มีเดียมอนิเตอร์เผยพฤติกรรมรายการทีวีเมืองไทยมองคนดูเป็นลูกค้ามากกว่าสมาชิกในสังคม
โครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม (Media Monitor) รายงานผลการวิจัยรอบที่ 12 เรื่อง โทรทัศน์ไทยมองผู้ชมเป็นผู้บริโภค (consumer) หรือพลเมือง (Citizen) …
โครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ – ท้องถิ่นน่าอยู่ จ.ลำพูน |
||||||||||||||||||
ลำพูน จังหวัดเล็กแต่เปลี่ยนแปลงเร็วจนใครก็คาดไม่ถึง ซ้ำร้ายกับสถานการณ์และปัญหาที่รุมล้อมจนความเป็นท้องถิ่นแทบจะถูกกลืนหาย โดยเฉพาะกับ ลุ่มน้ำลี้ ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของลุ่มน้ำปิง และอยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดลำพูนทั้งหมด จึงนับเป็นพื้นที่ทำการเกษตรที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัด เพราะเป็นแหล่งเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น หอม กระเทียม มันฝรั่ง รวมทั้งลำไย แม่น้ำลี้จึงเปรียบเหมือนแม่และลมหายใจของคนลำพูน แต่ปัจจุบันแม่น้ำลี้กำลังเข้าสู่สภาวะ “น้ำตาย” หรือ “น้ำไม่ไหล” | ||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||
ปัญหาที่มากมายจนบางเรื่องเกินกำลังจะเยียวยา ทำให้กลุ่มคนทำงานเพื่อท้องถิ่นลำพูนจำนวนหนึ่งลุกขึ้นมาค้นหาตัวตนคนทำงานธุระหน้าหมู่หรือผู้ที่เอาธุระกับส่วนรวม พร้อมกับทบทวนการทำงานพัฒนาที่ผ่านมา และร่วมกันกำหนดทิศทางจังหวะก้าวที่จะออกเดินกันใหม่ ด้วยหวังว่าความอุดมสมบูรณ์ที่มีอยู่ในธรรมชาติของสายน้ำลี้และความมีชีวิตชีวาของคนลำพูนจะฟื้นคืนมาอีกครั้ง | ||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||
N อุปสรรคและทางออกที่ฝ่าฟัน |
||||||||||||||||||
ทั้งโดยสาเหตุเชิงโครงสร้างของระบบการปกครองนที่มีมายาวนานในสังคมไทย ประกอบกับการขาดพื้นที่ที่จะได้แสดงความคิดอันเป็นอิสระของตนเอง ทำให้คนลำพูนต้องตกอยู่ในสภาพการยอมรับโดยไม่ขัดขืนมาโดยตลอด ทั้งที่สิ่งใหม่ๆ ที่เข้ามาขัดแย้งอย่างสิ้นเชิงกับภูมิปัญญาดั้งเดิมในหมู่บ้าน ดังเช่นกรณีการเปิดรับฝายคอนกรีตแทนระบบฝายเหมือง ซึ่งถือเป็นการไม่ให้เกียรติภูมิปัญญาของบรรพชนที่ช่วยรักษาป่า รักษาน้ำมาโดยตลอด การเปิดพื้นที่เพื่อการพูดคุย แสดงความคิดเห็นที่มากขึ้นทั้งโดยผ่านเวทีการเสวนาและพิธีกรรมงานประเพณีของท้องถิ่นดังเช่นที่เกิดขึ้นในประเพณีแห่ช้างเผือก แม้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดการน้ำโดยชุมชนบนพื้นฐานทางวัฒนธรรมหากจะเป็นภาพต่อที่ใหญ่ขึ้นของการลุกขึ้นมากำหนดตัวตนของท้องถิ่นเองในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ นอกจากนี้ การทำงานของหน่วยงานราชการ องค์กรท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการจัดการทรัพยากรจะต้องให้ความสำคัญกับชุมชนท้องถิ่นในการตัดสินใจร่วมมากขึ้น ทั้งควรสนับสนุนการรวมกลุ่มของชาวบ้านซึ่งบางชุมชนหมู่บ้านมีศักยภาพและความพร้อมเป็นทุนอยู่ แต่ยังไม่มีโอกาสได้ร่วมงานกับภาครัฐในการจัดการทรัพยากรหรือเรื่องของท้องถิ่นตัวเอง อีกทั้งชุดความรู้จากการถอดบทเรียนประสบการณ์การจัดการน้ำในมิติของชุมชนผ่านประเด็นทางวัฒนธรรมที่น่าจะเป็นองค์ความรู้ท้องถิ่นเพื่อพัฒนาเรื่องการจัดการทรัพยากรของท้องถิ่นเพื่อท้องถิ่นโดยท้องถิ่นต่อไป |
||||||||||||||||||
N ข้อค้นพบและบทเรียน 1. การนำสมบัติหน้าหมู่ซึ่งเป็นทรัพยากรของคนท้องถิ่นมาผสมผสานกับประเด็นทางวัฒนธรรมซึ่งเป็นประเด็นที่เชื่อมโยงจิตใจคนทุกภาคฝ่ายให้สามารถรวมกันเป็นหนึ่งเดียวได้มาเป็นประเด็นเคลื่อนไหวช่วยลดการตั้งคำถามและข้อขัดแย้งในสังคมลงได้ ประการสำคัญเป็นการสร้างระบบคุณค่าและความภาคภูมิใจในท้องถิ่นให้คืนกลับมาอีกครั้ง พร้อมกับความรู้สึกว่าคนตัวเล็กๆ คนหนึ่งในชุมชนหมู่บ้านก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดอนาคตของทรัพยากรท้องถิ่นตนเองได้ 2. เมื่อน้ำคือสมบัติหน้าหมู่หรือส่วนรวม การเข้ามาจัดการสมบัติหน้าหมู่จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องช่วยกัน ประกอบกับการได้ทบทวนฐานทุนเดิมเรื่องวัฒนธรรมของท้องถิ่นและนำกลับมาใช้อีกครั้ง ทำให้ภาคราชการที่เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญและให้การยอมรับเรื่องการนำภูมิปัญญาดั้งเดิมมาใช้ในการจัดการทรัพยากรน้ำของท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จย่อมไม่ปรากฏอยู่เพียงเท่านี้ แต่ยังต้องอาศัยกระบวนการทางความคิดและการทำงานอย่างมีส่วนร่วมซึ่งต้องการมุมมอง วิธีคิด และประสบการณ์ความรู้ที่หลากหลายจากทุกภาคฝ่ายมาช่วยกันให้ยั่งยืนต่อไป 3. การออกแบบให้มีเวทีย่อยหลายเวทีช่วยทำให้คนตัวเล็กๆ ได้มีพื้นที่ในการพูดและแสดงความคิดเห็น รวมทั้งการไม่ละเลยประเด็นข้อสรุปจากเวทีย่อยต่างๆ ก่อนจะสรุปเป็นภาพใหญ่เพื่อสร้างความเป็น “เรา” ให้เกิดขึ้นด้วยกัน |
||||||||||||||||||
FACT SHEET เอกสารข้อมูล |
||||||||||||||||||
เอกสารข้อมูลประกอบ : ห้องย่อยที่ 3 การจัดการทรัพยากรเพื่อท้องถิ่นน่าอยู่ | ||||||||||||||||||
เวทีสัมมนาวิชาการประชาสังคม “ทำการเมืองภาคพลเมืองในท้องถิ่นไทย : ความท้าทายแห่งยุคสมัย” วันที่ 19 พฤศจิกายน 2549 ที่ โรงแรม ปริ๊นพาเลซ กทม | ||||||||||||||||||
สนับสนุนข้อมูลโดย โครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ – ท้องถิ่นน่าอยู่ จ.ลำพูน เลขที่ 9 ถ.รถแก้ว ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ลำพูน 51000 โทรศัพท์ 0-5356-1137 จัดทำโดย โครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ – ท้องถิ่นน่าอยู่ มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา เลขที่ 693 ถ.บำรุงเมือง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100 โทรศัพท์ 0-2621-7810-2 โทรสาร 0-2621-8042-3 www.ldinet.org สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) |