การสร้างกระบวนการเรียนรู้ผ่านงานสมัชชาสุขภาพ
เมื่อวันที่ 29เม.ย.-1พ.ค.2548 ทีมสนับสนุนส่วนกลาง โครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ – ท้องถิ่นน่าอยู่ จัดเวทีภูมิภาค ภาคกลาง เรื่องการสร้างกระบวนการเรียนรู้ผ่านงานสมัชชาสุขภาพ ณ บ้านผู้หว่าน อ.สามพราน จ.นครปฐม …
สันสกฤต มุณีโมไนย กองบรรณาธิการทีมสื่อสารสาธารณะ : รายงาน
|
|
เมื่อวันที่ 29เม.ย.-1พ.ค.2548 ทีมสนับสนุนส่วนกลาง โครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ – ท้องถิ่นน่าอยู่ จัดเวทีภูมิภาค ภาคกลาง เรื่องการสร้างกระบวนการเรียนรู้ผ่านงานสมัชชาสุขภาพ ณ บ้านผู้หว่าน อ.สามพราน จ.นครปฐม มีผู้เข้าร่วมกว่า 30 คน จาก 9 จังหวัดในภาคกลาง ได้แก่ 1.นครปฐม 2.ปราจีนบุรี 3.สมุทรปราการ 4.ตราด 5.สระบุรี 6.ลพบุรี 7.นครนายก 8.ประจวบคีรีขันธุ์ 9.กาญจนบุรี โดยวัตถุประสงค์ของการจัดเวทีครั้งนี้เพื่อให้ 9 จังหวัดในโครงการฯ มีการสรุปบทเรียนและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การมุ่งสร้างและพัฒนา “สมัชชาสุขภาพ” รวมถึงการพัฒนาแนวทาง วิธีการสร้างสมัชชาสุขภาพที่เหมาะสม สอดคล้องกับเป้าหมายที่วางไว้
|
|
การประชุมครั้งนี้มีวิทยากรกระบวนการคือ นายวีรบูรณ์ วิสารทสกุล เริ่มกระบวนการโดยให้ความหมายของสมัชชาสุขภาพว่า เป็นโครงสร้างหรือกลไกทางสังคมสักอย่างหนึ่ง ที่ไม่เป็นทางการหรือเป็นทางการ ซึ่งมีเป้าหมายในการทำงานที่มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่คนในพื้นที่ กลไกนี้น่าจะทำหน้าที่ทั้งเป็นพื้นที่สำหรับแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารแก่กัน เพื่อยกระดับการเรียนรู้ของตนเองและสังคม ทำหน้าที่นำข้อเสนอจากประชาชน ผลักดันและช่วยรัฐขับเคลื่อนงาน เพื่อเป้าหมายด้านคุณภาพชีวิต กระบวนการต่อมาคือตั้งโจทย์ให้แต่ละจังหวัดร่วมกันนำเสนอเรื่อง ประสบการณ์ที่ผ่านมาในการดำเนินกิจกรรมทุกรูปแบบเพื่อขับเคลื่อน ผลักดันให้เกิด สมัชชาสุขภาพเป็นอย่างไร และอะไรคือบทเรียนที่เป็นประโยชน์สำหรับการทำงานในอนาคตหรือที่จะเป็นประโยชน์กับการทำงานของเพื่อนในจังหวัดอื่นๆ
|
|
|
|

คุยกันท่าทางน่าจะเครียด |
กระบวนการต่อมาคือการนำเสนอยกตัวอย่างบางจังหวัด เริ่มต้นโดย จ.ตราด นำเสนอว่า ตอนนี้ทำงานบนฐานขององค์กรและภาคีเครือข่ายต่างๆมากขึ้นและทำงานกับกระแสสุขภาพการเมือง กระแสของสังคมด้วย ส่วนกิจกรรมหลักในปีที่แล้วคือ เรื่องเกษตรสุขภาพ สุขภาพองค์รวม สิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพ มาในปีนี้ทำเรื่องเกษตรอินทรีย์และการทำนา |
|
สิ่งที่เรียนรู้คือ การจัดเวทีแลกเปลี่ยนและค้นหาความหมายเมืองน่าอยู่ให้ชัดเจน รวมถึงการปรับเปลี่ยนมุมมองของคนที่ทำงานในภาครัฐ,องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ว่าชุมชนจะออกแบบการทำงานเอง ไม่ใช่ให้เทศบาลทำให้
ลพบุรี นำเสนอถึงประเด็นเรื่อง การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชุมชน และภูเขา เรื่องขยะ แม่น้ำลพบุรี ส่วนเรื่องสุขภาพชุมชนเน้นเรื่องการออกกำลังกาย และเกษตรอินทรีย์ซึ่งเชื่อมโยงหลายเรื่องได้แก่ เรื่องสุขภาพ ,ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม,วัฒนธรรม ภูมิปัญญา บทเรียนที่เราค้นพบ
คือ เรื่องคน (การใช้ศักยภาพในการทำงานอย่างต่อเนื่อง ความหลากหลาย แลกเปลี่ยนทางความคิด ทำให้เกิดการยกระดับการทำงานของทีมงาน) กระบวนการเรียนรู้ การทำงานที่มีคุณภาพ การสื่อสารสู่สาธารณะ มีเวทีสาธารณะ การใช้สื่อท้องถิ่น วิทยุ หนังสือพิมพ์ เคเบิลทีวีส่วนแผนที่เชื่อมโยงและบรรจุในแผนยุทธศาสตร์จังหวัดคือ เรื่องเกษตรอินทรีย์ ลุ่มน้ำลพบุรี คนที่อยู่ในเครือข่ายชีวิตสาธารณะเข้าไปร่วมเป็นคณะทำงาน ส่วนเรื่องที่ต่อสู้อยู่คือ ภูเขาเอราวัณ ตอนนี้นายทุนกำลังจะสัมปทานระเบิดภูเขา ส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยอมรับในคุณค่าของกระบวนการมีส่วนร่วมในการทำงานภาคประชาสังคมมากขึ้น
ปราจีนบุรี นางบุษบงก์ ชาวกัณหา ผู้ประสานงานโครงการชีวิตสาธารณะฯกล่าวว่า “สมัชชาคือการรวมภาคประชาชนผลักดันไปสู่นโยบายสาธารณะ เมื่อทำงานไปได้ครึ่งปี พบว่า ประเด็นหลักคือการจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำและเกษตรอินทรีย์ มีศูนย์สนับสนุนพัฒนากิจกรรมภาคพลเมือง DOF มุ่งเน้นเรื่องการจัดการลุ่มน้ำ มีการระดมทุนจากภาครัฐ ท้องถิ่น แผนงานคือการจัดการฐานข้อมูล สร้างข้อตกลงเรียนรู้ร่วมกันในภาคีเครือข่าย สร้างช่องทางทางการสื่อสารให้หลากหลายมากขึ้น เช่น การทำเว็บไซต์ วิทยุชุมชน การผลิตสารคดีโดยทีมสื่อLDIร่วมกับ เครือเนชั่น เผยแพร่สู่สาธารณะและเวทีสาธารณะที่แพร่งภูธร ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และวิทยุโทรทัศน์ โดยหลังจากเผยแพร่สู่สาธารณะแล้วส่งผลเกิดการขยายงานในพื้นที่ได้มากขึ้น ตอนนี้มีทั้งไอทีวี และบางกอกโพสต์ขอข้อมูลทางปราจีนและพร้อมจะลงข่าวให้ตลอดเวลา ส่วนในเรื่องแผนการจัดการลุ่มน้ำทางจังหวัดได้บรรจุแผนยุทธศาสตร์5 ปี”
|
|
ในการประชุมครั้งนี้ รศ.ดร.ประภาพรรณ อุ่นอบ ทีมประเมินผลภายในส่วนกลาง จากคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมและให้ข้อสังเกตในการประชุมครั้งนี้ว่า “กิจกรรมต่างๆที่เราทำเป็นสิบกิจกรรมมาถึงสมัชชาสุขภาพตามที่เราคาดหวังหรือไม่ บทเรียนที่เราทำต้องปรับปรุงไปสู่การทำงานได้จริง ส่วนประเด็นที่เป็นข้อสังเกต คือการเรียกชื่อสมัชชาสุขภาพ ประชาคมสุขภาพ ไม่ต้องชัดเจนในเป้าหมายแต่ชัดเจนในวิธีการ/กระบวนการ” รศ.ดร.ประภาพรรณ ยังได้ให้ข้อเสนอในการวางแผนปีที่ 3 ดังนี้
|

|
|
- ต้องทำความหมายของแต่ละผลลัพธ์ เป้าหมายของแต่ละประเด็นให้ชัดเจน
- การวิเคราะห์ทุนเดิม ได้แก่ ปัจจัยภายนอก (สถานการณ์ปัญหาต่างๆ,โครงการพัฒนาอื่นๆ,เครือข่ายกลุ่มคนอื่นๆ,จำนวนคนทำงาน,ประสบการณ์ที่ผ่านมา,การสร้างคนทำงาน,การบริหารจัดการ,การใช้ความรู้พื้นฐาน,การสื่อสารกับสาธารณะ)
- ผลลัพธ์ การจัดลำดับของการบรรลุผลลัพธ์ จุดสูงสุดที่สมัชชาสุขภาพต้องมีคือ การประกาศเจตนารมณ์สมัชชาสุขภาพจังหวัดสู่สาธารณะ
- นำไปสู่การออกแบบกิจกรรมเพื่อไปสู่ผลลัพธ์ที่กำหนดไว้ (คน,เครือข่าย,กิจกรรม, การบริหารจัดการ)
- การติดตาม/ประเมินผลการดำเนินงาน
จากเวทีครั้งนี้ทำให้แต่ละจังหวัดในภาคกลางได้เห็นแนวทางในการทำงานร่วมกันแลกเปลี่ยนประเด็นต่างๆในการทำงานและได้นัดหมายในการจัดเวทีครั้งต่อไปที่จ.ตราดเรื่องออกแบบกระบวนการการถอดบทเรียน ในวันที่1-3 กรกฎาคมนี้ |