ถนน…เขามีไว้ให้รถวิ่งแล้วทำไมคนเราถึงต้องมาเดิน

พวกเราตกอยู่ใต้วัฒนธรรมของรถยนต์เป็นใหญ่มานานมาก  ถนนถูกครอบครองโดยรถ อะไรก็ตามที่เป็น อุปสรรคทำให้กีดขวางทางรถจำต้องถูกกำจัดออกไปจากถนนจนหมด  คนเดินถนนเป็นผู้หนึ่งที่มีสิทธิใช้ถนนร่วมกับรถจึงถูกกำจัดออกไปด้วยเช่นกัน…

โดย นงลักษณ์   ดิษฐวงษ์


วกเราตกอยู่ใต้วัฒนธรรมของรถยนต์เป็นใหญ่มานานมาก  ถนนถูกครอบครองโดยรถ อะไรก็ตามที่เป็น อุปสรรคทำให้กีดขวางทางรถจำต้องถูกกำจัดออกไปจากถนนจนหมด  คนเดินถนนเป็นผู้หนึ่งที่มีสิทธิใช้ถนนร่วมกับรถจึงถูกกำจัดออกไปด้วยเช่นกัน จนอยู่มาวันหนึ่งเมื่อเมืองเติบโต ผู้คนในเมืองใหญ่ต่างโหยหาสิ่งที่ขาดหายไปในวิถีความเป็นเมืองจึงขอ คืนชีวิตให้ชุมชน คืนถนน ให้คนเดิน ด้วยการปิดถนนเพื่อเปิดพื้นที่ ให้คนในเมืองมีชีวิตที่อิสระปลอดภัยจาก รถบ้างเป็นครั้งคราวก็ยังดี

        ความคิดเกี่ยวกับ ถนนคนเดิน” (Walking street หรือ Pedestrian street) นั้นเป็นแนวความคิดของตะวันตก 

ถนนคนเดิน “ท่าแพ” จ.เชียงใหม่

ที่มีมานานแล้ว ภายใต้บรรยากาศการใช้ชีวิตที่มีความเป็นส่วนตัวสูง ต้องใช้ชีวิตอุดอู้อยู่แต่ในบ้านเรือน หรือในกล่องอาคารที่ทำงานของตน  ความรู้สึกโดดเดี่ยวจึงเกิดขึ้นด้วยพื้นฐานของมนุษย์ที่ต้องการ สังคม  ทำให้คนตะวันตกมีความต้องการ พื้นที่สาธารณะเพื่อพบปะสังสรรค์ระหว่าง กัน ส่งผลให้ผู้คนออกมาใช้ชีวิตกลางแจ้งในยามที่สภาพอากาศเป็นใจ  ทำกิจกรรม การแสดงเล็กๆ  เล่นดนตรี  ประดิษฐ์งานฝีมือต่างๆ  เกิดเป็นถนนคนเดินหรือพื้นที่โล่งว่างจตุรัสกลางเมืองที่เต็มไปด้วยสีสันและความมีชีวิตชีวา

ตัวอย่างเมืองเมืองหนึ่งที่เริ่มต้นปิดถนนด้วยความไม่มั่นใจว่าการปิดถนนให้คนเดินแล้วจะดีคือ เมืองคูริติบา ประเทศบราซิล นายกเทศมนตรีของ เมืองนี้เริ่มต้นปิดถนนสายหลักของเมืองชื่อถนน  Rua Quinz ทำเป็นถนนคนเดินด้วยต้องการทำให้เมืองคูริติบาเป็นเมืองเพื่อคนไม่ใช่เมืองเพื่อรถยนต์ โดยการเริ่มต้นนั้นไม่มีตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม ไม่เคย     มีตัวอย่างการปิดถนนในเมืองเมืองนี้มาก่อน จึงเป็นเรื่องยากที่จะบอกกับชาวเมืองว่าปิดถนนแล้วชาวเมืองจะได้รับผลดีอย่างไร  แต่เมื่อปิดถนนไปได้สักระยะหนึ่ง ผู้คนที่เคยคัดค้านการปิดถนนอย่างพ่อค้าแม่ค้าที่มี ร้านค้าอยู่บนถนน  ผู้ที่ใช้รถยนต์   และผู้คนในเมือง กลับเห็นประโยชน์ด้วยตนเองในที่สุด เห็นว่าถนนสายนี้น่าเดินเพื่อการจับจ่ายใช้สอย  เห็นประโยชน์จากการได้ทำกิจกรรมต่างๆบนถนนโดยไม่ต้องพะวง กับรถราที่แล่นไปมาและการหาที่จอดรถ*

ตัวอย่างเมืองต่างๆที่ให้คุณค่าและความสำคัญในเรื่องนี้  ได้แก่ Barcelona ประเทศสเปน  เมือง Lyon และ Strasbourg ประเทศฝรั่งเศส  Copenhagen ประเทศเดนมาร์ค  Portland รัฐ Oregon สหรัฐอเมริกา หรือแม้แต่ในประเทศมาเลเซียเพื่อนบ้านเราก็มีถนน คนเดิน อยู่หลายสายเช่นกัน เช่น ถนน Petaling street และ Bukit Bintang Walk ย่านใจกลางกรุงกัวลาลัมเปอร์ ในประเทศไทยเรามีถนนคนเดินซึ่ง ก่อเกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ เช่น ถนนข้าวสาร ย่านบางลำพู กรุงเทพมหานคร ตลาดโต้รุ่ง หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์  ถนนมนัสหรือไนท์บาซ่า นครราชสีมา เป็นต้น และมีบ้างบางถนนที่ปิด ให้คนเดินเป็นครั้งคราว เช่น ถนนเยาวราช ถนนพระอาทิตย์ ถนนท่าพระจันทร์ กรุงเทพมหานคร ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นการปิดตามวาระจรต่างๆ และไม่ได้เป็นการปิดถนนที่ทำอย่างต่อเนื่องจนเป็นกิจวัตรของผู้คนแต่อย่างใด

 

ส่วน ถนนคนเดิน ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในบ้านเรานั้นเริ่มต้นที่ถนนสีลม  กรุงเทพมหานคร โดยรัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้จัด โครงการปิดถนนคนเดินเพื่อประหยัด พลังงาน ลดมลพิษ และส่งเสริมการท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในมาตรการเพื่อการประหยัดพลังงาน ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อเดือนกันยายน ๒๕๔๔ ในชื่องานว่า ๗ มหัศจรรย์ที่สีลมเป็นเวลา ๗ สัปดาห์ตั้งแต่ ๑๘ พฤศจิกายน ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๔ แต่หลังจากนั้นโครงการนี้ก็ปิดตัวเองไป

จากกระแสการตอบรับกิจกรรมถนน คนเดินที่สีลมทำให้รัฐบาลเห็นว่ารูปแบบกิจกรรม นี้สอดคล้องกับแผนพัฒนาการท่องเที่ยวของ  เมืองในส่วนภูมิภาคต่างๆ จึงได้ขยายกิจกรรม ดังกล่าวไปยังจังหวัดใหญ่ๆในภูมิภาคอย่างเชียงใหม่   ซึ่งมีศักยภาพสูงในเรื่องของการท่องเที่ยวผสานกับจุดแข็ง

 

ถนนคนเดิน จ.นครราชสีมา

ด้านวัฒนธรรม ของชาวล้านนาเป็น ทุนเดิมอยู่แล้ว จึงเกิด ถนนคนเดินเชียงใหม่ขึ้นโดยใช้ชื่องานล้อกันกับถนนคนเดินสีลมว่า  ๗ สิ่งมหัศจรรย์ล้านนา ปิดถนนทุกๆวันอาทิตย์ ตั้งแต่ข่วงประตูท่าแพจนถึงแยกอุปคุตเป็น ระยะทาง ๙๕๐ เมตร (ข่วง เป็นภาษาเหนือ หมายถึง ลานหรือพื้นที่โล่งว่าง)

 



หลังจากจบโครงการ ๗ สิ่งมหัศจรรย์ ล้านนาที่จัดขึ้นโดยรัฐบาลแล้ว ส่วนท้องถิ่นคือ เทศบาลนครเชียงใหม่ได้เข้ามาเป็นเจ้าภาพในการจัดงานแทน แม้โดยภาพรวมงานอาจจะดูเล็กลงไปกว่าเดิม แต่ก็ค่อนข้างกะทัดรัด ยืดหยุ่น และมีกลิ่นอายของเมืองเหนือเพิ่มมากขึ้น   มีการเปลี่ยนแปลงเส้นถนนที่ปิดมาเป็นถนนราชดำเนินตัดกับถนนพระปกเกล้าซึ่งเป็นพื้นที่ ใจกลางเมืองเชียงใหม่ และขยายไปปิดถนนอีก เส้นหนึ่งที่ถนนวัวลาย ย่านหมื่นสารติดกับวัวลาย และย่านนันทารามซึ่งเป็นย่านชุมชนช่างทำเครื่องเงินเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักคู่เมือง เชียงใหม่

          โครงการหลายโครงการที่รัฐคิดตีปี๊บ ให้ดังมันก็ดังเป็นพลุแตกทีเดียว แต่ก็มักจะเงียบ หายไปด้วยเหตุปัจจัยหลายประการที่ไม่สามารถทำให้งานเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง เหตุผลหนึ่ง คือการที่ท้องถิ่นหรือผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ได้เข้ามา   เป็นตัวจักรสำคัญอย่างแท้จริง  เหมือนถนนคนเดินสีลม  ซึ่งเกิดจากนโยบายและการจัดการ โดยรัฐล้วนๆ ตั้งสมมุติฐานว่าเป็นถนนซึ่งมีปริมาณการจราจรหนาแน่นอันดับต้นๆ ของกรุงเทพฯ จึงเห็นว่าควรปิดถนนเพื่อลดมลพิษ และลดพลังงานรถบนถนน

งานศิลปะบนถนนวัวลาย จ.เชียงใหม่

สายนี้ แต่ไม่ได้เข้าใจในธรรมชาติของถนนสีลม ถนนที่มีความมหัศจรรย์มีความหลากหลายของผู้คนสูง  มีทั้งวัดแขก โบสถ์คริสต์ ไปจนถึงมัสยิด เป็นถนนที่ไม่เคยหลับไหล ไม่ยอมหยุดนิ่ง ยามกลางวันคือย่านธุรกิจการค้าสำคัญ ส่วนกลางคืนคือแหล่งบันเทิงของเหล่าบรรดาผีเสื้อราตรี แต่ชุมชนหลายแห่งทั้งชุมชนดั้งเดิมและที่เข้ามาอยู่ใหม่ก็ยังยืนหยัดอยู่ได้ท่ามกลางตึกระฟ้าสวยงาม ซึ่งชุมชนเหล่านี้คือผู้อยู่อาศัยที่แท้จริงบนถนนเส้นนี้แต่กลับไม่ได้มีส่วนร่วม ประกอบกับความไม่แน่นอนของนโยบายภาครัฐ เพราะภายหลังที่มีการประเมินแล้วรัฐบาลไม่เห็นความคุ้มค่า ถนนคนเดินสีลมจึงยุติลง

การที่อยู่ๆเราจะไปชี้นิ้วขีดเส้นว่าให้ ปิดถนนเส้นนั้นสายนี้แล้วพยายามจัดกิจกรรม ต่างๆ ขึ้นเพื่อให้เกิดถนนคนเดิน เพียงเพราะเห็นภาพความสำเร็จทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในจังหวัดอื่นจึงไม่น่าจะเป็นสิ่งที่บันดาลให้ถนน คนเดินเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยเฉพาะถ้าเอาเรื่องเงินงบประมาณในการ บริหารจัดงานมาเป็นตัวตั้งยิ่งแล้วใหญ่ และนี่เอง เป็นเหตุปัจจัยหนึ่งที่ทำให้โครงการหลายๆความสำเร็จของถนนคนเดินเมือง เชียงใหม่ที่สามารถจัดงานมาได้อย่างต่อเนื่อง หรืออาจจะเรียกได้ว่าติดตลาดไปแล้วนั้น  ก็ด้วยเหตุปัจจัยเฉพาะของท้องถิ่นเชียงใหม่ รวมถึงปัจจัยสนับสนุนที่มาจากความได้เปรียบเชิงที่ตั้ง สภาพอากาศ การเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การปกครอง และเฉพาะอย่างยิ่งความเป็นเมือง ท่องเที่ยวที่มีคนจากทั่วทิศทั้งไทยและเทศ มาใช้เวลาทั้งวันคืนเพื่อการพักผ่อนท่องเที่ยวมากกว่าการเป็นเพียงเมืองผ่านของนักเดินทาง



แต่สิ่งเหล่านั้นคงไม่ใช่คำตอบที่เป็นสูตรสำเร็จ ตายตัวสำหรับบ้านอื่นเมืองอื่น เราสามารถนำมาใช้เป็นตัวอย่างได้ แต่คงไม่ใช่การลอกเลียนเขามาทั้งหมด  ทุกสิ่งทุกอย่างต้องถูกปรับเพื่อนำไปใช้ให้เหมาะกับ บ้านเมืองท้องถิ่นของเราซึ่งมีความแตกต่างจากบ้านเขา

         สิ่งที่สำคัญคือเราต้องถามตัวเราเองก่อนว่า เราต้องการจะปิดถนนไปทำไม ใครได้รับประโยชน์ ใครได้รับผลกระทบ ใครบ้างที่ต้องเดือดร้อน อะไรคือถนน คนเดินที่เหมาะสมสอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้คน เมืองอุบลราชธานี

กิจกรรมนำร่องดคงการถนนคนเดินของเมืองอุบล

คำตอบทุกอย่างจึงอยู่ที่ทุกผู้ทุกคนในท้องถิ่นเมืองอุบลฯจะต้องก้าวเข้ามามีส่วนร่วมในการค้นหา และกำหนดสิ่งต่างๆ ร่วมรับรู้ ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ และร่วมทำมันขึ้นมาเพื่อคุณภาพชีวิต  สิ่งแวดล้อมและคุณภาพจิตใจของชาวอุบลฯ ด้วยพลังของท้องถิ่นเมืองอุบลฯเอง

ที่มา : คอลัมน์ X – clusive จดหมายข่าวฮักแพง  ฉบับที่ 17 เดือนกรกฎาคม 2548

แหล่งข้อมูล     เรียบเรียงและรวบรวมจาก

*ดวงจันทร์  อาภาวัชรุตน์  เจริญเมือง. เมืองยั่งยืนแนวคิดและประสบการณ์ของตะวันตก.พิมน์ครั้งที่ 1.เชียงใหม่:หจกเชียงใหม่  โรงพิมพ์แสงศิลป์,2545

http://www.chiangmainews.co.th

http://www.city-now.com

http://www.everykid.com

http://www.koratcity.net

http://www.matichon.net

http://www.taluitamtawan.com

http://www.thairath.co.th