ศิลปวัฒนธรรม และลัทธิบริโภคนิยมหลังสมัยใหม่
การโฆษณาต่างๆ คือส่วนของหนึ่งของกระบวนการเกี่ยวกับการสื่อสารไปถึงปัจเจกบุคคลเป็นคนๆ และแฟชั่นส่วนตัวทางสังคม, “ซึ่งพวกมันได้ประกอบกันขึ้นมาโดยตรงในความเข้าใจของพวกเราเองและคนอื่นๆ” หนึ่งในเหตุผลที่มีอยู่หลายประการที่ว่าทำไม โลกหลังสมัยใหม่(postmodern) จึงปรองดองกันกับการโฆษณาก็คือ…
การโฆษณาต่างๆ คือส่วนของหนึ่งของกระบวนการเกี่ยวกับการสื่อสารไปถึงปัจเจกบุคคลเป็นคนๆ และแฟชั่นส่วนตัวทางสังคม, “ซึ่งพวกมันได้ประกอบกันขึ้นมาโดยตรงในความเข้าใจของพวกเราเองและคนอื่นๆ” หนึ่งในเหตุผลที่มีอยู่หลายประการที่ว่าทำไม โลกหลังสมัยใหม่(postmodern) จึงปรองดองกันกับการโฆษณาก็คือ ทั้งคู่ต่างสนใจในกระบวนการของการสร้างตัวตนขึ้นมา การเต็มไปด้วยความหลอกลวงที่อยู่ข้างใต้ของการโฆษณา ซึ่งเคยเป็นที่กังวลต่อนักวิจารณ์อย่างมากในอดีต มาถึงช่วงนี้ดูเหมือนว่าไม่เป็นปัญหาแต่อย่างใดอีกต่อไป | |||
|
|||
แนวคิดของพวกปีกขวาและปีกซ้ายเกี่ยวกับลัทธิบริโภคนิยม แน่นอน หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญซึ่งเป็นแกนกลางในช่วงทศวรรษที่ 1980s ก็คือ การประเมินค่าใหม่อีกครั้งจากปีกซ้ายและปีกขวา เกี่ยวกับบทบาทของลัทธิบริโภคนิยมในทางวัฒนธรรม – ในฝ่ายของปีกขวา อันนี้ได้นำไปสู่รูปแบบอันหนึ่งในการเข้าแทนที่เกี่ยวกับคุณค่าต่างๆ ของวัฒนธรรมชั้นสูงในแบบ “tory” (ผู้สนับสนุนหลักการอนุรักษ์นิยมที่ให้กษัตริย์มีอำนาจควบคุมรัฐสภา) ด้วยรูปแบบใหม่อันหนึ่งของความคิด, ในด้านหนึ่งนั้น, ได้รับเอาเศรษฐศาสตร์แนวใหม่อันหนึ่งมา, และในอีกด้านหนึ่ง, ได้ผสมผสานรูปแบบใหม่เกี่ยวกับลัทธิ populism ในทางวัฒนธรรม – ในฝ่ายของปีกซ้าย, มีความต้องการตอบรับในหนทางใหม่ๆ กับสิ่งซึ่งเป็นวัฒนธรรมใหม่อย่างแจ่มชัด อันนี้สามารถพบเห็นได้ว่า มันเกิดขึ้นก่อนการล่มสลายของโลกคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกและสหภาพโซเวียต. ย้อนกลับไปไกลถึงช่วงกลางทศวรรษที่ 1980s, Kathy Myers (1986, pp.130ff) ได้ตักเตือนพวกฝ่ายซ้ายที่ไม่ตระหนักถึงพลังอำนาจเกี่ยวกับลัทธิบริโภคนิยมในความเป็นอยู่ของผู้คน ลัทธิบริโภคนั้นไม่ใช่กระบวนการปฏิกริยา ซึ่งอยู่นอกเหนือไปจากเรื่องของเศรษฐศาสตร์แต่อย่างใด. มันได้รับการให้เหตุผลในแนวทางนี้ที่ว่า การไปช๊อปปิ้งมิใช่คำแก้ตัวสำหรับสิ่งที่เคยเกิดขึ้นในช่วงเวลาพักผ่อนหย่อนใจของผู้คน, การเดินตามห้างสรรพสินค้า อันที่จริงเป็นการชดเชยที่แย่มากอันหนึ่งสำหรับการสูญเสียวัฒนธรรมของพวกเขาไป, แต่การบริโภคเช่นนั้นได้กลายเป็นส่วนหนึ่งไปแล้วของวัฒนธรรมป๊อปปูล่าร์, อันนี้มันได้เข้ามาแทนที่การสูญเสียเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ ทางขนบประเพณีบางอย่างไป. แม้มันจะเป็นลักษณะหนึ่งของความมีอิสระเสรีทางการเมืองในการบริโภคก็ตาม แนวคิดเฟมินิสท์และมาร์กซิสท์ กับวัฒนธรรมมวลชน ลักษณะเก่าๆ ของทัศนะแบบเฟมินิสท์ (Feminist – นักสิทธิสตรี) เกี่ยวกับวัฒนธรรมมวลชน, มีตัวแทนโดยผลงานต่างๆ อย่างงานของ Betty Friedan ในเรื่อง The Feminine Mystique (1963), ซึ่งมองสังคมบริโภคในฐานะที่เป็นกระบวนการอันหนึ่งของการล่อลวง(seduction) ซึ่งได้นำพาพวกผู้หญิงไปสู่การสูญเสียสถานภาพส่วนตัวของพวกเธอไป, ซึ่งได้ถูกท้าทายโดยผลงานที่ได้ชี้ถึงการยกระดับเกี่ยวกับสถานภาพที่สัมพันธ์กันของผู้หญิงในสังคมบริโภค และปฏิเสธข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการบริโภคในแบบยอมจำนน การตีพิมพ์เรื่อง New Time ในปี ค.ศ.1987-89, ที่ได้รับการสนับสนุนโดยนิตยสาร Marxism Today, เรียบเรียงขึ้นโดยสมาชิกที่โดดเด่น 2 คนของฝ่ายซ้าย ได้แก่ Stuart Hall และ Martin Jacques, เป็นความพยายามอันหนึ่งที่จะค้นหาช่องทางในการทำความเข้าใจ จากทัศนียภาพหรือมุมมองของ Marxism, รูปแบบใหม่ต่างๆ ของการดำรงอยู่และแบบแผนใหม่ๆ ของผลงานและการพักผ่อนหย่อนใจในวัฒนธรรมร่วมสมัย หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่ลึกซึ้งมากที่สุดในแง่มุมของศิลปะไปสู่ลัทธิบริโภคนิยมก็คือ ในเรื่องที่เกี่ยวกับงานโฆษณา. สำหรับนักเขียนเป็นจำนวนมากในขนบประเพณีแบบโมเดิร์นิสท์, การโฆษณาเป็นตัวอย่างที่ดีของการคุกคามทางด้านวัฒนธรรม. สำหรับพวกฝ่ายซ้าย งานโฆษณาในโลกของการบริโภคเป็นสิ่งซึ่งไร้ประโยชน์ในทางสังคม, ที่จะมาชักชวนให้ผู้คนซื้อสินค้าต่างๆ ที่พวกเขาไม่ต้องการ สำหรับกลุ่มนักเขียน Leavisite group (กลุ่มที่นิยมการวิจารณ์ของ Frank Raymond Leavis ชาวอังกฤษ) งานโฆษณาเหล่านั้นถือเป็นการคุกคามที่สำคัญต่อวัฒนธรรม เพราะได้สร้างความหลอกลวงต้มตุ๋นขึ้นมามากกว่าความเป็นจริง, มันนำสาธารณชนไปสู่การขานรับหรือโต้ตอบคล้ายกับกลไกอัตโนมัติ; งานโฆษณามันมองดูคล้ายกับศิลปะ แต่อันที่จริงมันเป็นวิทยาศาสตร์ที่เสื่อมทรามอย่างหนึ่ง, ประยุกต์เอางานวิจัยทางด้านจิตวิทยามาใช้ในเชิงกลไก. การฝึกฝนความระแวดระวัง ความสงสัย และการต่อต้านอันหนึ่งขึ้นมาต่อสิ่งเหล่านี้ จัดเป็นหน้าที่หลักสำคัญของการศึกษาในทางมนุษยศาสตร์ วิพากษ์งานโฆษณา The Best Thing on TV หนึ่งในสิ่งต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปก็คือ คุณภาพทางศิลปะเกี่ยวกับการโฆษณาในตัวของมันเอง. ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1970s, หนังสือของ Jonathan Price ในเรื่องธุรกิจของงานโทรทัศน์ที่ชื่อเรื่องในลักษณะกระตุ้นความสนใจคือ The Best Thing on TV, Jonathan Price ได้ปกป้องมาตรฐานต่างๆ ของศิลปะการโฆษณาทางโทรทัศน์ ในเชิงเปรียบเทียบ, โปรแกรมหรือรายการโทรทัศน์ส่วนใหญ่ที่ผ่านมาก่อนทศวรรษ 1970s มองดูแล้วมันเก่าแก่คร่ำครึ, เงินทุนก็มีไม่เพียงพอ, ผลผลิตก็หยาบๆ, การแสดงก็ไม่ได้รับการขัดเกลา – ดังนั้นมันจึงปรากฏออกมาในลักษณะที่เลวๆ, การกำกับและเขียนบทก็เป็นเช่นว่านั้นด้วย. ส่วนการโฆษณาทางโทรทัศน์ ได้ฝึกฝนเราให้คาดหวัง “สไตล์ใหม่อันหนึ่งเกี่ยวกับความบันเทิงทางสายตา”(Price 1978, p.1), แม้มันจะวางอยู่บนความทึบตันทางด้านเนื้อหา, สัญลักษณ์, ลักษณะที่กระชับรวบรัด ,และตัดภาพอย่างรวดเร็ว (ในทัศนะนี้, มากกว่าจะเป็นอย่างอื่นของวัฒนธรรม) แต่โฆษณาดูเหมือนว่าจะเข้ามารับหน้าที่คุณภาพต่างๆ ส่วนใหญ่ของกวีในแบบโมเดิร์นิสท์ The Consumerist Manifesto: Advertising in Postmodern Time ในการศึกษาของ Martin Davidson เกี่ยวกับเรื่องการโฆษณาในยุคโพส์ทโมเดิร์น, เรื่อง The Consumerist Manifesto: Advertising in Postmodern Time (1992), Martin Davidson ได้ชี้ไปยังช่วงปลายทศวรรษ 1970s ว่าเป็นจุดเปลี่ยนอันหนึ่งในเรื่องคุณภาพของการโฆษณา โลกของการโฆษณาเริ่มเป็นที่ดึงดูดผู้มีความชำนาญทางศิลปะที่เข้ามาในวงการนี้อย่างต่อเนื่อง, มีการนำเอาบรรดาศิลปินทางด้านกราฟิคที่มีความสามารถมาใช้ในงานด้านหนึ่ง และอีกทางหนึ่งก็ได้มีการจัดหาวัตถุดิบมาให้แก่ผู้คนเหล่านี้ด้วย เขาได้จำแนกงานโฆษณา the Benson and Hedges ads ที่สร้างขึ้นโดย Collett Dickenson Pearce เป็นสิ่งซึ่งมีนัยสำคัญโดยเฉพาะ. ลักษณะที่เด่นชัดอันหนึ่งเกี่ยวกับพวกนี้ก็คือวิธีการที่มีความช่ำชองชำนาญที่พวกเขาได้ใช้ศิลปกรรมชั้นสูง, ซึ่งไม่เพียงอ้างถึงมันเท่านั้น แต่ยัง”เล่นกับมัน”ด้วย, พร้อมโอ้อวดความเฉลียวฉลาดของพวกเขา ยกตัวอย่างเช่น “การจัดองค์ประกอบที่งดงาม, มีผู้กำกับฝ่ายศิลป์และผู้กำกับภาพ, พวกเขาเป็นนักโฆษณาแนวหน้าที่ค่อนข้างเฉลียวฉลาดกับงานศิลปะ, ซึ่งปรากฏว่าได้เรียกร้องความสนใจต่อผู้ชมได้เป็นจำนวนมาก (Davidson 1992, p.135) แม้ว่า Davidson จะสงสัยและมีความคลางแคลงใจมากไปกว่า Price ในเรื่องคุณค่าของผลผลิตในงานโฆษณาดังกล่าวบางอย่าง, แต่เขาก็ยืนยันในเรื่องของการโฆษณาเอาไว้มากมายทีเดียว ในฐานะที่เป็นปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมอันหนึ่ง มากกว่าที่จะมองการโฆษณาในลักษณะของขนบประเพณี ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการสมรู้ร่วมคิดกับการบริโภคที่สวนทางกับวัฒนธรรม, เขากลับมองว่ามันเป็นการสร้างสะพานอันหนึ่งระหว่างสิ่งเหล่านี้, ซึ่งเชื่อมต่อกับสิ่งซึ่งเขาเรียกว่า ขั้วของการบริโภคและขั้วของความโรแมนติคของชีวิต (the consumptive and romantic poles of life) การโฆษณา, ก็เหมือนกันกับแกลอรี่หรือห้องแสดงภาพศิลปะ, ไม่สามารถที่จะได้รับการป้องกัน หรือโจมตีบนพื้นฐานต่างๆ เกี่ยวกับความรับผิดชอบทางสังคมได้, หรือในความเป็นจริงหรือความเป็นของแท้(truthfulness or authenticity). อันนี้เป็นการพลาดไปจากประเด็น; ทั้งคู่เกิดขึ้นมา “ซึ่งไม่เกี่ยวกับประโยชน์และความมีเหตุผล, แต่มันถือกำเนิดขึ้นมาจากหลักการอันหนึ่งของการสร้างสรรค์และความเป็นส่วนเกินของความต้องการในทางกายภาพ” (Davidson 1992, p.120) โลกหลังสมัยใหม่กับการปรองดองกับงานโฆษณา ก็คล้ายๆ กับรูปแบบอื่นทั้งหมดของการแสดงออกทางศิลปะ การโฆษณาต่างๆ คือส่วนของหนึ่งของกระบวนการเกี่ยวกับการสื่อสารไปถึงปัจเจกบุคคลเป็นคนๆ และแฟชั่นส่วนตัวทางสังคม, “ซึ่งพวกมันได้ประกอบกันขึ้นมาโดยตรงในความเข้าใจของพวกเราเองและคนอื่นๆ” (Mary Douglas 1982, p.124) หนึ่งในเหตุผลที่มีอยู่หลายประการที่ว่าทำไม โลกหลังสมัยใหม่(postmodern) จึงปรองดองกันกับการโฆษณาก็คือ ทั้งคู่ต่างสนใจในกระบวนการของการสร้างตัวตนขึ้นมา. การเต็มไปด้วยความหลอกลวงที่อยู่ข้างใต้ของการโฆษณา ซึ่งเคยเป็นที่กังวลต่อนักวิจารณ์อย่างมากในอดีต มาถึงช่วงนี้ดูเหมือนว่าไม่เป็นปัญหาแต่อย่างใดอีกต่อไป, หรืออย่างน้อยที่สุด มันไม่เป็นปัญหาในอย่างเดียวกันอีกแล้ว พวกเราได้มาถึงเรื่องของข้อสงสัยเกี่ยวกับการบอกเล่าถึงความจริง(truth-telling), การระบายสีประกอบ, บทบาทหน้าที่ของศิลปะในลักษณะทั่วไป. เรามิได้คาดหวังให้ “มัน” ซึ่งไม่ว่าศิลปะชิ้นใดที่สร้างขึ้นมาสำหรับพวกเราดังที่เราอ่าน หรือเราจ้องมองไปที่มัน เป็นอะไรมากเกินไปกว่าเรื่องที่แต่งขึ้นชั่วคราวเรื่องหนึ่งเท่านั้น. เรารู้สึกกังวลใจน้อยลงเกี่ยวกับการโฆษณาต่างๆ ที่จัดการอย่างชำนิชำนาญในลักษณะเฉพาะตัว ทั้งนี้เพราะ เราได้มองดูสิ่งเหล่านี้ในฐานะที่เป็นอัตลักษณ์อันหนึ่งของ”งานประพันธ์”ทั้งหมด. งานโฆษณาชิ้นหนึ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นมาสำหรับเรา จะถูกทำให้สมดุลย์และถูกตอบโต้โดยเรื่องอื่นของเราเองที่สร้างสรรค์ในหนังสืออื่น. อย่างน้อยที่สุดการโฆษณาได้สร้างสิ่งที่จะแจ้งตรงไปตรงมา ไม่ว่าจะเป็นการประกอบสร้างขึ้นมาของมันและการเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นมาของมัน MTV – มิวสิควิดีโอ รูปแบบศิลปะใหม่ๆ ดูเหมือนว่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีของรูปการของโลกหลังสมัยใหม่ ซึ่งกำลังจะอธิบายถึงคือ “วิดีโอที่เกี่ยวกับร็อคมิวสิค” ที่ไม่เพียงเป็นเรื่องของเทคโนโลยีใหม่เท่านั้น แต่อีกสิ่งหนึ่งซึ่งมีความเป็นไปได้สำหรับการมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้นกว่ารูปแบบศิลปะใดๆ คือการเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับการโฆษณา อันที่จริง เหตุผลสำหรับการมีอยู่ของมันเป็นเรื่องธุรกิจมากกว่าอย่างอื่น เช่น เพื่อกระตุ้นการขายแผ่นเสียงต่างๆ เพื่อสนับสนุนนักร้องและวงดนตรี ยิ่งไปกว่านั้นสถานการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต อย่างเช่น “ความเชื่อถือไว้วางใจในเพื่อนร่วมงานที่ทำงานอิสระ, การละเลยไม่พูดถึงเรื่องเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์ และเรื่องของการเงินที่เกี่ยวข้องกับบริษัทแผ่นเสียง” – รวมไปถึงการทำสำเนาทั้งหมด, ใน”เงื่อนไขสภาพการผลิตเกี่ยวกับการโฆษณา”(Kaplan 1987, p.13) ช่องส่งสัญญานโทรทัศน์ในอเมริกาส่วนใหญ่สัมพันธ์กับวิดีโอร็อคมิวสิค, MTV (music television), มองดูแล้วก็คล้ายๆ กับงานโฆษณาชิ้นหนึ่งที่ต่อเนื่อง และได้ถูกโฟกัสลงไปบนเรื่องของการบริโภคทั้งหมด สำหรับบรรดานักวิจารณ์ เช่น Kaplan, ความสัมพันธ์ของ rock music (ดนตรีร็อค) กับลัทธิหลังสมัยใหม่ เป็นอะไรที่มากกว่าความเชื่อมโยงกันระหว่างโลกธุรกิจและการโฆษณา แน่นอน โฆษณาทั้งหมดมีส่วนร่วมกับเรื่องของสไตล์. ใน rock music video, Kaplan ได้ค้นหาและสืบเสาะลักษณะที่ก้าวหน้าอันหนึ่ง (a avant-gardism), ในช่วงเริ่มต้นของการปรากฏตัวขึ้นมาเกี่ยวกับการต่อต้านทางสุนทรียภาพ. สิ่งต่างๆ ที่ผู้เขียนได้จำแนกแยกแยะ ถูกนำไปสัมพันธ์อย่างกว้างขวางกับสไตล์ของ postmmodern แม้ว่าวิดีโอ บ่อยครั้งมันจะเล่าเรื่อง (ซึ่งเป็นคุณสมบัติของสื่อประเภทนี้) แต่มันเป็นการละทิ้งอันหนึ่งเกี่ยวกับงประดิษฐกรรมทั้งหลายของการเล่า / บรรยายที่สืบทอดกันมา, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รูปการต่างๆ ของลัทธิสัจนิยมแบบฮอล์ลีวูด, ซึ่งฮอล์ลีวูดเกือบจะเป็นอย่างนั่นเสมอโดยการเรียกร้องทั่วๆ ไป ในเชิงเปรียบเทียบกับงานวรรณกรรม, ตัวอักษรทั้งหลายที่มีลักษณะแบนๆ และเป็นสองมิติ การเล่าเรื่องได้ถูกกระจายออกจากศูนย์กลางด้วยปัจจัยหรือองค์ประกอบที่ได้ตัดเอาส่วนอื่นๆ ออกไป. มันคล้ายๆ กับการตั้งคำถามอันหนึ่งเกี่ยวกับธรรมชาติของหนังสือ ที่มีการเขียนภาพประกอบที่สืบทอดกันมาตามขนบประเพณี; ไม่มีตัวแทนใดๆ ที่คงที่หรือได้รับการยินยอมให้คงอยู่ในลักษณะตายตัวโดยปราศจากการท้าทาย. อันนี้เป็นแง่มุมที่สัมพันธ์กันอันหนึ่งของวิดีโอทั้งหลายในเรื่องการละทิ้งเกี่ยวกับสัจนิยม นั่นคือ ปฏิกริยาสะท้อนกลับส่วนตัวของพวกมัน ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางเกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่า pastiche (ผลงานศิลปะที่เลียนแบบงานอีกชิ้นหนึ่ง – ดนตรีที่ผสมผสานมาจากแหล่งต่างๆ) ซึ่ง Jameson มองว่ามันเป็นหนึ่งในเครื่องหมายต่างๆ ของ Postmodern ทั้งหมดนั้นที่ MTV ทำให้เกิดขึ้นจริงๆ ทั้งลักษณะที่ป๊อปปูล่าร์และความเป็นแนวหน้า(popular and avant-garde)ในเวลาเดียวกัน กระนั้นก็ตาม ลักษณะของความเป็นแนวหน้าของมัน เป็นบางสิ่งบางอย่างซึ่งแตกต่างไปจากช่วงทศวรรษที่ 1920s ดังที่ได้อธิบายโดย Burger หรือ Huyssen. ความท้าทายต่อสไตล์ในแบบจารีตนิยม มิได้ถูกนำไปประสานหรือสอดคล้องไปกับความท้าทายที่มีต่อวัฒนธรรมหลัก ซึ่งเข้าใจกันในกรณีที่กว้างกว่า ในทางสังคม วิดีโอที่มีสำนึกได้ถูกแทนที่แต่เพียงในวิดีโอ ร็อคของสหราชอาณาจักรเท่านั้น ที่ที่มันดูเหมือนว่าเป็นวัฒนธรรมต่อเนื่องมาอย่างยาวนานอันหนึ่ง ของ rock counter-culture (counter-culture หมายถึงวัฒนธรรมอันหนึ่ง, โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นวัฒนธรรมของคนหนุ่มสาวที่มีคุณค่า หรือแบบฉบับชีวิตในทางที่ตรงข้ามกับวัฒนธรรมซึ่งมีอยู่แล้วทั้งหลาย) แม้ว่า อันนี้จะเป็นเรื่องราวสั้นๆ เกี่ยวกับช่วงต้นของทศวรรษ 1980s. แต่นับจากปี ค.ศ.1985 เป็นต้นมา, ตามความเห็นของ Kaplan, “แนวทางหรือเค้าโครงต่างๆ ทางสังคม ดำรงอยู่เพียงในฐานะที่เป็นตัวแทนต่างๆ ของการขาดเสียซึ่งสิ่งที่อ้างอิงถึงเรื่องการเมืองอีกต่อไป” (Kaplan 1987, p.68). มันไม่ยากจนเกินไปที่จะเห็นถึงอิทธิพลของ Baudrillard ในการวิเคราะห์ของ Kaplan เกี่ยวกับเรื่องของ music video. รูปโฉมต่างๆ ของทัศนะนี้เกี่ยวกับหลังสมัยใหม่ – การขูดลบเกี่ยวกับเส้นแบ่งขอบเขตต่างๆ ทางด้านขนบประเพณีระหว่าง”ศิลปะทดลอง” กับ”วัฒนธรรมมวลชน” (experimental art and mass culture), ความสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์ระหว่างศิลปะ, ธุรกิจ และการโฆษณา, การปรากฏตัวขึ้นมาของการต่อต้านสุนทรียภาพของลัทธิสมัยใหม่(modernism) – ซึ่งมิได้ถูกยอมรับในเรื่องความเป็นสากล ศิลปกรรมชั้นสูงกับศิลปะป๊อปปูล่าร์ Adorno (แฟรงค์เฟริท) ได้เตือนเราเกี่ยวกับภัยอันตรายของการยอมรับความคิดเห็นในเรื่อง การประนีประนอมในผลผลิตของวัฒนธรรมอุตสาหกรรมอย่างอิ่มอกอิ่มใจ ระหว่าง “ศิลปกรรมชั้นสูง” กับ “ศิลปะป๊อปปูล่าร์”, การยอมรับในความทรุดโทรมทั้งสองฝ่าย, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การละทิ้งบทบาทที่เป็นกบฏของมัน ในฐานะที่เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของสังคม ส่วนนักวิจารณ์คนอื่นๆ ได้ชี้ไปยังความผิดพลาดเกี่ยวกับการทำให้มีอัตลักษณ์ของ ศิลปะสมัยใหม่(modern art) จำนวนมาก. ลักษณะต่างๆ มากมายของหลังสมัยใหม่(postmodern), โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเน้นเหล่านั้นในเรื่องลักษณะที่เป็นเศษเสี้ยวของมัน, การสะท้อนเกี่ยวกับตัวตน และการละทิ้งลักษณะของการเล่าเรื่องแบบที่สืบทอดกันมาเป็นประเพณีต่างๆ ซึ่งที่จริงแล้ว เป็นรูปลักษณ์ของลัทธิสมัยใหม่(Modernism) ในตัวของมันเอง; ในบางกรณี มันจะมิใช่เส้นรอบนอกหรือชายขอบ แต่มันเป็นการแสดงออกอันเป็นแกนกลางของมันเลยทีเดียว การคัดค้านหรือโต้แย้งได้ถูกระทำต่อข้อสรุปต่างๆ ที่ดึงมาจากการวิเคราะห์เกี่ยวกับหนังสือทั้งหลายที่ได้รับการอ้างถึงบ่อยๆ (ส่วนใหญ่ เป็นอ้างถึงหนังสือบางเล่มเท่านั้น). Simon Frith ได้เน้นอยู่เสมอถึงวงดนตรีร็อคอันเป็นที่นิยมชมชอบว่า ตัวของพวกเขาเองนั้น ได้วางอยู่บนบรรทัดฐานของ modernist ซึ่งไม่ต้องด้วยสมัยนิยม อย่างเช่น เรื่องของความเป็นต้นฉบับหรือผู้ริเริ่ม(originality) และการแสดงออกส่วนตัว(self-expression). แม้แต่การแสดงซึ่งต่ำต้อยมากที่สุด – ระบบที่มีการฝึกฝนมาเพียงระยะเวลาอันสั้นของโลกของดนตรีร็อค ในทางที่ขัดแย้งกับขนบประเพณีที่มีการฝึกปรือมาในระยะเวลาอันยาวนาน อย่างเช่นดนตรีคลาสสิค ที่ขับดันวงดนตรีต่างๆ มากมายขึ้นไปบนเวทีสาธารณชนก่อนที่พวกเขาจะประสบผลสำเร็จ – เชื่อว่าพวกเขามีบางสิ่งบางอย่างที่สำคัญที่จะแสดงออก. เป้าหมายของพวกเขาต้องการที่จะเป็นที่นิยมหรือป๊อปปูล่าร์ แต่วิธีการอันนี้ แรกสุดหรือก่อนอื่นใดทั้งหมด จะต้องครอบครองที่ทางใดที่ทางหนึ่ง โดยเฉพาะที่ทางในชุมชน มากกว่าเพียงเพิ่มยอดการขายแผ่นเสียงได้เป็นจำนวนมากเท่านั้น (Frith 1992, p.176) ไกลห่างไปจากการยอมรับอย่างเต็มใจ เกี่ยวกับบทบาทของพวกเขาในวัฒนธรรมธุรกิจ คนเหล่านี้จำนวนมากได้มองตัวเองกำลังติดตันอยู่กับสูตรการผลิตเดิมๆ ของแผนภูมิต่างๆ อันนั้น. ในด้านดนตรี ตัวมันเองนั้นมีความสัมพันธ์และการพึ่งพาอาศัยกันอย่างระมัดระวังระหว่างเสียงและดนตรี โดยเบื้องต้นเป็นสิ่งซึ่งเข้ากันไม่ได้กับความคิดเห็นเกี่ยวกับ”blank pastiche”(เกี่ยวกับความว่างเปล่าในการลอกเลียนแบบศิลปะ และการผสมผสานปนเป) ซึ่งเกิดขึ้นมาจากคำอรรถาธิบายของ Jameson เกี่ยวกับสไตล์หรือแบบฉบับของหลังสมัยใหม่ แม้แต่ใน MTV(music television)ในตัวของมันเอง คำอธิบายเกี่ยวกับหลังสมัยใหม่ มันเหมาะสมเพียงแค่ในชั่วระยะเวลาสั้นๆ เกี่ยวกับผลผลิตของมัน. ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวมันเป็นโครงสร้างที่ไหลเลือน ที่มีผลกระทบเกี่ยวกับความคลุมเครือของการจัดจำแนกหมวดหมู่ระหว่าง “art กับ rock และ pop”
อย่างเช่นคำว่า pastiche, (คำนี้หมายถึงผลงานเลียนแบบทางศิลปะดนตรีหรือวรรณคดี หรือสิ่งที่ผสมปนเปกัน), schizophrenia (จิตเภท, ความหมายเดิมหมายถึงโรคจิตที่มีบุคคลิกภาพแตกแยก – ในที่นี้หมายถึงลักษณะที่แตกแยกกัน) และระดับของความแตกต่างระหว่าง “วัฒนธรรมชั้นสูง”และ”วัฒนธรรมมวลชน”. โดยเฉพาะทางด้านสถาปัตยกรรม, ลักษณะต่างๆ มากมายที่สัมพันธ์กันกับลัทธิหลังสมัยใหม่, สำหรับ Jencks, เป็นรูปโฉมที่แท้จริงของ modernism ช่วงปลายอันหนึ่ง, มันคือประเภทหนึ่งของลัทธิ modernism ซึ่งนำไปสู่ความสุดขั้วต่างๆ. อันนี้เป็นที่ที่เขาได้วางด้านที่เป็นแกนกลางจำนวนมากของลัทธิหลังสมัยใหม่
หนึ่งในตัวอย่างอันแรกของศัพท์คำว่าหลังสมัยใหม่(postmodern) ได้รับการเสนอโดย Margaret A. Rose ในหนังสือของเธอ, The Post-Modern and the Post-Industrial (1991), และบางทีจะเป็นความสนใจอย่างใกล้ชิดต่องานทางด้านทัศนศิลป์ในคริสตศตวรรษที่ 20, โดยนักประวัติศาสตร์ศิลปะชาวออสเตรเลียน Bernard Smith, ในข้อสรุปของงานเขียนเรื่อง Place, Taste and Tradition (1945) |
|||
ว่าด้วยงานโฆษณา ดนตรี ศิลปะ สถาปัตยกรรม และงานวรรณกรรม ศิลปวัฒนธรรม และลัทธิบริโภคนิยมหลังสมัยใหม่ สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บทความวิชาการชิ้นนี้ เรียบเรียงจากหนังสือเรื่อง High Culture, Popular culture บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา |
|||
ที่มา : มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
|