่ละจังหวัดไม่สมบูรณ์ เนื่องจากระยะเวลาจำกัดและข้อจำกัดของประสบการณ์การเรียนรู้ของพื้นที่ยังมีไม่พอ เพราะฉะนั้นแผนที่ออกมายังไม่สมบูรณ์ ความไม่สมบูรณ์ตรงนี้เราจะใช้เครื่องมือตัวนี้ไปเป็นกระจกได้ยังไง คือว่าไม่ต้องไปดูตัวโครงการและไม่ต้องไปดูแผนภาพรวมของจังหวัดทั้งหมด แต่ไปดูตัวไหนของแผนหรือผลลัพธ์ที่จะเกิดแล้วใช้เครื่องมือตัวนี้เข้าไปจัดการ

ถาม: พูดถึงระหว่าง Outcome Mapping กับการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์มีลักษณะต่างกันอย่างไร แล้วเราจะเลือกอะไรเข้าไปใช้

วีรบูรณ์ วิสารทสกุล :

จริงๆ แล้วขึ้นอยู่กับคนเลือกใช้ เรามีกรอบเรามีวิธีคิดอย่างไร

 

ธีรทัต    ศรีไตรรัตน์ :

ความต่างที่เห็นได้ชัดเจนก็ในเรื่องของการแตกรายละเอียดเพียงแต่ว่าผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ยังเป็นก้อนๆ อยู่ รายละเอียดจะเห็นลงไปลึกมากที่นี้เรื่องของรายละเอียดตรงนี้เราไม่ค่อยคำนึงถึงมาก่อนมาเรียนรู้เรื่อง Outcome mapping ทำให้คิดในรายละเอียดมากขึ้น

สิ่งตรงนี้ถ้าเรานำไปประยุกต์ใช้กับทางทีมจังหวัดคิดว่าทีมจังหวัดจะสามารถมองลงไปในรายละเอียดและสามารถประเมินผลตัวเองในการดำเนินงานได้ ซึ่งมันสอดรับกับการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์เพราะจริงๆ แล้วเรื่อง Outcome Mapping ถ้าว่าไปมันคล้ายๆ กับการจัดการเชิงยุทธศาสตร์อยู่แล้วแต่จะแตกในเรื่องของรายละเอียดมันจะปิดช่องว่างของความผิดพลาดให้น้อยที่สุด
 


ช่วยกันคิด

ช่วยกันทำ
 


 

ถาม:

เราจะเอา Outcome Mapping ไปใช้ประโยชน์อย่างไรในตัวจังหวัด

วีรบูรณ์ วิสารทสกุล :    

1. คือคนทำงานต้องเริ่มเห็นให้ชัดว่าตัวเขาก็ต้องมีแผนที่จะลงไปทำงานกับคณะทำงานจังหวัดเริ่มคิดให้มากว่าถ้าเขาจะสามารถเปลี่ยนให้คณะทำงานเป็นเป็นไปตามที่เขาต้องการจะเห็น เช่น ต้องมีความกระตือรือร้นสนใจงานวิชาการมากขึ้นที่ปรึกษาหรือผู้ประสานงานต้องทำอะไรบ้าง ต้องเข้าไปสนับสนุนอย่างไรบ้าง จากเมื่อก่อนอาจจะมีแผนแต่เป็นเพียงแผนแค่ติดตามเท่านั้น แต่ว่าตัวกรอบในตัว Outcome Mapping มันจะช่วยเฟรมวิธีคิดว่าถ้าเราจะทำเรื่องนั้น อีกอันหนึ่งในตัว Outcome Mapping จะมีขั้นตอนในการทำ Organization คือมันจะช่วยให้เรามองตัวเองว่าเราจะเปลี่ยนอย่างไร มันก็จะมีคำถาม 8 ข้อ คำถามที่เวลาเราทำงานทุกเดือน ทุก 2 เดือน ต้องมานั่งถามตัวเองว่าเราได้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้กับแผนงานบ้างหรือไม่ มีแนวคิดใหม่เกิดขึ้นระหว่างทำงานบ้างหรือไม่ มีเสียงสะท้อนจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญบ้างไหม อย่างภาคีอื่นในจังหวัดที่เขาไม่ได้ร่วมแต่เขาสังเกตว่าเราทำงานยังไง คณะทำงานจังหวัดทำงานยังไง เราไปฟังเขาบ้างไหม ข้อมูลเหล่านี้จะมาช่วยให้เราปรับแผนการทำงานในเดือนถัดไป หรือในอนาคต เพราะเราต้องปรับเปลี่ยน มันต้องทำยังไงบ้าง

 

ธีรทัต    ศรีไตรรัตน์ :

ถ้าเอาไปใช้กับจังหวัดเข้าใจว่าจะต้องมีการประยุกต์ โดยดูที่ตัวแผนที่เขาทำแล้วเอามาดูกันแล้ว เราใช้ตรงนี้เข้าไปจัดแต่ในการเข้าไปจัดตรงนี้เราต้องบอกให้เขาเข้าใจร่วมกันว่ามันมาเรียนรู้โดยการใช้ Outcome Mapping ไปทดลองใช้กันดูเพิ่มเติม จริงๆ Outcome Mapping เป็นทั้งเทคนิคในขณะเดียวกันก็เป็นวิธีการที่นำไปสู่การจัดการที่รอบด้านเป็นการจัดการในเชิงยุทธศาสตร์ด้วยตรงนี้ทีมจังหวัดน่าจะมีส่วนเข้ามาเรียนรู้ร่วมกันด้วย ไม่ใช่แค่ทีมที่ปรึกษาเอาไปใช้เรียนรู้ส่วนเดียว ถึงแม้ว่าไปทำความเข้าใจว่าในช่วงแรกๆ มันจะติดขัดบ้างก็ไม่เป็นไร พวกเราก็ไม่เคยเอาไปใช้คิดว่าต้องทำต่อเนื่องทั้งทีมจังหวัดก็เกิดการยอมรับนำเอา Outcome Mapping ไปเรียนรู้ด้วยไปจับแผนงานอะไรต่างๆ ก็จะมีประโยชน์มาก แต่สิ่งเหล่านี้ต้องทำตลอดเพื่อให้เกิดทักษะและความเชียวชาญขึ้นมาเองทีหลังแต่อาจจะติดขัดบ้างในช่วงแรกๆ
 

มงคล พนมมิตร : 

อย่างน้อยเบื้องต้นคือการที่จะต้องไปสืบหาค้นหา Boundary Partner ที่เป็นตัวจริงเสียงจริงหมายความว่าเป็นผู้ที่มีความเชื่อในเรื่องการเคลื่อนงานประชาสังคม การปลุกเร้า การสร้างกระแสสังคม ให้คนลุกขึ้นมาตื่นตัวเอาเรื่องเอาราวต่อสาธารณะดังนี้คิดว่ามีอยู่ทุกท้องถิ่นมีอยู่ทุกจังหวัดทุกอำเภอเพียงแต่ว่าคนทำงานภาคประชาสังคมจะกลับมาเจอกันหรือไม่เท่านั้น เพราะฉะนั้นเครื่องมือตรงนี้มันน่าจะช่วยในการที่จะไปหา Boundary Partner ได้อย่างชัดเจนและสามารถทำงานร่วมกันที่มีระบบการติดตามทฤษฏีของเครื่องมือได้อย่างชัดเจน

 
 


ถาม: เครื่องมืออันนี้ถ้าลงไปถึงจังหวัดทางจังหวัดจะจัดกระบวนการยังไงที่จะเอาไปใช้ได้

วีรบูรณ์ วิสารทสกุล :

ถ้าทางจังหวัดจะเลือกใช้จังหวัดต้องมองว่าความสำเร็จที่จะเกิดขึ้นไม่ได้เกิดขึ้นจากเขา 10 คน หรือ 15 คนแต่ต้องมองว่า ความสำเร็จเกิดจากภาคีหุ้นส่วนที่มีอยู่ในจังหวัดเยอะแยะเลย ถ้าจังหวัดมองว่าคนอื่นสำคัญ คณะทำงานจังหวัดก็ต้องไปหนุนเสริมให้เขาเติบโต ช่วยให้คณะทำงานจังหวัดทำงานได้มากขึ้นซึ่งตัว Outcome Mapping ก็จะช่วยในแง่นี้เหมือนกัน คือช่วยให้คณะทำงานจังหวัดมีโอกาสประสบผลสำเร็จ เช่นเรื่องสิ่งแวดถ้าจะทำงานให้สำเร็จมีใครอยู่บ้างที่จะช่วยให้งานเรื่องสิ่งแวดล้อมในจังหวัดก้าวไปในทิศทางที่เราอยากจะเห็น

แต่ถ้าคณะทำงานในจังหวัดมองไม่เห็นใครเลยนอกจากตัวเอง มันก็จะเหมือนหลายครั้งที่ผ่านมาคือยาก และเหนื่อย และก็ท้อเพราะว่าไม่มีใครเข้ามาช่วยแต่ถ้าเริ่มจากที่ใครเข้ามาช่วยบ้างแล้วเราสามารถทำงานกับใครได้บ้างและคิดแผนเพื่อไปสนับสนุนให้คนอื่นทำงานได้มากขึ้นก็จะมีคนช่วยให้เราทำงานได้เยอะขึ้นอย่างที่ไปที่ร้อยเอ็ดจัดงานกับคณะทำงานจังหวัดพอเราแบ่งกลุ่มตามประเด็นสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นงานที่เขาทำอยู่แล้วเวลาเราแบ่งกลุ่มก็จะคิดไม่ออกว่าเขาไปทำงานกับใคร เพราะเขาคิดว่าเขานี้แหละตัวจริงแล้วเขาก็บอกว่าถ้าจะทำอย่างนี้ต้องใช้เงินและเขาก็จะบอกว่าเอาเงินมาให้เขาแล้วเขาจะทำเองเขาจะไม่มองหาคนอื่นอีกเลย

 

มงคล พนมมิตร : 

ตัว Outcome Mapping อาจจะมีข้อจำกัดนิดหนึ่งกับคนทำงานในพื้นที่มันต้องคิดโดยละเอียดแต่ธรรมชาติของคนทำงานมักจะมีข้อจำกัดเรื่องนี้มันเป็นเรื่องที่จะต้องเรียนรู้ เพราะว่าการทำงานที่ผ่านมาทำเยอะอาจจะเกิดขึ้นได้เพราะเราขาดความละเอียดแต่เครื่องมือตัวที่ยอมรับว่าเป็นการคิดที่ละเอียดมากทุกแง่ทุกมุม คิดโดยเชื่อมโยงให้เห็นว่าจากตัวเป้าหมายจากตัวเนื้องานจากตัวภาคีหุ้นส่วน รวมถึงการติดตามการสรุปคือการเกิดเชิงละเอียดมากทุกขั้นทุกตอนแต่มันจะมีข้อจำกัดกับคนทำงานที่คิดว่ามันน่าจะเป็นปัญหาของการใช้เครื่องมือคือคนในพื้นที่คนทำจะคิดอะไรลึกซึ้งที่ไม่ใช่ธรรมชาติของคนทำงานแต่เขาจำเป็นต้องเรียนรู้ถ้าเขาต้องการที่จะพัฒนาส่วนย่อยๆแต่ที่ผ่านมาอาจจะไปสะดุ้งเรื่องมากพอ

 

วีรบูรณ์ วิสารทสกุล :

อย่างน้อยต้องลงไปพูดคุยกับเขาว่า ถ้าอยู่เฉยๆ เขาก็อยู่แบบเดิมต้องลงไปช่วยเปิดวิธีคิดเขาไปทบทวนปีที่ผ่านมาเขาทำอะไรสำเร็จบ้างไม่สำเร็จบ้าง อย่างผู้ประสานงานก็เอาผลจากการจัด Outcome Mapping เอาไปนั่งคุยกับเขาว่าเขาคิดไว้แบบนี้คิดคนที่เกี่ยวข้องอะไรบ้างและที่ผ่านมาเขาได้ไปเชื่อมอะไรหรือไม่ ก็ปรากฏว่าไม่ได้ทำอะไรเลยจากเป้าหมายที่วางไว้จะขยายไป 3 อำเภอ ที่จะเปลี่ยน อบต. สามารถเปลี่ยนได้แค่คนเดียว อบต. เขาก็อาจจะคิดมากขึ้นว่าปีที่2เปลี่ยนการทำงานแบบใหม่

 

 

เสรี จุ้ยพริก : 

ผมคิดว่าจุดที่สำคัญคือว่าการที่คัดเลือก Boundary Partner สำคัญที่สุดในอันที่ 1 และอันที่ 2 คือว่าเรื่องของการกำหนดตัวบ่งชี้ความสำเร็จเพื่อจะนำไปสู่ผลลัพธ์ถัดลงเรื่องของการปรับตัวเองขององค์กรในประเด็นต่างๆโดยเฉพาะคำถาม 8 ข้อ เพื่อที่เราจะรองรับผลลัพธ์ภายใต้ตัวบ่งชี้ ข้อฝาก จะทำยังไงให้มันเรียบง่ายในการที่จะไปถ่ายทอดแต่ก็มันยังใหม่อยู่แต่ถ้าเราลองทำสักพักเราก็จะไปประยุกต์ใช้ดูผมคิดว่ามันจะมีประโยชน์กับคนทุกกลุ่มทุกเพศทุกวัยสำหรับงานนี้และเป็นการสร้างนวัตกรรมใหม่ในเรื่องของการจัดระบบทิศทางในเรื่องของการทำงาน

 
 


ถาม: Outcome Mapping จะหนุนการเคลื่อนงานชีวิตสาธารณะได้อย่างไร

วีรบูรณ์ วิสารทสกุล :

กระบวนการมี 11 ขั้นตอนแต่เราอาจจะเอาบางส่วนมาใช้ก็ได้ เช่น ในการวิเคราะห์หา Boundary Partner อะไรอย่างนี้ หรือการทำงานขององค์กรแบบนี้อาจจะตั้งคำถามกับจังหวัดว่า 2 เดือนที่ผ่านมาคุณได้ฟังเสียงสะท้อนบ้างหรือไม่ และมีใครสะท้อนความเห็นบ้าง แล้วเราได้ฟังอะไรบ้างหรือไม่

 
 


 

Share Post :
Scroll to Top