เสรีภาพสื่อไทยในยุคเศรษฐกิจการเมืองผูกขาด
สื่อมวลชนได้กลายเป็นสื่อเชิงพาณิชย์มากขึ้น แสวงหากำไรสูงสุด บางสำนักก็เข้าตลาดหลักทรัพย์ซึ่งเป็นสิ่งที่ปฎิเสธยากในยุคการเมืองผูกขาด ฝ่ายกองบรรณาธิการมีอำนาจน้อยกว่าฝ่ายจัดหาโฆษณา……
เรียบเรียง : สันสกฤต มุนีโมไนย |
||
เพราะยังอยู่ภายใต้กรมประชาสัมพันธ์ซึ่งยังเป็นของรัฐ จึงทำให้ขาดความหลากหลายในด้านเนื้อหา โดยเฉพาะเนื้อหาประเภทข่าวที่ปัจจุบันกลายเป็นแบบแผนตามนโยบายแต่ละสถานี ซึ่งผูกพันอยู่โครงสร้างและลักษณะการเป็นเจ้าของสถานีของรัฐ และผู้ที่เป็นเจ้าของงานประมูล ส่งผลให้นักข่าวถูกจำกัดเสรีภาพไม่กล้าเสนอข่าวที่แสดงความขัดแย้งของผลประโยชน์ของเจ้าของสถานีและผู้มีอำนาจรัฐ
|
||
ดร.พิรงรอง กล่าวว่า สำหรับการควบคุมเนื้อหนังสือพิมพ์นั้นรัฐสามารถทำได้โดยกลไกสำคัญคือตำรวจสันติบาล รวมทั้งการใช้กระบวนการยุติธรรมด้วยการใช้วิธีการฟ้องหมิ่นประมาทนักหนังสือพิมพ์ซึ่งที่ผ่านมาพบว่านักหนังสือพิมพ์อยู่ในแนวโน้มที่สูงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากโจทก์ที่เป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐหรือนักการเมือง ข้อสังเกตอีกประการคือการพยายามเพิ่มความยุ่งยากให้แก่นักหนังสือพิมพ์ที่ถูกฟ้องทั้งกับตำรวจและศาล หรือฟ้องในหลายๆ จังหวัดเพื่อให้เสียเวลาเดินทางไปประกันตัวและเสียค่าประกันตัว นอกจากนี้ยังมีความพยายามที่จะแทรกแซงความเป็นอิสระของกองบรรณาธิการซึ่งปรากฏการณ์ที่เห็นได้ชัดเจนคือการอาศัยกลไกทางธุรกิจแล้วปลดหรือโยกย้ายบรรณาธิการข่าวไปสู่ตำแหน่งที่ไม่มีบทบาทในการกำหนดทิศทางข่าว “ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการที่เจ้าของกิจการปลดนายวีระ ประทีปชัยกูร บรรณาธิการหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ออกจากตำแหน่ง ทั้งๆที่นายวีระดำรงตำแหน่งนายกสมาคมนักข่าวหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และในวันที่ ปลดนั้นคือวันที่ 3 พ.ค.ซึ่งถือเป็นวันเสรีภาพสื่อระดับสากล ถือว่ารัฐตบหน้าวงการสื่อสารมวลชน 2 ครั้งใหญ่ๆ” ดร.พิรงรอง กล่าว |
||
ดร.วิลาสินียังกล่าวอีกว่า ในช่วงสถานการณ์การเลือกตั้งทั่วไป กลุ่มนักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ จะผลักดันโครงการพัฒนาและเฝ้าระวังสื่อขึ้นมา เพื่อตรวจสอบการทำหน้าที่ของสื่อในการเสนอข่าวการเลือกตั้งว่ามีความเอนเอียงและมีความเป็นกลางมากน้อยแค่ไหน |
||
ต่อมา ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านเศรษฐกิจยุคสารสนเทศ “วันนี้ความชอบธรรมของรัฐลดน้อยถอยลง วาจาสิทธิของรัฐบาลที่ประชาชนเคยเชื่อ ประชาชนก็เห็นชัดว่าไม่ได้มีอยู่จริง คนในสังคมเริ่มรู้แล้ว โครงการต่าง ๆของรัฐบาลที่โฆษณาก็ล้มเหลว ไม่ได้เป็นไปตามนั้น เช่น โครงการอีลิทการ์ด โครงการกรุงเทพเมืองแฟชั่น คนไม่เชื่อว่ารัฐบาลซื่อสัตย์สุจริต มีเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน ความชอบธรรมลดลง การสั่งการจึงไม่ได้ผล ต้องใช้วิธีบีบบังคับ หรือซื้อด้วยเงิน” ดร.สมเกียรติ กล่าว ดร.สมเกียรติ ได้นำเสนอรูปแบบในการแทรกแซงสื่อของรัฐ 10 รูปแบบ คือ 1. การใช้สื่อของรัฐโฆษณาประชาสัมพันธ์รัฐบาลฝ่ายเดียว และกีดกันคนที่คิดเห็นขัดแย้งกับรัฐบาล ที่น่าห่วงตอนนี้คือรัฐบาลใช้สื่อโทรทัศน์สนับสนุนแนวคิดตัวบุคคลที่มีประวัติส่งเสริมเผด็จการ “ขวาจัด” ออกทีวี 2. แทรกแซงสื่อที่ได้รับสัมปานจากรัฐด้วยการกดดันเพื่อต่อรองเรื่องการต่อใบอนุญาต 3. ใช้กฎหมายการพิมพ์บีบรัดจำกัดเสรีภาพ 4. ใช้กฎหมายอื่นๆ เช่น ใช้ กฎหมายฟอกเงินเล่นงานสื่อที่ไม่เห็นด้วยกับตน 5. ใช้อำนาจรัฐขัดขวางการขยายตัวของกลุ่มธุรกิจ และสื่อที่มีความคิดเห็นตรงข้ามรัฐบาล เช่นวิทยุชมชน และสื่อขนาดเล็ก 6. แทรกแซงบุคลากรผู้ปฎิบัติงานสื่อ เช่น ใช้อำนาจสั่งการปลดบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ 7. การเข้าไปเป็นเจ้าของสื่อเสียเอง 8. ให้ความช่วยเหลือธุรกิจ ที่เจ้าของสื่อมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ด้วย และกีดกันธุรกิจอื่นที่เป็นปรปักษ์ทางการเมืองกับรัฐบาลเพื่อกดดันให้ร่วมเป็นพันธมิตรกับรัฐบาล 9. ใช้พันธมิตรทางการเมือง และธุรกิจของตนฟ้องร้องสื่อ แทนนักการเมือง เช่น กรณี ฟ้องแกนนำ คปส. ทั้งนี้ถือเป็นการคุกคามเสรีภาพจากรัฐ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า รัฐบาลปัจจุบันได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มทุนผูกขาด และกลุ่มทุนผูกขาดใช้สื่อสร้างภาพเพื่อให้เห็นว่าสินค้าของตัวเองมีความแตกต่างกับรายอื่น และการเลือกตั้งหน้าการเมืองผูกขาดมีความชัดเจน จะมีพรรคการเมืองเดียวได้เสียงข้างมาก ดังนั้นทั้งการเมืองและเศรษฐกิจที่ผูกขาด จะเป็นพลังอำนาจหยาบ ( Hard Power ) ที่อุดมไปด้วยพลังเงิน ทั้งกระสุนอำนาจ กระสุนเงิน จากเดิมที่ยังมีพลังของอำนาจละเอียด ( Softpower) คือมีความชอบธรรม ก็ลดน้อยถอยลงไปเรื่อย ๆ ที่ผู้นำรัฐบาลมักจะอ้างว่าได้รับเลือกมาจากประชาชน 11 ล้านคน ตอนนี้ก็ไม่ค่อยได้รับความน่าเชื่อถือ |
||
ด้านนายสมชาย แสวงการ นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ยอมรับว่ายุคนี้เป็นยุคที่เศรษฐกิจและการเมืองเข้มแข็งมาก โดยกลุ่มธุรกิจที่กุมอำนาจดังกล่าวมี 5 กลุ่ม คือ กลุ่มธุรกิจโทรคมนาคม กลุ่มธุรกิจขนส่ง พลังงาน สถาบันการเงิน สาธารณสุข ที่ดิน ที่สำคัญคือสื่อสารมวลชนก็อยู่ในมือของเขา โดยกลุ่มเหล่านี้ใช้อำนาจรัฐบาลควบคุมสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อสมท. ซึ่งควบคุมมาถึงช่อง 3 และช่อง 5 และ ช่อง 7 ควบคุมโดยกองทัพบก รวมถึงช่อง 11 ที่ควบคุมโดยตรงจากกรมประชาสัมพันธ์ และควบคุมสถานีวิทยุกว่า 500 สถานี มีเพียงสื่อหนังสือพิมพ์ประเภทเดียวที่ยังเป็นอิสระอยู่ |
||
เศรษฐกิจเข้มแข็งแล้ว ภาวะตลาดทุน และตลาดเงินก็เข้ามามีส่วนต่อสื่อด้วย โดยเฉพาะการนำสื่อเข้าตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงราคาสูงขึ้น หรือ กรณี การเข้าไปควบคุมองค์กรอิสระ เช่น คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ(กสช.) ซึ่งเป็นที่รู้กันว่า 7 คน ที่ได้รับเลือก มีการบล็อคกันไว้เรียบร้อยแล้ว ว่าเป็นตัวแทนของกลุ่มไหนที่เข้ามา กติกาก็จะถูกกำหนดโดยคนกลุ่มนี้ |
||
“กรณีที่กำลังสับสนวุ่นวายในขณะนี้ คือ การที่กรมประชาสัมพันธ์เข้าไปจัดระเบียบความถี่ของวิทยุชุมชน โดยตอนนี้เปิดให้จดทะเบียน และทำให้เกิดความสับสน โดยรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้จัดสรรคลื่นความถี่ให้ภาคประชาชน แต่ปรากฏว่า ตอนนี้มีคลื่นนับพัน ทั้งจากนักการเมือง อบต. นักธุรกิจ นักจัดรายการวิทยุอิสระ บริษัทขายเทป กลุ่มนักธุรกิจบันเทิง ฯ ผู้ประกอบการสถานีวิทยุหลัก และเครือข่ายใหญ่ ๆ เร่งเข้ามาจับจองคลื่นความถี่ทั้งในเมือง และกทม. จนสับสนอลหม่านไปหมด ทำให้ราคาสูงขึ้นโดยไม่จำเเป็น ตอนนี้เครื่องของกรมประชาสัมพันธ์ ขายดิบขายดี ไม่ต่ำกว่า 1,000-2,000 เครื่อง ราคา 2 แสนบาท/ชุด” นายสมชาย กล่าว |
||
|
||
|