ชี้ 6 ตุลาถึงตากใบโยงใบประวัติศาสตร์ จี้รบ.อย่าใช้สื่อปลุกปั่นให้คนเกลียดกัน
นายโคทมกล่าวว่า เหตุการณ์ 6 ตุลานั้น อาจจะอยากได้อำนาจรัฐ ส่วนจังหวัดชายแดนภาคใต้อาจจะต้องการการปกครองที่มีลักษณะเป็นธรรมาภิบาลมากขึ้น แต่การต่อสู้ทางการเมืองนั้นเมื่อวิธีทางการเมืองถูกปิดกั้น กลายเป็นการต่อสู้ด้วยอาวุธ…
 |
รำลึก 6 ตุลา – พิธีรำลึก 26 ปี 6 ตุลา ที่สวนประติมากรรมประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยมีองค์กรต่างๆ เข้าร่วมงานกว่า 400 คน เพื่อรำลึกและไว้อาลัยวีรชนที่เสียชีวิตจากเหตุล้อมปราบในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม
|
|
เมื่อเวลา 07.00 น. วันที่ 6 ตุลาคม ที่สวนประติมากรรมประวัติศาสตร์ธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีการจัดงานรำลึก 29 ปี 6 ตุลา โดยช่วงเช้ามีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์จำนวน 30 รูป ที่บริเวณหน้าหอประชุมใหญ่ ในงานมีองค์กรภาคประชาชนและประชาชนมาร่วมงานกว่า 400 คน และมีบุคคลที่มีชื่อเสียง อาทิ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง และ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี โฆษกสำนักนายกรัฐมนตรี จากนั้นมีการวางพวงหรีดและจุดเทียนเพื่อไว้อาลัยให้แก่เหล่าวีรชน โดยนายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบให้ตัวแทนนำพวงหรีดมาร่วมไว้อาลัยด้วย
จากนั้นมีการกล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “จาก 6 ตุลา 2519 ถึงตากใบ ประชาชนเรียนรู้อะไร” โดย นายโคทม อารียา กรรมการและเลขานุการร่วมคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ(กอส.) และประธานคณะที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า วันนี้เป็นโอกาสดีที่จะรำลึกถึงผู้ที่จากไปเมื่อ 29 ปี เป็นเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ที่ผูกโยงเข้ากับเหตุการณ์ที่สำคัญทางการเมือง |
ในปัจจุบัน จะถือโอกาสนี้เปรียบเทียบข้อเหมือนหรือข้อแตกต่างของเหตุการณ์ทั้งสองเหตุการณ์ 6 ตุลากับเหตุการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นการต่อสู้เพื่อหวังที่จะได้อำนาจการปกครองอำนาจทางการเมือง
นายโคทมกล่าวว่า เหตุการณ์ 6 ตุลานั้น อาจจะอยากได้อำนาจรัฐ ส่วนจังหวัดชายแดนภาคใต้อาจจะต้องการการปกครองที่มีลักษณะเป็นธรรมาภิบาลมากขึ้น แต่การต่อสู้ทางการเมืองนั้นเมื่อวิธีทางการเมืองถูกปิดกั้น กลายเป็นการต่อสู้ด้วยอาวุธ เมื่อ 29 ปีก่อนเรียกว่า ป่าล้อมเมือง ต่างจากการต่อสู้ด้วยอาวุธของผู้ก่อความไม่สงบในขณะนี้ที่หันมาใช้วิธีจรยุทธ์ในเมือง ทางออกในการแก้ปัญหาภาคใต้คือสันติวิธี
เหตุการณ์ 6 ตุลา มีคนออกมาปลุกปั่นให้เกิดความเกลียดชังขึ้นในสังคมของสถานีวิทยุทำให้เกิดความรุนแรงและหากเราทำเช่นเดียวกันกับเหตุการณ์จังหวัดชายเดนภาคใต้ บุคคลเดียวกันยังทำอยู่แม้ว่าจะผ่านมาเกือบ 30 ปี ถ้ารัฐบาลมีความรับผิดชอบในเรื่องนี้ ขอร้องว่าอย่าให้มีการใช้สื่อมวลชนเพื่อความเกลียดชังเลย ขออย่าให้มองว่ารัฐบาลแอบสนับสนุนเป็นอันขาด” นายโคทมกล่าว
หลังจากที่ปาฐกถาจบลงเครือข่ายเดือนตุลาได้ยื่นหนังสือให้แก่ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีข้อเรียกร้องทั้งหมด 4 ข้อ 1.เรียกร้องให้มีการจัดการกับข้อเท็จจริงในเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 2.ให้มีการจ่ายเงินชดเชยกับญาติผู้เสียชีวิต 3.รัฐต้องทำมากกว่าคำขอโทษ 4.ต้องมีการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติม
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับวันที่ 14 ตุลาคม ซึ่งรัฐบาลกำหนดให้เป็นวันสำคัญของชาติ “14 ตุลา วันประชาธิปไตย” นั้น มูลนิธิสายธารประชาธิปไตย ร่วมกับมูลนิธิ 14 ตุลา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมาคมนักวิ่งเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทยและสมาพันธ์ชมรมวิ่งเพื่อสุขภาพไทย กำหนดจะจัดกิจกรรม “เดิน วิ่ง เพื่อสันติภาพและประชาธิปไตย” ขึ้นในวันที่ 9 ตุลาคมนี้ เริ่มตั้งแต่เวลา 05.00 น. ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ส่วนวันที่ 14 ตุลาคมนี้ ที่อนุสรณ์สถาน สี่แยกคอกวัว ถนนราชดำเนินกลาง จะมีการจัดงานรำลึก โดยช่วงเช้ามีพิธีทำบุญตักบาตร และกล่าวสดุดีโดยตัวแทนฝ่ายต่างๆ จากนั้นจะมีพิธีเปิดห้องประชุม 14 ตุลา และกล่าวปาฐกถาโดย ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูล ในหัวข้อ “ข้ามให้พ้นประชาธิปไตยแบบหลัง 14 ตุลา” เป็นต้น |
|
หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 07 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 28 ฉบับที่ 10072
หน้า 15 |