สถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน
ผมคิดว่าประเทศไทยได้ผ่านวิกฤตที่สำคัญ ๆ มาหลายครั้ง เราผ่านมาตั้งแต่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม เราผ่าน 16 ตุลาคม เราผ่านเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เราผ่านวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ แต่ว่าโจทย์ใหญ่โจทย์หนึ่งที่ผมคิดว่าเป็นความท้าทายของเรามาโดยตลอดแล้วเรายังไม่สามารถตอบได้สำเร็จก็คือ ..(ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิช )
ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิช นักวิชาการจาก TDRI ผมคิดว่าประเทศไทยได้ผ่านวิกฤตที่สำคัญ ๆ มาหลายครั้ง เราผ่านมาตั้งแต่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม เราผ่าน 16 ตุลาคม เราผ่านเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เราผ่านวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ แต่ว่าโจทย์ใหญ่โจทย์หนึ่งที่ผมคิดว่าเป็นความท้าทายของเรามาโดยตลอดแล้วเรายังไม่สามารถตอบได้สำเร็จก็คือ จะทำอย่างไรให้กระบวนการประชาธิปไตยและกระบวนการประชาสังคมมีความยั่งยืน โจทย์นี้ดูเหมือนว่าจะสำคัญมากเพราะการที่กระบวนการประชาธิปไตยและประชาสังคมไม่มีความเข้มแข็งยั่งยืนอย่างแท้จริงนั้น จะเห็นได้ว่า ทำให้เราไม่สามารถหลุดพ้นวงจรการผูกขาดเศรษฐกิจการเมืองได้เลย 14 ตุลาคม เราคิดว่าเราผ่านมาแล้ว เราคิดว่าชนะแล้ว 6 ตุลาคม เราก็ผ่านมา พฤษภาคมเราก็ผ่านมา แต่การผูกขาดเศรษฐกิจการเมืองไปสู่ประชาธิปไตยที่แท้จริงไม่ได้เกิดขึ้น และความรุนแรงยังมีอยู่ การใช้สื่อของรัฐโฆษณาชวนเชื่อต่าง ๆ ยังมีอยู่ ผมคิดว่าโจทย์ที่ทางประชาสังคมต้องช่วยกันตอบก็คือทำอย่างไรจะทำให้ภาคประชาชนมีความเข้มแข็งอย่างแท้จริง ผมคิดว่าน่าจะมีอย่างน้อย 2 องค์ประกอบ องค์ประกอบแรก คือภาคประชาชนจะต้องเรียนรู้ในการใช้ความรู้ทำความเข้าใจกับปรากฎการณ์ของสังคมซึ่งเปลี่ยนแปลงไปอย่างสลับซับซ้อน ทั้งเศรษฐกิจและการเมือง และด้านสังคม ขณะเดียวกันทำอย่างไรจึงจะมีการสร้างเครือข่ายเชื่อมต่อกันเพื่อหนุนเสริมการทำงานของแต่ละกลุ่มเพื่อแก้ปัญหาให้ได้ เราจำเป็นต้องมีการปฏิรูปทั้งสองระดับ ทั้งปฏิรูประดับบน ก็คือปฏิรูปกฎกติกาเศรษฐกิจการเมืองจะทำอย่างไรจะปฏิรูปการเมืองภาคสอง ส่วนด้านเศรษฐกิจก็คือจะทำอย่างไรจะปฏิรูปเศรษฐกิจให้พ้นจากเศรษฐกิจผูกขาด ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้เป็นกติกาใหญ่ ในขณะเดียวกันก็มีกติกาย่อยซึ่งต้องปฏิรูปหลายเรื่องมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการศึกษา เรื่องสื่อ เรื่องสาธารณสุข เรื่องการจัดสรรทรัพยากร ทั้งหมดนี้ต้องอาศัย 2 เรื่องคือ ความรู้และเครือข่าย คุณทวี วิริยะฑูรย์ นักธุรกิจ และประธานเครือข่ายองค์กรการเงินชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช ปีข้างหน้าสิ่งที่จะท้ายทายสังคมคมไทยอย่างมากมีอยู่ 2 – 3 ประเด็น ประเด็นแรกก็คือ ความจริงทางเศรษฐกิจจะค่อย ๆ ปรากฏขึ้น แน่นอนเศรษฐกิจอาจจะดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา แต่ในส่วนที่ดีขึ้นนั้น ผลประโยชน์จะตกอยู่กับกลุ่มทุนกลุ่มใหญ่ ส่วนคนส่วนใหญ่ของประเทศนั้นจะได้รับประโยชน์น้อยด้วยเหตุที่ว่าการทำมาหากินจะมีปัญหามากขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ เหตุการณ์ต่าง ๆ ได้พิสูจน์ในเวลาที่ผ่านมา แม้ว่าจะไม่ปรากฏทั้งหมด เช่นหนี้สินของชาวบ้านจะเพิ่มขึ้น เรื่องนี้เป็นข้อเท็จจริง ถึงจะปกปิดอย่างไรมันจะปรากฏขึ้นมา ประการที่สอง ในทางการเมือง เนื่องจาก จะมีการเลือกตั้งเร็ว ๆ นี้เรื่องต่าง ๆ ที่ถูกปิดซ่อนเร้นอยู่ จะถูกเปิดเผย ปรากฏให้เห็นกันมากขึ้น แม้แต่ในพรรคใหญ่เองก็ปรากฎขึ้นมาแล้วว่ามีอยู่หลายมุ้ง สิ่งเหล่านี้เป็นปรากฎการณ์ธรรมดาไม่ใช่เรื่องลึกลับอะไร ทุกอย่างจะถูกเปิดเผยความความขัดแย้งต่าง ๆ ก็จะมี ผลกระทบต่าง ๆ มีแน่นอน ไม่แน่ว่านโยบายที่รัฐบาลได้ประกาศไปแล้วนั้น จะมีผลโดยสมบูรณ์ ถ้าเราย้อนกลับไปดูสักนิด ไม่ลืม นโยบายหลายประการ เช่น การปราบคอร์รัปชันเป็นต้น มันก็ไม่ได้เกิดผลดีตามที่ปรากฎ และเป็นที่ทราบกัน ยังมีอีกหลายกรณีที่ยังไม่ได้ความกระจ่างแจ้ง เพราะฉะนั้นอีกประเด็นหนึ่งที่ผมคิดว่ามีความสำคัญมาก ก็คือเรื่องของศีลธรรมในสังคมไทย จะได้รับการท้ายทายโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นของความโปร่งใสต่าง ๆ ผลประโยชน์ทับซ้อนจะยิ่งมีหนักขึ้น เหตุผลที่ผมกล้าพูดเช่นนี้เพราะเหตุว่าในการเลือกตั้งได้มีการลงทุนในทางการเมือง ลักษณะสังคมของเราเป็นสังคมบริโภค สังคมทุนนิยม ที่พบกันอยู่ในปัจจุบัน รัฐบาลสนับสนุนเรื่องนี้ตลอด เพราะฉะนั้นการลงทุนก็เป็นเรื่องธรรมดา เมื่อมีการลงทุนก็ต้องมีการเรียกทุนคืน เพราะฉะนั้นสิ่งนี้เป็นการท้าทาย ผมอยากจะเรียน เป็น ประเด็นสุดท้ายว่า ประชาชนจะต้องตื่นตัวและติดตามจับตามองเรื่องนี้เป็นพิเศษ สังคมไทยจะต้องได้รับการปฏิบัติการปกครองในเชิงนโยบายจะต้องโปร่งใส ผมคิดว่าในแนวทางประชาชนจะช่วยได้มาก ถ้าหากว่ามีส่วนร่วมในเรื่องกระบวนการพวกนี้ให้สังคมของเราโปร่งใส คุณนิศานาถ โยธาสมุทร กลุ่มอาสาบางกอก ความท้าทายในประเทศชาติของเราทุกวันนี้ ในช่วงที่ผ่านมาเราได้พบเรื่องมากมายหลายอย่างเกิดขึ้น ล้วนแล้วแต่เป็นวิกฤตสำหรับประชาชน อย่างเช่น ปัญหาภาคใต้หรือเรื่องสึนามิที่พวกเราได้เผชิญกันแล้ว ยังอาจจะมีโศกนาฎกรรมตามาอีกมากมาย ซึ่งเป็นเรื่องมโหฬารใหญ่มาก เป็นวิกฤตซึ่งมาอย่างหลากหลายรูปแบบ และมาอย่างรอบตัว มีเรื่องที่จะต้องจัดการทุกระบบ เมื่อมีเรื่องใหญ่ก็เกิดขึ้นกับประเทศชาติเรา เราได้พบว่าพลังภาคประชาชนมีบทบาทสูงอย่างยิ่ง และได้เข้ามาเป็นกระบวนการอาสา ทั้งในกระบวนการอาสาที่เป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันอยู่แล้วของภาคประชาชน และกระบวนการอาสาที่ไม่ได้เป็นเครือข่ายเลย แต่มาด้วยจิตด้วยพลังของการที่อยากจะช่วยกันแก้ไขปัญหาประเทศชาติบ้านเมือง ซึ่งกระบวนการเหล่านี้เป็นพลังที่มหาศาลมาก ณ วันนี้ถ้าใครมาเป็นรัฐบาลแล้วไม่เปิดเวทีกว้างให้กับภาคประชาชนซึ่งมีพลังมากมายขนาดนี้ได้เข้ามามีส่วนร่วมแล้วละก็ คงจะไม่สามารถแก้วิกฤตประเทศชาติได้อีกต่อไป ในอนาคต ในความเห็นเท่าที่เราได้สัมผัส มองว่าในอนาคตวิกฤตมากมายที่จะเผชิญกับประชาชนไม่ใช่ประเทศเราประเทศเดียวเท่านั้น มันข้ามมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภัยธรรมชาติ ซึ่งได้เกิดขึ้นแล้ว และในอนาคตก็จะเกิดขึ้น อย่างในช่วงผ่านมาเราพบว่าประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่ต้องเผชิญกับแผ่นดินไหวแล้ว มีการไหวต่อเนื่องแล้ววันหนึ่งหลาย ๆ ครั้ง เพราะฉะนั้นข้อมูลข่าวสารเหล่านี้ได้เปิดหรือยัง ประเด็นที่ 1 ก็คือเรื่องของการเปิดข้อมูลข่าวสาร ที่ทันต่อภาวะโลก กับประเทศและประชาชนที่ต้องเผชิญ อันนี้รัฐได้จัดโครงสร้างเหล่านี้ ให้ภาคประชาชนรับทราบอย่างพร้อมแล้วหรือยัง หมายความว่าพร้อมด้วยความรู้และพร้อมด้วยจิตใจ พร้อมด้วยความเชื่อมโยงระหว่างภาคประชาชนด้วยกัน และพร้อมด้วยที่จะเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมกับรัฐ ในเรื่องสำคัญคือประชาชนเป็นผู้อยู่ของจริง เป็นผู้เผชิญปัญหาทุกอย่างและเป็นผู้ที่อยู่ในอาณาบริเวณทั่วประเทศ เพราะฉะนั้นการสื่อสารที่ภาคประชาชนจะนำไปสู่รัฐและรัฐจะตอบรับในการร่วมเข้าแก้ปัญหาวิกฤตอย่างมีระบบ ประเด็นที่สอง คือกระบวนการจัดการต่อปัญหาหลากหลายรูปแบบแล้ว ในภาวการณ์วิกฤตและการสร้างสรรค์ ถ้ารัฐมีโครงสร้างในการบริหารจัดการ เป็นกระบวนการที่สนับสนุนให้พลังดังกล่าวที่ว่านี้ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจุดต่าง ๆ ที่เขามีความชำนาญ เชี่ยวชาญ และรู้ดีในพื้นที่ท้องถิ่น ก็จะถือเป็นการสร้างสรรค์ อันจะนำมาซึ่งประโยชน์แก่ประเทศชาติโดยรวม และขอให้รัฐสนับสนุนการจัดการที่เป็นระบบและมีคุณภาพ ในวันนี้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เราพบว่าโครงสร้างและความคิดแบบเก่าที่รัฐทำอยู่นั้น ไม่สามารถตอบสนองวิกฤตที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อีกต่อไป ซึ่งอันนี้เป็นประเด็นสำคัญที่เรามองเห็น และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รัฐควรจะสรุปบทเรียนว่ารัฐจะต้องจัดการอย่างไร ต่อกำลังและพลังที่มีอยู่ของประชาชนเพื่อจะเข้ามาร่วมกันรับมือกับวิฤกตและเข้ามาร่วมกันสร้างสิ่งดี ๆ ให้สามารถจะคลี่คลายภัยที่เราเผชิญได้ในอนาคต ตรงนี้เป็นความสำคัญของประเทศชาติและเป็นความท้าทายของรัฐบาลชุดใหม่ อาจารย์ชัยนาท จิตตวัฒนะ อดีตข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข และนักเขียนสถาบันเด็ก มูลนิธิเด็ก วิกฤตเรื่องของความไม่เชื่อในตนเอง ไม่ศรัทธาในตนเองว่าตนเองเป็นคนมีความสามารถ ชุมชนจะต้องมีโอกาสในการได้รับการสนับสนุนจากหน่วยราชการท้องถิ่น เช่น หน่วยการศึกษาท้องถิ่นเข้าไปจัดสัมมนา เรื่องของศักยภาพของคนในชุมชนแล้วคนของรัฐเองมีหน้าที่กระตุ้นให้คนในชุมชนได้แสดงความสามารถ และช่วยสรุปให้เขาเห็นว่าเห็นไหมคุณมีความสามารถ ถึงแม้ว่า คุณจบ ป.4 ก็จริง แต่มหาลัยชีวิตคุณจบปริญณาเอก แล้วเขาก็เกิดความชำนาญ คุณไม่ได้เรียนเศรษฐศาสตร์ ไม่ได้จบปริญญาเอก แต่คุณทำธนาคารหมู่บ้านมีเงินตั้ง 350 ล้าน อย่างคุณลุงอัมพร ด้วงปาน ที่จะนะ จังหวัดสงขลา อย่างนี้คุณลุงอัมพร ก็ควรได้ปริญญาเอกทางเศรษฐศาสตร์ เราไม่ควรยกย่องคนจากมหาวิทยาลัยดังๆ และละเลยคนอีก 350 ล้าน หรือแนวคิดของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนก็เป็นการสะท้อนให้เห็นชัดเจนว่า นี่แหละคือมหาวิทยาลัยที่จะส่งเสริมศักยภาพของมนุษย์ แต่ต้องทำให้มากขึ้น ฉะนั้นวิกฤติ 3 ประการนี้ถ้าเราสามารถทำได้ เราก็สามารถทำคนให้มีคุณค่า ผมคิดว่าคนมีคุณค่าจะสำคัญมากกว่าเศรษฐกิจ เหมือนกับท่านอาจารย์ หลวงพ่อชาไปบิณฑบาทที่อังกฤษ ผมมีโอกาสดูวีดีโอ ทีวีที่บีบีซี ฉายแล้วฉายอีก ท่านอาจารย์หลวงพ่อชาไปบิณฑบาทที่อังกฤษ ถูกต่อต้าน นักบวชก็มาต่อต้าน ใครก็มาต่อต้าน จนลูกศิษย์บอกว่าหลวงพ่อครับอย่าบิณฑบาทต่อเลย หลวงพ่อบอกว่าอาตมาไม่ได้บิณฑบาทเอาข้าว อาตมาบิณฑบาทเอาคน แล้วหลวงพ่อชาก็เดินหน้าบิณฑบาทต่อไป หลังจากนั้นประมาณ 2 อาทิตย์ หลวงพ่อชาก็ครองใจคนในเกาะอังกฤษได้ แล้วบาทหลวงก็มาคุยกับท่าน ชาวอังกฤษเองก็หันมานับถือศาสนาพุทธมากขึ้น ดอกบัวกำลังจะบานที่ตะวันตก แต่คนไทยเราเอาดอกบัวโยนทิ้งหรือเปล่า เราควรนำ 3 เรื่องมาแก้วิกฤตของเรา โดยใช้ปัญญา โดยใช้ความรักในสังคมโลกและสังคมไทยครับ นายอรุณฉัตร คุรุวาณิชย์ (Smith) เครือข่ายเยาวชนนักเศรษฐศาสตร์แห่งประเทศไทย (Yesnot) สำหรับประเด็นที่คิดว่าน่าจะเป็นประเด็นร้อนแรงอีก 2 – 3 ปีข้างหน้า ผมคิดว่าเป็นประเด็นเรื่องความปลอดภัย ความปลอดภัยของเยาวชน ความปลอดภัยของชาวไทยทุกคน เป็นประเด็นที่ผมคิดว่าเป็นประเด็นที่ทางรัฐบาลจะหยิบยกมาเป็นประเด็นสำคัญ เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ซ้ำซ้อนกัน ทั้งเหตุการณ์สึนามิและรถไฟใต้ดินชนกัน ผมคิดว่ารัฐบาลต้องการที่จะสร้างภาพขึ้นมาใหม่ ภาพลักษณ์ที่ดี ผมคิดว่ารัฐบาลน่าจะเล็งเรื่องนี้ แต่ปัญหาที่แท้จริง และปัญหาที่สำคัญที่ผมคิดว่าควรจะแก้น่าจะเป็นปัญหาเรื่องสื่อเพราะทุกวันนี้สื่อสามารถเข้าสู่เยาวชน สามารถเข้าถึงคนทุกกลุ่มได้อย่างรวดเร็ว ผมคิดว่ารัฐบาลน่าจะเข้ามาควบคุมดูแลเรื่องนี้อย่างจริงจัง โดยไม่เห็นแก่กลุ่มผมประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้น อย่างรายการวิทยุ รายการทีวีสมัยนี้ผมเห็นเรื่องการศึกษามีน้อยมาก อย่าให้รัฐบาลเห็นเรื่องของผลประโยชน์เพียงอย่างเดียว อยากให้เพิ่มเรื่องการศึกษา เพิ่มเรื่องความรู้เข้าไปด้วย เพื่อเป็นการสร้างคนที่ดี สร้างเยาวชน สร้างคนในชาติ ซึ่งบางคน ผมยังเห็นว่าขนาดคนกรุงเทพฯเอง ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่แม้แต่ ก – ฮ ยังท่องไม่ได้ แต่เขากลับดูแต่ละคร ผมเลยอยากให้เข้ามาดูแลเรื่องสื่อ เรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งซึ่งใกล้ตัวผมมากๆ เรื่องการศึกษา ผมเป็นนักเรียน ม.6 จะจบการศึกษาภาคบังคับแล้ว แต่ผมยังไม่เห็นการพัฒนาการศึกษาอย่างยั่งยืน ผมเห็นรัฐบาลแต่ละชุดเข้ามาก็มีการปรับเปลี่ยนเรื่องการศึกษาอยู่เรื่อย ๆ จนอาจารย์ผู้สอน ผู้บริหารสถานศึกษาไม่เข้าใจในระบบอย่างแท้จริง ปรับเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ตามนโยบายกระทรวง ไม่มีอะไรที่เป็นหลักเป็นฐานอย่างแท้จริง ผมคิดว่าควรสร้างความยั่งยืนให้กับการศึกษาไทย เพราะไม่เช่นนั้นแล้วการศึกษาไทยมีแต่จะด้อยไปเรื่อย ๆ ตามประเทศอื่นไม่ทัน เปลี่ยนทุกปี มันจะไม่มีการพัฒนา เพียงแต่เปลี่ยน ๆ และจะลดลงไปเรื่อย ๆ คุณภาพจะด้อยลงไปเรื่อย เราพยายามจะตามคนอื่นให้ทัน ตามประเทศอื่นให้ทันโดยที่เราไม่มองว่าเด็กไทยเป็นอย่างไร เราพยายามตามหลังประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยที่เราไม่คิดว่าคนไทยต้องการอะไร ผมอยากให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับเรื่องนี้จริง ๆ ไม่ใช่เพียงการนำนโยบายมาหาเสียง เอานโยบายมาบอกว่าจะให้เรียนฟรี นโยบายต่าง ๆ ให้เด็กไปโรงเรียนโดยไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ความจริงแล้วผมอยากให้รัฐบาลเข้ามาดูระบบการศึกษาไทยอย่างแท้จริง ระบบที่ให้เห็นได้เรียนรู้ให้เด็กประยุกต์ใช้ได้อย่างแท้จริง ไม่ใช่เรียนจากหนังสือ ไม่ได้เรียนตามคำบอก ทุกวันนี้ถ้าเราเรียนในหนังสือ เรียนตามคำบอก เราไปเทียบชั้นกับต่างประเทศไมได้แล้ว ประเทศเวียดนามกำลังแซงเรา อีกไม่นาน ผมคิดว่ากัมพูชาหรือพม่าจะแซงเราได้ นายชานนท์ บุญนุช ตัวแทนนักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ถ้าพูดถึงเรื่องการศึกษาสมัยนี้พูดเรื่องการศึกษาผู้ใหญ่คิดแทนเด็ก ผู้ใหญ่เขียนหลักสูตรมา โดยที่ท่านบอกว่าท่านวิจัยมาแล้ว สำรวจมาแล้วว่าเด็กต้องการอะไร แต่ผมไม่เคยได้ทำแบบสำรวจแม้แต่แบบเดียว ผมอยู่โรงเรียนภาคบังคับมา 6 ปี ไม่เคยมีแม้แต่ครั้งเดียว ผมก็ไม่ทราบว่าท่านเอาข้อมูลมาจากไหน ซึ่งความจริงแล้วผมถามเพื่อน ๆ ผม ไม่มีใครพอใจกับระบบการศึกษาทุกวันนี้ เนื่องจากว่าขนาดวิชาเลือกเสรี ยังเป็นวิชาที่โรงเรียนบังคับเลือก คือว่า ต้องเลือกไม่ว่าจะอะไรก็ตาม ผมเลยอยากเสนอแนวทาง คือให้เด็กได้เลือกในวิชาที่ตัวเองต้องการ โดยที่มีการกำหนดว่าต้องให้เรียนครบตามกำหนดนี้ถึงจะจบหลักสูตร แต่ว่าไม่ได้บังคับว่าเด็กต้องเรียนอะไรบ้าง และมีทางเลือกให้เด็กมากขึ้นไม่ใช่ว่าเรามีบุคลากร อย่างเช่นเรื่องภาษา โรงเรียนไหนที่มีบุคลากรที่สอนภาษาจีนได้ ก็เปิดภาษาจีน โรงเรียนไหนมีบุคลากรสอนภาษาญี่ปุ่นได้ก็เปิดสอนภาษาญี่ปุ่น แต่ไม่ได้สนใจเลยว่าเด็กต้องการเรียนภาษาอะไร อย่างนี้แสดงว่าไม่ลงทุนด้านการศึกษาที่แท้จริง คิดว่ามีบุคลากรด้านนี้อยู่ก็สอนด้านนี้เลย อย่างโรงเรียนผมนี้ภาษาจีนมีเด็กเรียน 20 คน แต่เปิดได้เพราะมีอาจารย์สอน อย่างภาษาญี่ปุ่นตัวผมเอง ผมอยากเรียน แต่ผมอยู่สายวิทย์ผมไม่มีสิทธิที่จะได้เรียน เพราะว่าไม่มีอาจารย์สอน และไม่มีวิชาที่สาย วิทย์สามารถเลือกเรียนเพิ่มได้ เพราะวิชาที่สายวิทย์ต้องเรียนมีมาก ผมก็ไม่เข้าใจว่าความจริงแล้วมันจะได้ใช้หรือเปล่า ผู้ใหญ่กำลังคิดแทนเด็กหรือเปล่า ผมอยากจะฝากประเด็นนี้ไว้ ถ้าตอนนี้ผู้ใหญ่คิดว่าตอนนี้กำลังทำพลาดอยู่ อยากจะแก้ไขให้มันดีขึ้น ผมอยากให้เด็กเข้าไปมีส่วนร่วมมากกว่านี้ ให้เด็กได้เสนอแล้วผู้ใหญ่เอาไปใช้ ไม่ใช่เสนอไปแล้วก็หาย ผมเคยจัดการเสวนามาหลายครั้ง แต่ว่าผลที่ได้เมื่อส่งไปก็หาย เนื่องจากผู้บริหารกระทรวงหรือใครก็ตามที่มีอำนาจไม่สนใจที่จะรับฟัง ผมเลยอยากให้ผู้ใหญ่ที่มีอำนาจที่พอจะทำให้เรื่องนี้เป็นจริงได้ ที่คิดว่าการศึกษาไทยควรมีการพัฒนามากไปกว่านี้ ในด้านที่ดีขึ้นให้หันมามองและเข้าใจเด็กมากกว่านี้ รับฟังอย่างเปิดใจว่าเด็กต้องการอะไรจริง ๆ อย่ารับฟังโดยที่ว่าตัวเองคิดมาก่อนแล้ว เพราะนั่นจะทำให้เด็กไม่ได้รับอะไรเลย อยากฝากเรื่องนี้ไว้ สำหรับประเด็นที่ผมให้ความสำคัญในอีก 2 – 3 ปีข้างหน้าผมได้หยิบยกเรื่องความปลอดภัยของประชาชนไทยในชาติไม่ว่าจะเป็นจากภัยธรรมชาติ หรือระบบความปลอดภัยของรถไฟใต้ดินและในเรื่องต่างๆ ซึ่งผมมีความคิดเห็นในเรื่องปัญหาในภูมิภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งคร่าชีวิตคนไทยไปอย่างมากมาย และผู้ที่อาศัยอยู่ในภาคใต้มีการดำรงชีวิตอย่างไม่เป็นสุข สำหรับแนวทางในการแก้ปัญหานี้ผมคิดว่าเราควรจะเปลี่ยนวิธีการแก้ไขปัญหาโดยเข้าไปรับฟังความคิดเห็นของคนในพื้นที่นั้น ไม่ใช่ความคิดเห็นของพวกเราเป็นหลัก ขอบคุณครับ นายนิธิธรรม เบญจพฤษชาติ ตัวแทนอาสาสมัครมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) ประเด็นพฤติกรรมความไม่เหมาะสมของวัยรุ่นทุกวันนี้ ที่มองว่าจะต้องแก้เพราะว่าหลายคนคงเคยได้ยินคำว่าเด็กวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า เรามาย้อนดูว่าเด็กในวันนี้เป็นอย่างนี้ ผู้ใหญ่ในวันข้างหน้าเป็นอย่างไร ถ้าเด็กทุกวันนี้ยังเหลวแหลกยังเที่ยวกลางคืน ยังมีพฤติกรรมที่ยังไม่เหมาะสมอยู่ เมื่อเขาโตขึ้นเขาจะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่สมบูรณ์ และลองคิดต่อไปว่าถ้าเขามีลูกต่อไปอีกเขาจะเลี้ยงลูกออกมาอย่างไร และประเทศชาติจะเป็นอย่างไรต่อไป อันนี้คือประเด็นที่สำคัญที่สุด ผมมองว่าประเด็นที่เราต้องแก้ไข เราต้องแก้ไขในลักษณะสังคมใหญ่ก็คือ หนึ่งสังคมครอบครัว ช่วงนี้มีปัญหามาก คือพ่อแม่ขาดการให้ความอบอุ่นแก่ลูก ๆ และเห็นลูกเป็นเจ้านาย พอลูกอยากได้อะไรสั่งพ่อแม่เลย จัดให้ทุกอย่าง พอสังคมต่อมาสังคมโรงเรียน ทุกวันนี้ระบบการศึกษาคือว่าอาจารย์ไม่ค่อยสนใจนักเรียน เพราะว่าทุกวันนี้ระบบการศึกษาอาจารย์เห็นนักเรียน คล้าย ๆ หนูทดลองพอระบบนี้ไม่เหมาะไม่ดีก็เปลี่ยนใหม่ พอปีนี้ล้มก็เปลี่ยนใหม่อีกทีหนึ่ง พอสังคมสุดท้าย สังคมสื่อมวลชน ถือเป็นสังคมสุดท้ายที่ทำให้วัยรุ่นเสียมาก เพราะวันนี้สื่อมวลชนขาดจรรยาบรรณในการทำงานมาก คือจ้องจะหากินกับเด็ก หลอกเด็กคิดว่าเด็กไม่รู้หรอก ในวันนี้ผมคิดว่าควรจะแก้ไขโดยด่วนครับ |
ที่มา : ข่าวจาก เครือข่ายบิ๊กแบง |